ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้เกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์ & ขั้นตอนการจดลิขสิทธิ์ ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #8 : ++ ทำซ้ำ ดัดแปลง แรงบันดาลใจ ทำไมเราไม่นิยามความหมายตามกฎหมายล่ะ ?

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 628
      1
      16 พ.ค. 52




    ทำซ้ำ ดัดแปลง แรงบันดาลใจ ทำไมเราไม่นิยามความหมายตามกฎหมายล่ะ?

    นี้คือกระทู้ที่ คุณแจกันสีฟ้า ที่

    http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1155715


    ทำซ้ำ ดัดแปลง แรงบันดาลใจ ทำไมเราไม่นิยามความหมายตามกฎหมายล่ะ?
    บอร์ดมีอะไรใหม่?
    Name : แจกันสีฟ้า < My.iD > [ IP : 58.136.52.146 ]
    Email / Msn:
    วันที่: 13 กันยายน 2551 / 16:07
    กฎหมาย, ดัดแปลง, ทำซ้ำ, ลอก, แรงบันดาลใจ  
     
    Tag คือ การสรุปคำสำคัญ เพื่อบอกว่ากระทู้นี้เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง

    [ เว็บ Dek-D เปิดรับสมัครผู้ร่วมโครงการ Admission Reality ภายใน 25 พค.นี้ ]

    เห็นถกกันมาเยอะแล้วกับการแยกแยะความหมายของคำเหล่านี้ มีเป็นระยะๆ ในบอร์ดแห่งนี้ ก็ไม่รู้ว่ายังไง แต่รู้สึกว่าในภาพรวมมันยังไม่กระจ่างอยู่ดี เห็นหลายคนตอบทำนองว่า อืม...พูดยาก เอ่อ...ยังไงแน่ อา...เข้าข่ายไหม

    แล้วทำไมเราไม่ยึดคำนิยามความหมายตามกฎหมายไปเลยล่ะ เพราะนั่นคือความเห็นส่วนใหญ่ที่กรั่นกันมาแล้วในหลายประเทศ (กฎหมายเราก็ลอกๆเขามาเยอะ) คือเสียงส่วนใหญ่จากประชาชนที่ผ่านมาทางสภา คือหลักให้เราได้ยึดกัน จริงอยู่บางคนก็ว่ากฎหมายมันเป็นระดับกลาง คุณธรรมทางจิตใจ ศีลธรรมต่างๆมันอยู่เหนือกว่านั้น แต่ถ้ามีปัญหาข้อพิพาทกันขึ้นมาศาลก็ยึดการตีความตามกฎหมายไม่ใช่หรือ 

    เดินสายกลางตามนั้นจิตใจก็จะได้เปิดกว้างอีกด้วย เช่น หากเรื่องของเรามีส่วนคล้ายใครบ้าง หยิบบางส่วนมาใช้บ้าง หากไม่ผิดกฏหมายก็จะได้ไม่รู้สึกผิดในแง่ศีลธรรมมากจนเป็นปัญหาการทำงาน หรือ หากเราไปหยิบยืมอะไรใครมาใช้จริงก็จะได้รู้ว่าใช้ได้มากน้อยแค่ไหนถึงจะไม่มีปัญหา 

    มาดูความหมายตามกฎหมายกันเถอะ หลายคนคงรู้แล้ว แต่ขออนุญาตโพสอีกที พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 

    ลอก กฎหมายใช้คำว่า "ทำซ้ำ" 
    "ทำซ้ำ" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ
    ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จาก
    ต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่า
    ทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความ
    ถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธี
    ใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้
    ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

     ส่วนดัดแปลง ก็เป็นการลอกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่ทั้งดุ้น แต่พลิกแพลงไป ตามนี้ 

    "ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไข
    เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับ
    ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็น
    การจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
    (1) ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง แปล
    วรรณกรรม เปลี่ยนรูปวรรณกรรมหรือรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและ
    จัดลำดับใหม่

     
    ลอกไม่มีปัญหา คือเอามาทั้งดุ้น ดัดแปลงนี่แหละที่ก้ำกึ่งเป็นปัญหาเสมอ โปรดสังเกตตัวสีแดง นี่คือคำสำคัญที่จะใช้เป็นเส้นแบ่งว่าผิดหรือไม่ผิด ต้องเป็นการเข้าไปยุ่งเกี่ยง (ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม จำลอง จากต้นฉบับ) ในส่วนสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะจัดทำขึ้นใหม่ 

    สาระสำคัญของงานในทางวรรณกรรมคืออะไร? 

    ก็คือ แก่นเรื่อง ปมปัญหา วิธีการคลายปม การเดินเรื่องจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ตัวละคร ฯลฯ เช่น 

    สมุดเขียนชื่อคนลงไปแล้วฆ่าคนนั้นได้...นี่คือแก่น ปมหลักของเรื่อง ใครเขียนเรื่องเดินตามนั้นก็เข้าข่ายแม้จะเปลี่ยนฉากหรือตัวละคร 

    ตัวละครชื่อแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ พ่อมดน้อยผู้มีแผลเป็นเหนือหน้าผากจากจอมมาร เป็นกำพร้า เข้าโรงเรียนประจำ ใครเอาตัวละครนี้ไปใช้ก็เข้าข่ายแม้จะเปลี่ยนฉาก เปลี่ยนชื่อ 

    ทั้งนี้การพิจารณาว่าผิดหรือไม่ผิด ต้องดูองค์ประกอบของงานเรื่องนั้นทั้งเรื่อง เพราะลิขสิทธิ์คุ้มครองต่อเมื่อจบเป็นเรื่องแล้ว ถือว่าเป็นงานชิ้นหนึ่ง ต้องพิจารณาทั้งสองเรื่องดูเปรียบเทียบกัน กล่าวคือ ดูสาระสำคัญของทั้งสองเรื่องนั่นเอง 

    เอาล่ะ เดี๋ยวจะยาวเกินไป หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ 

    ขอบคุณ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×