ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้เกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์ & ขั้นตอนการจดลิขสิทธิ์ ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #5 : ... ค่าลิขสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือ ? แบบไหนดีที่สุด ? ...

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.39K
      12
      13 ก.พ. 52

    ค่าลิขสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือ?

    ค่าลิขสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือมีหลายแบบตามแต่ตกลงกัน สนพ. 
    โดยทั่วไปเท่าที่เจอก็มี 3 แบบ ดังนี้


    1. เหมาจ่ายด้วยการซื้อสิทธิ์ขาดครั้งเดียว : สำหรับบาง สนพ. ที่มีชื่อไม่ดังนัก หรือโดยปกติจะพิมพ์แค่ครั้งเดียวของทุกๆ เล่ม มักจะขอซื้อ สิทธ์สิทธิ์ของการพิมพ์หนังสือนั้นขาดเพียงครั้งเดียว เป็นราคาเหมาจ่ายเพียงครั้งเดียว ราคาที่จ่ายจะคิดให้ประมาณ 10 % ของยอดขาย คูณด้วยจำนวนพิมพ์ เช่น ราคาเล่มละ 120 บาท พิมพ์ 3,000 เล่ม ราคาการซื้อสิทธิ์ขาดก็คือ 10% x 3,000 x 120 = 36,000 บาท 



    2. จ่ายค่าลิขสิทธิ์ตามยอดขายจริง : โดยคิดค่าลิขสิทธิ์ประมาณ 10-15 % ขึ้นกับความมีชื่อเสียงของนักเขียน และคำนวณค่าลิขสิทธิ์ จากยอดที่ขายได้ ส่วนใหญ่ สนพ. จะจ่ายเป็นรายเดือน หรือราย 3 เดือน เช่น หนังสือราคาขายเล่มละ 120 บาท จ่ายค่าลิขสิทธิ์ 10 % ใน 3 เดือนแรกขายหนังสือเราได้ 100 เล่ม ก็จะได้เงิน 10% x 100 x 120 = 1,200 บาท/3เดือน ซึ่งในอีก 3 เดือนต่อมา สนพ. ก็จะคำนวณยอดขายและเงินส่งให้เรามาอีกครั้ง ตามยอดขายจริงที่เราขายได้ ลักษณะการทำสัญญาแบบนี้จะดีในกรณีที่หนังสือขายได้มากๆ และผู้เขียนจะมีรายได้อย่างต่อเนื่อง



    3. จ่ายค่าลิขสิท์ตามยอดพิมพ์ : โดยค่าลิขสิทธิ์ที่จ่ายจะประมาณ 8-10 % สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ และเกิน 10 % สำหรับนักเขียนที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง และคำนวณการจ่ายเงินตามยอดที่พิมพ์ เช่น หนังสือราคาเล่มละ 120 บาท พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 3,000 เล่ม และ ค่าลิขสิทธิ์ 10 % การจ่ายเงินในการพิมพ์ครั้งที่ 1 คือ 10% x 3,000 x 120 = 36,000 บาท และหากมีการพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 2 อีก ในจำนวนเท่าเดิม ก็จะได้รับค่าลิขสิทธิ์อีก 36,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการพิมพ์ซ้ำ ก็จะไม่รับค่าลิขสิทธิ์เพิ่ม 



    4. การคิดค่าลิขสิทธิ์แบบผสมผสาน : นักเขียนที่มีชื่อเสียง อาจทำการตกลงกัน สนพ. ด้วยการคิดแบบผสมผสานระหว่าง วีธีที่ 1 และ 3 ได้ โดยอาจจะมีค่าเหมาจ่ายในขั้นต่อ และค่าลิขสิทธิ์ที่คิดจากยอดพิมพ์อีกต่างหาก และ % นั้นสูงต่ำ ตามการตกลงกันระหว่าง สนพ. และนักเขียน




    แบบไหนดีที่สุด?

    บางครั้ง นักเขียนหน้าใหม่ก็ไม่สามารถเลือกได้ เพราะ สนพ. แต่ละ สนพ. จะมีนโยบายในการให้ค่าลิขสิทธิ์ที่ต่างกัน ตามความมีชื่อเสียง ของ สนพ. และหตุผลอื่นๆ แต่จากประสบการณ์แล้ว การตกลงตามแบบที่ 3 จะเป็นประโยชน์กับนักเขียน แต่ สนพ. อาจจะต้องรับความเสี่ยงในกรณีที่ หนังสือของเราพิมพ์แล้วขายไม่หมด



    ค่าลิขสิทธิ์เรื่องสั้น

    เรื่องสั้นมีวิธีการคำนวณลิขสิทธิ์ที่อาจจะแตกต่างจากเรื่องยาวบ้าง เนื่องจากเรื่องสั้น 1 เรื่องของนักเขียน จะต้องไปรวมกับของนักเขียนอื่นๆ ดังนั้นค่าลิขสิทธิ์โดยปกติจะคิดเป็นหน้า โดยมีอัตรา 15-20 หน้า ในราคา 2000-3000 บาท และอาจจะสูงกว่านี้หรือต่ำกว่านี้ ขึ้นอยู่กับ ชื่อเสียงของนักเขียน และ สนพ. บาง สนพ. จะไม่นิยมทำสัญญากับเรื่องสั้น และมักจะจ่ายเงินครั้งเดียว แต่บาง สนพ. ก็จะทำสัญญา และจ่ายใหม่ทุกครั้งที่มีการพิมพ์เพิ่ม ทั้งนี้ นักเขียนควรจะตกลงกัน สนพ. ก่อนที่จะพิมพ์ผลงาน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×