ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้เกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์ & ขั้นตอนการจดลิขสิทธิ์ ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #14 : มาพิมพ์หนังสือรวมผลงาน กันดีไหม ? เชิญอ่านประสบการณ์จริง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 468
      2
      1 มี.ค. 52






    Credit : จาก 

    คุณ สุรศักดิ์

    email : surasakc@yahoo.com

    ที่เว็บ oknation
    http://www.oknation.net/blog/surasakc/2008/05/27/entry-1

    (18)  มาพิมพ์หนังสือรวมผลงาน  กันดีไหม   

    ผมเชื่อเหลือเกินว่า  เพื่อน ๆ ชาวบล็อกที่เขียนเรื่องลงบล็อกอย่างสม่ำเสมอ สร้างผลงานเอาไว้มาก

    มาย   คงจะคิดอยากนำไปพิมพ์รวมเล่มกันเสียที จะได้มีผลงานเป็นหนังสือเป็นหลักเป็นฐาน  ไว้

    จำหน่ายแก่ผู้นิยมชมชอบ หรือจะไว้แจกจ่ายก็แล้วแต่ ...  วันนี้ เลยมาคุยกันเรื่องพิมพ์หนังสือ

     

    ทางเลือกในการจัดพิมพ์

    ปกติ  ในการจัดพิมพ์  มีทางเลือกเบื้องต้นอยู่  3  ทาง 

    1.       พิมพ์เอง ขายเอง ตรวจปรู๊ฟเอง  ประชาสัมพันธ์และโฆษณาเอง   (ถ้าขายไม่หมด  อาจจะ

    ต้องเก็บไว้อ่านเองด้วย !!!)

    2.       พิมพ์เอง แล้วไปฝากร้านจำหน่ายหนังสือขาย   (เสียค่าฝากขาย ประมาณ  25-40 %)

    3.       ให้สำนักพิมพ์ พิมพ์จำหน่าย  (แต่ก็ยาก กว่าจะผ่าน  เพราะเราไม่ใช่นักเขียนคนดัง หรือดารา

    คนดัง  เนื้อหาก็ไม่โดนใจ เส้นสายก็ไม่มี)

    การจัดพิมพ์เองขายเอง

    ดีเหมือนกัน  แต่ทว่า ...  จะติดขัดที่จะต้องใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายที่สูงมาก  โดยจะต้องพิมพ์เป็น

    จำนวนมาก  เป็นพัน ๆ เล่ม   อย่างน้อยก็จำนวน  1,000  หรือ  2,000  เล่ม   เป็นจำนวนค่าใช้จ่าย

    ที่สูงถึงหลักหมื่น หรือถึงแสนก็ว่าได้ จะให้เฉียบขาดแค่ไหน  จะพิมพ์จำนวนน้อยกว่านี้  โรงพิมพ์ก็

    จะไม่รับพิมพ์  หรือพิมพ์ให้ก็คิดราคาสูงมากทีเดียว

    ถ้าพิมพ์เองพิมพ์มากแล้วเหลือ  ก็ต้องขายเหมาไปในราคาถูก ๆ  บางคนบอกขาดทุนไม่ว่า แต่

    ต้องการชื่อเสียง  ก็ไม่ว่ากัน !!!  (แล้วพิมพ์ใหม่  ให้จำนวนครั้งที่พิมพ์สูง ๆ  ไว้อวดคนอื่นเล่น  ถ้า

    ไม่ล้มละลายเสียก่อน) 

    บางคนแต่ละครั้ง ก็สั่งพิมพ์จำนวนน้อย  หมดแล้วรีบพิมพ์ใหม่  เปลี่ยนปก ให้ดูใหม่ แปลกตา

    ให้จำนวนครั้งที่พิมพ์สูง ๆ   (จำนวนพิมพ์ ก็จะไม่บอก) ...  ก็เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่ง

     การขายเอง ก็ยากครับ  ขายได้วันละเล่มสองเล่ม   นอกจากขายคู่กับการจัดบรรยายหรืออบรม

     หรือสอนหนังสือ  ก็จะได้มากหน่อย   ขายเองก็ไม่ค่อยคุ้มครับ  เหนื่อย ...  และรายการแจกฟรีก็

     มาก  แจกกันไม่หวาดไม่ไหว  ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงก็จะขอไปช่วยแจก   กลายเป็นสังคมสงเคราะห์

     ไป  มีแต่บุญเข้ามาทั้งนั้น ...  วิธีนี้  หนังสือหมดเร็วดี   

         

    การฝากขาย

    การฝากขาย ไม่ใช่ฝากกันง่าย ๆ นะครับ  ต้องนำหนังสือไปเสนอเขาก่อน ให้เขาพิจารณาจน

    พอใจ   บางแห่งเป็นเดือน  เสร็จแล้วมาบอกเราว่าไม่รับก็มีเป็นส่วนมากด้วย   ไม่ตรงแนวของเขา

    บ้าง   ผมก็งงว่าทำไมไม่บอกกันตั้งแต่แรกในวันที่ไปเสนอหนังสือ  ก็ไม่รู้ !!!  แล้วให้เราไปรับ

    หนังสือคืน  (บางที ก็ไม่คุ้มจะไปรับหนังสือคืน  ก็บริจาคให้เป้นวิทยาทานไปเลย)        

    พิมพ์เอง แล้วไปฝากร้านจำหน่ายหนังสือดัง ๆ  เช่น  ร้านซีเอ็ด  ร้านแพร่พิทยา  ศูนย์หนังสือจุฬาฯ  

    ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์  ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎ เป็นต้น  ค่าฝากขายก็สูงมาก 

    (25-40 %)  แทบจะไม่คุ้ม  แถมยังต้องเดินทางไปส่งหนังสือและเก็บเงินในทุกเดือนอีกด้วย 

    (บางแห่ง  ก็ไปส่งหนังสือวันหนึ่ง  นัดไปวางบิลก่อนวันหนึ่ง  แล้วไปรับเงินอีกวันหนึ่ง  ตกลงเดือน

    หนึ่งไป 3 ครั้ง ... ก็ไม่คุ้มเลย)   บางแห่งดีหน่อย  ส่งเงินเข้าบัญชีให้เราเรียบร้อยเลย  พร้อมทั้งราย

    ละเอียด  ต้องขอชมเชยด้วยจริงใจกันละครับ   เช่น  ศูนย์หนังสือจุฬาฯ 

    บางแห่ง  เขามีสาขาทั่วประเทศ   สาขาไหนจำหน่ายดี  เขาก็จะให้เราไปส่งหนังสือเพิ่ม  แต่บาง

    สาขา ขายไม่ดี  เขาก็จะให้เราไปรับหนังสือคืน ที่สำนักงานใหญ่   ทำไมไม่รู้จักประสานงานระหว่าง

    ศูนย์กันให้ดี  ก็ไม่รู้เหมือนกัน ......  เป็นบริษัทจำหน่ายหนังสือดังมากเสียด้วย

    และ วางนานก็ไม่ได้  ถ้าขายไม่ออก  เขาก็เอาลง  เขาต้องการ  turnover สูง  (จะขายออกได้

    อย่างไรล่ะครับ   เขานำของเราไปซุกไว้ในชั้นติดพื้น  ใครจะมองเห็น ...  แล้วเรียงแบบโชว์สัน

    หนังสือด้วย   กลุ้มจริง ๆ !!!)

    (บางที เราก็แอบเอาของเรากลับไปวางชั้นในระดับสายตา  หันหน้าหนังสือออก โชว์เต็มที่เลย  

    ที่ไหนได้  ไม่กี่วันไปตรวจดูใหม่  เขาจับของเรากลับไปอยู่กับพื้นที่เดิม ... มีคนบอกว่า ต้องแอบ

    ตีสนิทกับพนักงานขายให้ดี)

     

    การฝากขายก็มีข้อดี  คือ  สร้างความคุ้นเคย   ให้เขารู้จักผลงานของเราไปเรื่อย ๆ   วันหลัง ไป

    เสนอให้เขาพิมพ์จำหน่ายก็จะง่ายเข้า   เรียกว่า  เป็นไปตามลำดับขั้นตอน   (หนังสือผมบางเล่ม

    ฝากขายกัน  4  ปีกว่าแล้ว  ยังขายได้จนปัจจุบันนี้  เขาก็ยังโทรศัพท์มาสั่งเพิ่มอยู่เรื่อย ๆ   คราว

    ละ  50  เล่ม)

    การเสนอสำนักพิมพ์

    ทางหนึ่งที่จะทำได้ ก็คือ  ไปเสนอสำนักพิมพ์ต่าง ๆ  เพื่อให้พิมพ์จำหน่าย  แต่ก็ยากครับ   เพราะ

    ชื่อของผู้เขียนไม่เป็นทึ่คุ้นเคยมากพอ  เนื้อหายังไม่เป็นที่พอใจ  เขาจะดีดลูกคิดรางแก้วดูก่อน ว่า

    ถ้าจะพิมพ์จำหน่าย จะจำหน่ายได้ดีหรือไม่   มีกำไรมากเพียงพอหรือไม่  

    การแข่งขันก็สูงมาก  เพราะมีผู้ไปเสนอให้สำนักพิมพ์พิมพ์มีจำนวนมากมาย   สำนักพิมพ์มีโอกาสสูง

    ที่จะคัดเลือกพิมพ์  บางครั้ง  ถ้าไม่ใช่หนังสือเรียนหรือประกอบการเรียน  เขาก็ไม่รับ  แล้วแต่ว่า 

    แต่ละสำนักพิมพ์เขาวางแนวทางไว้ว่าจะเน้นหนังสือประเภทใด  ซึ่งไม่เหมือนกันในแต่ละสำนักพิมพ์ 

    บางสำนักพิมพ์เน้นวิชาการ  บางสำนักพิมพ์เน้นหนังสือเรียน  บางสำนักพิมพ์เน้นนวนิยาย ...   

    เพราะฉะนั้น จะใช้วิธีไหนก็ต้องคิดให้ดี ให้รอบคอบ ...

    ระบบการพิมพ์

    ระบบการพิมพ์หนังสือ  แต่ก่อนเราเรียกว่า  ระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ท  ซึ่งจะต้องมีการทำเพลท

    และต้องพิมพ์เป็นจำนวนมาก   ใช้เงินจำนวนมากในการลงทุน   แต่ปัจจุบัน ระบบการพิมพ์ได้

    พัฒนาขึ้น  เรียกว่า ระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล  ไม่ต้องมีการทำเพลทแบบเดิมกันอีกแล้ว  (แต่

    ก็ยังมีการทำแบบเพลท แต่เล็กลง  ไม่รู้เขาเรียกว่าอะไร)   สามารถพิมพ์จาก ไฟล์ Word  หรือ 

    PDF ได้เลย  ทำให้ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับสมัยก่อน   โดยจะพิมพ์จำนวนเท่าไรก็ได้  

    100     หรือ  200 เล่ม ก็พิมพ์ได้  (ราคาต่อเล่ม ก็ยังสูงอยู่  แต่น้อยกว่าระบบการพิมพ์แบบเดิม)

     ระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล  กำลังพัฒนาไปข้างหน้าเรื่อย ๆ ...

    การเตรียมพิมพ์

    การออกแบบปก และภาพประกอบในเล่ม  โรงพิมพ์ก็จะเหมาทำให้หมด   ดูได้หรือไม่ได้ก็

    แล้วแต่   แต่ปัจจุบัน  มีบริษัทมืออาชีพรับไปทำงานเตรียมพิมพ์ให้เลย  เรียกว่า  ศูนย์บริการ

    เตรียมพิมพ์ครบวงจร  ( One-stop  pre-press production service )  เตรียมให้พร้อมเลย

    ทุกอย่าง   (ขอเพียงให้คุณมีเงินเท่านั้นเป็นพอ)   หากไม่มีเงิน   ก็เหมาทำเองทั้งหมด ไปหา

    มาให้โรงพิมพ์  พิมพ์เสร็จก็นั่งตรวจปรู๊ฟกันที่โรงพิมพ์เลย  แต่บางแห่งก็มีบริการส่งปรู๊ฟมาให้

    ตรวจถึงที่  ตรวจกันไป แก้กันไป  หลายรอบหลายตลบ จนเวียนหัว  จึงหยุด ... 

    ถ้าท่านผู้อ่านอยากทราบว่า มีบริษัทใดบ้าง ที่ให้บริการ  ทั้งโรงพิมพ์ และเตรียมงานพิมพ์ ... 

    ก็ขอได้โปรดดูจาก  เยลโล่เพจเจส   หรือ  google  หรือโฆษณาตามนิตยสารชื่อดัง ๆ  เอา

    เองก็แล้วกันครับ  (ต่อไป อาจจะมีเรื่องแนะนำธุรกิจใหม่ ๆ  ก็ได้  มีส่วนลดให้ด้วย ดีไหมครับ)

    ป้าประสงค์สำหรับเรื่องนี้  ก็เพียงแต่  อยากให้ชาวบล็อกทั้งหลาย  ได้มีผลงานรวมเรื่อง

    เป็นหนังสือกันมาก ๆ  เท่านั้นครับ ...  จะได้ช่วยอุดหนุนกัน อย่างไรล่ะครับ !!!  ไม่แน่นะครับ

    บางท่านจับช่องถูก อาจรวยได้เหมือนกัน   

    ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็น  หรือข้อเสนอแนะอย่างไร  หรือมีวิธีการอื่นที่ดีกว่า และไม่เจออุปสรรค

    แบบผม  ช่วยแสนอกันด้วยนะครับ  ถือว่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  ผมเองประสบการณ์ด้านนี้

    ยังน้อยมาก 

    (ส่วนท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์  อย่าเพิ่งท้อใจนะครับ  ที่ผมเล่า มีแต่เรื่องลบ ๆ  ทั้งนั้น  ที่จริง

    เรื่องบวกก็ยังมีมากเหมือนกัน ที่ชื่นชม  ทั้งเจ้าหน้าที่  สำนักพิมพ์ และร้านจำหน่าย แต่ยังไม่ได้

    เล่าให้ฟัง เท่านั้นเอง)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×