วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดที่สวยงามที่สุดแห่งล้านนา - วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดที่สวยงามที่สุดแห่งล้านนา นิยาย วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดที่สวยงามที่สุดแห่งล้านนา : Dek-D.com - Writer

    วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดที่สวยงามที่สุดแห่งล้านนา

    ผู้เข้าชมรวม

    1,455

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    1.45K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  28 ก.ย. 49 / 20:46 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ




      วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดที่สวยงามที่สุดแห่งล้านนา








      วัดพระธาตุลำปางหลวง
      เจดีย์โบราณที่สวยที่สุดในล้านนา

      ใครที่มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดลำปางต้องแวะไปวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดที่สวยงามที่สุดแห่งล้านนา พระเจดีย์ , วิหารหลวงแบบเปิดโล่ง, ซุ้มประตูโขง, บันไดพญานาคทางขึ้นวัด, ซุ้มพระเจ้าล้านทอง พระประธานในพระวิหารหลวง รวมทั้งบรรดาศิลปะวัตถุตกแต่งภายในวัดล้วนแล้วแต่ศิลปกรรมชิ้นเอก ที่เมื่อมารวมกันอยู่ภายในวัดแห่งนี้ทำให้ดูมีพลังและจิตวิญญาณอย่างไม่ต้องหาคำอธิบายใด ๆ มาเปรียบเปรย

      วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นปูชนีย์ที่สำคัญของจังหวัดลำปางเป็นเสมือนศูนย์รวมของชุมชนที่สำคัญแห่งหนึ่ง จนวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สวยงามที่สุดของล้านนา ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวงมีความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่พระเจดีย์ พระวิหาร ซุ้มประตูโขง จนถึงซุ้มพระเจ้าล้านนา ซึ่งเป็นพระประธานในวิหารหลวง ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาและศิลปกรรมในล้านนาสมัยนั้นเป็นอย่างดี

      วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของนครลำปาง เพราะเป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ โดยเฉพาะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ไทย เจ้าผู้ครองนครลำปางและภาคเหนือทั้งหมดเคยเสด็จและยกย่องว่าเป็นหลักของบ้านเมืองสืบมาทุกยุคทุกสมัย เป็นวัดที่ตำนานระบุไว้ชัดเจนว่า มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าส่วนสำคัญบรรจุอยู่ในองค์พระธาตุ เจดีย์ที่เป็นประธานของวัด เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกต อันล้ำค่าอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย และยังคงประดิษฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้และเป็นวัดที่มีอนุสรณ์ แห่งการกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยในดินแดนล้านนา ไม่ให้ตกเป็นทาส (เมือง ออกของประเทศอื่น) ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นปฐมที่วัดแห่งนี้คือ พ่อเจ้าทิพย์ช้าง หรือ พญาสุลวฤาไชยสงคราม

      วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้มิได้มีความสำคัญสำหรับชาวนครลำปางเท่านั้น ทุกวันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวไทยและต่างประเทศเข้ามาเยือนอย่างไม่ขาดสาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านชาวเมืองทั้งใกล้และไกลต่างพากันมากราบไหว้บูชาอยู่เนืองนิตย์ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้สถานที่แห่งนี้ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็เคยเสด็จมานมัสการพระธาตุลำปางหลวงมาแล้วครั้งหนึ่ง

      ความเชื่อทางคติธรรม สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดแห่งนี้นอกจากจะมีหน้าที่ใช้สอยทางพิธีกรรม ในศาสนาแล้ว ยังมีความหมายสำคัญที่แฝงอยู่ก็คือ ช่างโบราณได้จำลองจักรวาลที่มีอยู่ในคัมภีร์โบราณเช่น ในไตรภูมิพระร่วงมาไว้ที่นี่ กล่าวคือ พระธาตุเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางของวัดก็คือสัญลักษณ์ที่แทนเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล เพราะฉะนั้นในขณะเดียวกันองค์พระธาตุจึงเปรียบได้กับพระเจดีย์จุฬามณี ที่ประดิษฐานบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นวิมานของพระอินทร์

      ดังนั้นการได้นมัสการองค์พระธาตุลำปางหลวงจึงเปรียบได้ว่าเป็นการได้กราบไหว้บูชาพระเจดีย์จุฬามณีอันศักดิ์สิทธิ์ไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นลานทรายภายในวัดพระธาตุลำปางหลวงจึงมีความหมายที่เปรียบได้กับมหาสมุทรสีทันดร มีคุณค่าและความหมายพิเศษกว่าเม็ดทรายข้างถนนทั่ว ๆ ไป และปัจจุบันก็เป็นเพียงแห่งเดียวในภาคเหนือที่ยังคงสภาพดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์และงดงามที่สุด แม้แต่เชียงใหม่ที่เมืองหลวงของล้านนาเองในปัจจุบันก็ยังไม่มีที่หลงเหลืออยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เท่ากับวัดพระธาตุลำปางหลวงเลย

      วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกขององค์เจดีย์ประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของวิหารหลวงเป็นวิหารโถงเครื่องไม้แบบเปิดโล่ง ก่อสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังยกพื้นสูงจากพื้นดินเล็กน้อย การลดของชั้นหลังคาวิหารถือเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมล้านนา คือลดด้านหน้า 3 ชั้น และด้านหลัง 2 ชั้น ส่วนโครงสร้างของวิหารเป็นแบบเสาและมีคานรับน้ำหนัก ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าวิหารหลวงหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากข้อมูลที่ได้จากศิลาจารึกจุลศักราช 838 (พ.ศ.2019) กล่าวเพียงว่ามีการสร้างวิหาร แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นวิหารแห่งใด

      อย่างไรก็ตาม วิหารหลวงหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นก่อนพ.ศ. 2044 เนื่องจากในปีนี้ได้มีการหล่อพระพุทธรูปพระเจ้าล้านทองเพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารหลวง

      วิหารหลวงวัดพระธาตุลำปางหลวงที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นอาคารที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. 2466 โดยพระธรรมจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปางสมัยนั้น ในการบูรณะได้มีการพยายามจะรักษารูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของวิหารเช่น เปลี่ยนเสาแปดเหลี่ยมที่รับโครงสร้างหลังคาส่วนบนตอนกลางวิหารมาเป็นเสากลม สร้างเพดานและลานประดับเป็นไม้ แกะสลักประดับกระจกสีภาพ 12 ราศี ซึ่งแต่เดิมนั้นวิหารหลวงไม่มีเพดาน เป็นอาคารที่เปิดให้เห็นโครงสร้างหลังคาทั้งหมด

      ภายในวิหารหลวงมีกู่ หรือ มณฑป ประดิษฐานพระพุทธรูปพระเจ้าล้านทอง ซึ่งเป็นพระประธานของวิหารหลวงหล่อด้วยสำริดปิดทอง ในท่าขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย พุทธลักษณะแบบศิลปะเชียงแสนผสมกับสุโขทัย

      นอกจากนั้นภายในวิหารหลวงยังมีภาพเขียนจิตรกรรมประดับอยู่บนแผงคอสองด้านข้างทั้งสองด้าน ภาพจิตรกรรมเหล่านี้เป็นภาพเขียนที่สวยงามและหาดูได้ยาก เป็นฝีมือของช่างท้องถิ่นเขียนเรื่องราว ทศชาติชาดก พุทธประวัติและพรหมจักร หรือเรื่อง รามเกียรติ์ ฉบับสำนวนล้านนา จิตรกรรมบนแผงคอสองของวิหารหลวงสะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองไพบูลย์ของพุทธศาสนาบนแผ่นดินล้านนาซึ่งมีทั้งสิ้น 24 แผ่น เริ่มจากทศชาติชาดกเรื่องพระเตมีย์บนแผงคอสองแผ่นที่ 1 แผงคอสองแผ่นที่ 2 เขียนเรื่อง พระมหาชนก แผ่นที่ 3 - 4 เขียนเรื่อง สุวรรณสาม แผ่นที่ 5 เขียนเรื่อง เนมียราช แผ่นที่ 6 - 8 เขียนเรื่อง พระมโหสถ แผงคอสองแผ่นที่ 9 - 10 เขียนเรื่อง พระภูมิทัตถ์ แผงคอสองแผ่นที่ 11 เขียนเรื่อง จันทกุมาร และแผ่นที่ 12 เขียนเรื่อง พระนารถ ส่วนภาพจิตรกรรมบนแผงคอสองด้านหน้าสุดทางขวามือของพระประธาน นับเป็นแผ่นที่ 13 เขียนเรื่อง พระเวสสันดร ยาวต่อเนื่องไปจนถึงแผ่นที่ 18 ส่วนแผ่นที่ 19 เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ส่วนแผงคอสองตั้งแต่แผ่นที่ 20 - 24 ซึ่งถือเป็นแผ่นสุดท้ายเขียนเรื่อง พรหมจักร

      สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเดินทางไปนมัสการพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ห่างจากถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเอเชียประมาณ 4 กิโลเมตร มีถนนแยกจากถนนใหญ่เข้าสู่ตัวอำเภอเกาะคา ผ่านโรงงานน้ำตาลเกาะคาและที่ว่าการอำเภอเกาะคา ถนนลาดยางสะดวกปลอดภัยตลอดจนถึงวัด

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×