"แก้วโป่งข่าม" หินแห่งความคงกระพัน - "แก้วโป่งข่าม" หินแห่งความคงกระพัน นิยาย "แก้วโป่งข่าม" หินแห่งความคงกระพัน : Dek-D.com - Writer

    "แก้วโป่งข่าม" หินแห่งความคงกระพัน

    ผู้เข้าชมรวม

    3,513

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    3.51K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  28 ก.ย. 49 / 00:23 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      "แก้วโป่งข่าม" หินแห่งความคงกระพัน






      หากย้อนกลับไปในอดีต ความเชื่อเรื่องโชคลาง ของขลัง ไสยศาสตร์ ล้วนมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตความเป็นอยู่และจิตใจของชาวปุถุชนส่วนใหญ่ แต่เมื่อโลกได้วิวัฒนาการ ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักฐานเป็นรูปธรรมให้เห็นอย่างชัดเจน รวมถึงเทคโนโลยีด้านต่างๆเช่น ด้านการแพทย์ เข้ามามีบทบาทแทนที่ ทำให้ความเชื่อด้านไสยศาสตร์ลดกระแสลง

      กระนั้นก็ยังมีคนที่เชื่อในไสยศาสตร์อยู่ ด้วยเหตุนี้เครื่องรางของขลังรวมถึงวัตถุมงคลต่างๆจึงยังคงเป็นที่นับถือของใครหลายๆคน อย่าง "แก้วโป่งข่าม" ก็ถือเป็นหนึ่งในวัตถุมงคลที่ผู้คนนับถือ ในขณะที่อีกหลายๆคนก็ถือว่าแก้วโป่งข่ามเป็นดังอัญมณีมีค่าที่คู่ควรแก่การเก็บสะสม

      สำหรับแก้วโป่งข่าม ที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง นับเป็นอีกหนึ่งของดีแห่งคู่บ้านคู่เมือง แก้วโป่งข่าม มีลักษณะเป็นหินแก้วตระกูลแร่ควอทซ์ ซึ่งมีความแข็งแรงเป็นลำดับที่ 4 ของมาตราวัดความแข็งของแร่

      คำว่า แก้ว หมายถึง หินแข็งใสแลลอดเข้าไปข้างในได้ โป่ง หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลม หรือแก๊ส เช่นดินโป่ง(ดินที่มีเกลือ) ข่าม หมายถึง การอยู่ยงคงกระพัน ดังนั้นแก้วโป่งข่าม จึงมีความหมายถึง หินแข็งใสที่มองเล็ดลอดเข้าไปข้างใน และมีความอยู่ยงคงกระพัน โดยเกิดจากการผุดขึ้นมาที่ช่องดิน ด้วยเหตุนี้หลายๆคนจึงเชื่อว่าหากมีแก้วโป่งขามไว้ในครอบครองจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน

      โดยตำนานอภินิหารความคงกระพันของแก้วโป่งข่ามนั้น เล่ากันว่า ในเขตดอยโป่งหลวงเป็นบริเวณที่มีดินโป่งสำหรับสัตว์ที่จะกินเป็นอาหารได้ บริเวณดังกล่าวสมัยโบราณเป็นที่ชักลากไม้สัก ไม้ไผ่ และของป่า สำหรับชาวเมืองเถิน ส่วนขุมแก้วที่มีอยู่แม้จะทราบกันมานานแล้วแต่ก็น้อยคนนักที่จะทราบแหล่งขุมต่างๆที่แน่นอน เพียงแต่เข้าไปเพื่อหาของป่ามาขายเท่านั้น

      สำหรับการค้นพบแก้วโป่งขามที่ อ.เถินนั้นมีเรื่องเล่าว่า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2545 บริเวณดอยโป่งหลวง บ้านนาบ้านไร่ หมู่ที่ 5 ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร ได้มีการขุดค้นพบแก้วโป่งข่ามยักษ์สูง 95 ซ.ม. กว้างรอบแท่งแก้ว 166 ซ.ม. น้ำหนักประมาณ 1 ตัน ชาวบ้านจึงได้นำมาถวายและเก็บไว้ที่วัดนาบ้านไร่

      ทั้งนี้ก่อนวันที่จะขุดค้นพบนั้น นายกาบ พรมไชย ราษฎรบ้านนาบ้านไร่ หนึ่งในชาวบ้านที่ขุดพบได้ฝันว่า มีแก้วปวกเขียวลักษณะเป็นแท่งลอยมาหา และได้พยายามคว้าไว้แต่ไม่ได้ และแท่งแก้วดังกล่าวได้ลอยไปอยู่บริเวณปากหลุมที่ขุดค้นพบ

      เรื่องนี้ใครจะเชื่อเช่นใดหรือใครจะมีความคิดเห็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน แต่ที่แน่ๆก็คือปัจจุบันแก้วโป่งข่าม อ.เถิน ได้ถูกนำมาดัดแปลงเจียระไนเป็นเครื่องประดับ หัวแหวน ล๊อกเกต หรือแม้แต่นำมากะสลักเป็นพระพุทธรูป

      โดยชาวบ้านได้มีการรวมกลุ่มจัดทำแก้วโป่งข่ามขึ้น จนกลายเป็นสินค้าโอทอปแห่งเดียวของประเทศไทย มีการเจียระไน การเผา การขัดเกลา และกรรมวิธีต่างๆจนออกมาเป็นเครื่องประดับที่สวยงามทั้งหัวแหวน จี้ห้อยคอ ต่างหู หรือแก้วโป่งข่ามแบบเป็นหินที่ยังมิได้เจียระไนก็มี จะไว้พกพา หรือตั้งไว้บนโต๊ะ หรือวางไว้ในรถก็ตามแต่ความสะดวก ผลิตภัณฑ์โอทอปแก้วโป่งข่ามนี้มีจำหน่าย ณ วัดนาบ้านไร่ ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง ซึ่งใครที่ผ่านไปแถวนั้นแล้วชื่นชอบในแก้วโป่งข่ามก็สามารถแวะเวียนลงไปเลือกซื้อเลือกหากันได้

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×