ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ASEAN โลกใหม่ที่เด็กไทย(ต้อง)เตรียมรับมือ

    ลำดับตอนที่ #10 : #6

    • อัปเดตล่าสุด 1 พ.ค. 55


     
       
    เสาที่ 2 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
    (ASCC : ASEAN Socio-Cultural Community) 

                    
                  ถึงเรื่องเสาที่ 2 นี้ก็น่าสนใจ เพราะการที่เรามารวมกลุ่มนั้น ASEAN เองก็มีความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย  ทั้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น จึงจำเป็นที่จะต้องหลอมรวมความแตกต่างนั้นให้กลายเป็นหนึ่งเดียวให้กลายเป็น “อัตลักษณ์ร่วมกัน” (ASEAN Identity)


              ปัจจุบันยังคงมีปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศิลปวัฒนธรรมอยู่บ้าง เช่น
    - เรื่องกรณีเขาพระวิหารนั่นก็ใช่
    - เรื่องชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐนั่นก็ใช่
    - บางเรื่องก็เป็นความขัดแย้งที่ปนรอยยิ้มอย่างประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียแย่งกันเป็นเจ้าของท่ารำ
    - ไทยเองยังเถียงกับมาเลเซียอยู่เลยว่า “ข้าวมันไก่และซุปกระดูกหมูบ๊ะกุ๊ดเต๋เป็นของใครกันแน่ ?” หรือ  “ใครกันแน่ที่เป็นต้นตำหรับกีฬาเซปัคตะกร้อ ?” ดังนั้นเมื่อเห็นการแข่งขันตะกร้อระหว่างทั้งสองชาตินี้แล้วล่ะก็ รับรองว่าสนุกอย่างแน่นอน เพราะมีเรื่องของ “ศักดิ์ศรี” เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
    - สมบัติชาติไทยที่สำคัญอย่างมวยไทย, ผัดไท, ต้มยำกุ้ง อาจถูกแย่งไปก็เป็นได้ (มีคนเคยบอกว่าฝรั่งชอบไปกินต้มยำกุ้งที่พม่า เพราะกุ้งตัวใหญ่กว่าที่ไทย)


                นอกจากเรื่องศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังมีอีกหลายเรื่องที่ ASEAN จะต้องร่วมมือกัน เช่น เรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เรื่องการศึกษา ที่ต้องมีการร่วมมือกันพัฒนาและแก้ไขด้วย เพราะนี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญในการหลอมรวมประชาชนแต่ละชาติ ให้กลายเป็น “ประชาชน ASEAN” นั่นเอง












    บทความโดยพี่ปอ
      Indonesia - indonesia-zsolt72.blogspot.com
    ภาพ: zsoolt,Flickr


    Philippines
    ภาพ: Trishhhh,Flickr




     กลับไปหน้าหลักของเรื่อง 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×