จอมนาง จามเทวี - จอมนาง จามเทวี นิยาย จอมนาง จามเทวี : Dek-D.com - Writer

    จอมนาง จามเทวี

    ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชย

    ผู้เข้าชมรวม

    3,128

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    3.12K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ต.ค. 51 / 10:12 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
                              พระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย ชาติกำเนิดของพระนางจามเทวี มีที่มาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทั้งจากตำนาน พงศาวดารและหลักฐานอื่น ในตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวว่าพระนางเป็นธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้ ได้เดินทางพร้อมพระสงฆ์ผู้ทรงพระไตรปิฏกและช่างผู้มีฝีมือหลากหลายประเภท 500 คน จากเมืองละโว้ สู่นครหริภุญไชย (อ้างอิงจาก จามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา และมูลศาสนา สำนวนล้านนา)อีกสำนวนหนึ่งซึ่งเป็นมุขปาฐะ สำนวนพื้นบ้าน กล่าวว่า พระนางจามเทวีนั้นทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวหริภุญไชยมาแต่เดิม โดยเป็นบุตรีของคหบดีผู้หนึ่ง นามว่า อินตา ส่วนมารดาไม่ทราบชื่อ ทั้งสองเป็นชาวเมงคบุตร อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านหนองดู่ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ได้มีการบันทึกตามพระชาตาพระนางจามเทวีเมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๑๑๗๖ เวลาจวนจะค่ำ
                                                       

      ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี พระฤๅษีได้จัดส่งพระนางไปตามลำน้ำปิงพร้อมกับมีวานร จำนวน ๓๕ ตัว ติดตามไปด้วย เมื่อพระนางไปถึงท่าฉนวนหน้าวัด เชิงท่าตลาด ลพบุรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นาวายนต์ก็ลอยวนไม่เคลื่อนที่ไปทางใดจนกว่าทั้งรุ่งแจ้ง ประชาพลเมืองได้เห็นต่างโจษขานกันอึงคนึง บ้างก็เข้าไปพยายามดึงนาวาเข้าฝั่ง แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงได้รับแจ้งแก่เสนาบดี และก็ได้รับทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระเจ้าอยู่หัว   ดังกล่าว กษัตริย์ทั้งสองแห่งกรุงละโว้ ก็ทรงตื้นตันด้วยความเวทนาในธิดายิ่งนัก เสด็จมารับเอาไปเป็นบุตรธิดาอยู่ได้ ๓ วัน ก็จัดให้มีงานฉลอง และเจิมพระขวัญพระราชธิดา แต่งตั้งให้เป็นพระเอกราชธิดา แห่งนครละโว้ และให้ปุโรหิตจารึกพระนามลงในแผ่นสุพรรณบัตรว่าเจ้าหญิงจามเทวี ศรีสุริยะวงศ์ บรมราชขัติยะนารี          รัตนกัญญาละวะบุรี ราเมศวร   เป็นราชทายาทแห่งนครละโว้ ในวาระดิถีอาทิตยวาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๑๑๙๐ เมื่อสิ้นประกระแสพระราชดำรัสก็ได้ยินเสียงถวายพระพรพระธิดากันเซ็งแซ่ พระนางจามเทวีมีพระราชดำรัสตอบว่า ข้าฯ ขอกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิอันพิทักษ์รักษากรุงละโว้ว่า ข้าฯ จะเป็นมิตรที่ดีต่อท่านทั้งหลาย จะขอปกปักษ์พิทักษ์รักษาอาณาจักรละโว้ด้วยชีวิต จะปฏิบัติทุกท่างที่จะหาความสุขให้ทั่วพระราชอาณาจักรแห่งนี้ เมื่อกระแสพระราชดำรัสจบลง เสียงปี่พากษ์มโหรีก็บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ชาวประชาก็ถวายพระพร ขอให้เจ้าหญิงจงทรงพระเจริญ ๆ ๆ แล้วข้าวตอกดอกไม้ของหอมก็ถูกโปรยทั่วบริเวณ พระพิรุณก็โปรยปรายความชุ่มเย็นจากฟากฟ้าเป็นละอองทั่วกรุงละโว้ เป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง
       

      เมื่อพระนางจามเทวี อายุได้ ๒๐ ปี ในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้น เดือน ๖ พุทธศักราช ๑๑๙๖ ขาวกรุงละโว้ (ลพบุรี) ก็มีประราชพิธีสำคัญคือ พระราชพิธีหมั้นระหว่างเจ้าชายรามราชกับเจ้าหญิงจามเทวี ในวันรับหมั้นก็มีมหรสพสมโภชน์เอิกเกริก บรรดาเจ้าเมืองทั้งหลายก็ส่งเครื่องบรรณาการกันอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง

      อันความงามของเจ้าหญิงเลื่องลือไปทุกแคว้น จนกระทั่งเจ้าชายผู้เป็นพระราชโอรสพระเจ้ากรุงโกสัมภี (พม่า) เกิดลุ่มหลงไม่เป็นอันกินอันนอน จนพระราชบิดาต้องแต่งเครื่องบรรณาการให้อำมาตย์เชิญพระราชสาสน์มาสู่ขอพระราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ ในปี ๑๑๙๖ ขณะนั้นเจ้าหญิงทรงรับหมั้นแล้ว จึงได้ปฏิเสธการรับหมั้น ฝ่ายทางกรุงโกสัมภีหาว่าละโว้บ่ายเบี่ยงก็แค้นอยู่ในใจ

                  ขณะนั้นพระนางเป็นมเหสีของเจ้าประเทศราชเมืองรามัญ และทรงพระครรภ์ได้ 3 เดือน ในการเสด็จมาครั้งนั้นพระนางได้นำเอาพระมหาเถระทรงไตรปิฎก พร้อมทั้งข้าทาสบริวาร ช้างม้าวัวควาย จำพวกละ 500 มาด้วย โดยลงเรือมาตามลำน้ำแม่ปิง ใช้เวลา 7 เดือน จึงมาถึง ฤาษีวาสุเทพและสุกกทัตฤาษี พร้อมทั้งชาวเมืองทั้งปวง ได้อัญเชิญพระนางให้ขึ้นครองเมือง โดยให้ชื่อเมืองนั้นว่า หริภุญไชย ตั้งแต่นั้นสืบมา

      ::ภาพจิตรกรรมพระนางจามเทวีสร้างเมืองหริภุญไชย จากวัดพระพุทธบาทตากผ้า ::

      เมื่อพระนางมาถึงเมืองหริภุญไชยได้ 7 วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด ให้ชื่อว่า มหายศ และอนันตยศ หรืออินทวร เมื่อมหายศกุมารอายุได้ 7 ปี ก็ได้อภิเษกในราชสมบัติ ในระหว่างที่ พระนางจามเทวีครองราชย์นี้ เมืองหริภุญไชยมีสงครามที่นับว่าเป็นศึกหนักและยาวนานก็คือ การทำสงครามกับพญามิลักขะ หรือขุนหลวงวิลังคะ หัวหน้าชนเเผ่าลัวะ ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมือง อาศัยอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ พระนางจามเทวีได้ใช้อุบายต่างๆ ในการทำศึกแต่ละครั้ง พญามิลักขะจึงไม่สามารถเอาชนะได้ และยอมแพ้ไป ภายหลังพระนางก็ได้อภิเษกโอรสทั้ง 2 กับพระธิดาฝาแฝดของพญามิลักขราช

      :: ดอยสุเทพ ::

      ต่อมาพระนางได้ขอให้สุพรหมฤาษีและพรานเขลางค์สร้างเมืองให้แก่อนันตยศ โดยให้ชื่อเมืองว่า เขลางคนคร เมื่อพระนางเสด็จไปทรงเยี่ยมตามคำทูลเชิญของอนันตยศ พระนางจึงได้อภิเษกอนันตยศขึ้นครองเมือง พระนางจามเทวีประทับอยู่ที่เมืองเขลางคนคร 6 เดือน จึงเสด็จกลับเมืองหริภุญไชย จากนั้นอีก 2 เดือนต่อมาพระนางก็สิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าได้มีการบรรจุอัฐิของพระนางไว้ในเจดีย์สุวรรณจังโกฏหรือรัตนเจดีย์ ภายในวัดจามเทวี ลำพูน

      เจดีย์มหาพลหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวีเจดีย์สุวรรณจังโกฏหรือรัตนเจดีย์


      ขอขอบคุณ
      -http://www.sri.cmu.ac.th/~maeyinglanna/main2/main1.php
      -www.konmeungbua.com/nithan/jamatavee.html
      -จอมนางหริภุญไชย,กิตติ วัฒนะมหาตม์

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×