ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ศาสนาคริสต์ ,, (- Catholic -)

    ลำดับตอนที่ #43 : • บุญราศีทั้งเจ็ด แห่งประเทศไทย •

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.24K
      1
      2 ม.ค. 50


    เมื่อวันอาทิตย์ที่  22  ตุลาคม ค.ศ. 1989/พ.ศ.2532   ณ   มหาวิหารนักบุญเปโตร ที่กรุงโรมสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงประกาศเป็นทางการ   "บันทึกนามมรณสักขีไทยทั้ง 7 ท่าน  เข้าทำเนียบบุญราศี" หลังจากนั้น ที่วัดแม่พระไถ่ทาสสองคอนเอง พระศาสนจักรแห่งประเทศไทยก็ได้จัดสมโภชอย่างมโหฬาร ระหว่างวันที่ 6 - 10 ธันวาคท พ.ศ.2532

    วัดสองคอนเมื่อปี ค.ศ.1940 (2483) มีคุณพ่อเปาโล ฟีเกต์  เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้รับแต่งตั้งจากพระสังฆราช แกว็ง ให้มาดูแลคริสตชนตั้งแต่ปี 1925  รวมเวลาได้ประมาณ 15 ปีเศษ

    คุณพ่อฟีเกต์ มีบุคคล 3 ท่านที่ช่วยเหลือในการอภิบาลสัตบุรุษ คือ ซิสเตอร์อักแนส และซิสเตอร์ลูซีอา กับฆราวาส 1 ท่านคือ ครูสีฟอง

    1. ซิสเตอร์อักแนส  (1909 - 1940) เดิมชื่อ มาร์การิตา พิลา (สุภีร์) ทิพสุข เป็นบุตรสาวของ โยอากิม สอน และอันนา จูม เกิดที่บ้านนาฮี เมื่อวันพฤหัส เดือนมิถุนายน 6, 1909 ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่บ้านเวียงคุก ซึ่งเป็นหมู่บ้านคริสตัง ในเขตจังหวัดหนองคาย 

    หลังจากรับศีลล้างบาปได้ไม่นาน คุณพ่ออันตน หมุน ได้มองเห็นแวว ชีวิตนักบวชของพิลา จึงได้ออกปากให้เข้าอารามที่เชียงหวาง 16 พฤศจิกายน ค.ศ.1928  ท่านได้ปฏิญญาณตนเป็นข้ารับใช้ของพระเจ้า ใช้ชื่อว่า "ซิสเตอร์ อัสแนส พิลา" ท่านได้รับมอบหมายให้มาทำงานที่สองคอนในปี ค.ศ. 1932

    2. ซิสเตอร์ลูซีอา  (1917 - 1940) เดิมชื่อ ลูซีอา คำบาง เป็นบุตร สาวของยากอบ ดำ และมักดาเลนา สี เกิดที่บ้านเวียงคุกได้เข้าอารามที่เชียงหวาง และถวายตัวเป็นซิสเตอร์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ.1937 ได้รับชื่อว่า "ซิสเตอร์ลูซีอา คำบาง" หลังจากถวายตัวแล้วก็ได้ไปประจำที่บ้านสองคอนในปี ค.ศ. 1938

    3. ครูสีฟอง มีชื่อเต็มว่า ฟิลิป สีฟอง อ่อนพิทักษ์ เกิดวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1907 ที่วัดนักบุญอันนา หนองแสง จังหวัดนครพนม

    เมื่อเติบโตขึ้น  สีฟองเข้าเรียนทีโรงเรียนวัดหนองแสง   จบแล้วเคยไปเรียนต่อที่บ้านเณรพระหฤทัยบางช้าง  จ.สมุทรสงคราม  ท่านมาถึงสองคอนประมาณปี ค.ศ. 1926 นอกจากจะสอนเรียนแล้ว ท่านยังสอนให้ชาวบ้านรู้จักตัดเย็บเสื้อผ้า   ช่วยดูแลวัด   ตลอดจนสอนคำสอน   ท่านถูกห้ามไม่ให้สอนคำสอน และให้ละทิ้งศาสนาคาทอลิก  แต่ครูสีฟองไม่ยอมละทิ้งศาสนาและยังคงสอนคำสอนต่อไป ท่านจึงถูกฆ่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1940 เป็นมรณสักขีองค์แรก

    มรณสักขีองค์ที่ 2 - 7

    ตำรวจให้ผู้ใหญ่บ้านมาตามซิสเตอร์ไปพบที่วัดเมื่อพบกัน   ตำรวจถามซิสเตอร์ว่า  "ได้ละทิ้งพระเจ้า ทิ้งศาสนาแล้วหรือยัง?" ซิสเตอร์ทั้งสองตอบว่า  "ไม่มีวัน จะไม่มีวันทิ้งพระเจ้าโดยเด็ดขาด" ตำรวจจึงว่า เมื่อไม่ทิ้งพระเจ้า ไม่กลัวตาย ให้ทุกคนไปที่แม่น้ำโขงเดี๋ยวนี้ จะจัดการ

    ซิสเตอร์อักแนส พิลา แย้งว่า "จะไม่ไปที่แม่น้ำโขง ถ้าจะฆ่าพวกเราขอให้ไปฆ่าที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ (คือป่าช้าของวัด)

    ตำรวจโกรธ พูดตัดบทว่า "ไม่ต้องมาพูดมาก ไปป่าศักดิ์สิทธิ์ก็ได้"

    คณะผู้ยอมพลีชีพทั้ง 8 คือ

    1. ซิสเตอร์อักแนส พิลา
    2. ซิสเตอร์ลูซีอา คำบาง
    3. อากาทา พูดทา
    4. น.ส.เซซีลีอา บุดสี ว่องไว
    5. น.ส.บีบีอานา อำไพ ว่องไว
    6. ด.ญ.มารีอา พร ว่องไว
    7. น.ส.เซซีลีอา สุวรรณ
    8. ด.ญ.เซซีลีอา สอน ว่องไว

    ได้ออกเดินทางมุ่งไปยังป่าศักดิ์สิทธิ์    ระยะทางจากวัดถึงป่าศักดิ์สิทธิ์ประมาณ   300 - 400 เมตร ทุกคนเดินไปพร้อมกับสวดภาวนาและร้องเพลงไปด้วย ไม่มีการสะทกสะท้านใด ๆ พวกตำรวจ แบกปืนเดินตามไปห่างๆ

    ขณะที่คณะผู้ยอมพลีชีพทั้ง 8 คน กำลังเดินอยู่ นายกองสี บิดาของน.ส.สุวรรณ สงสารบุตรสาวของตน รีบตามมาพาตัวกลับบ้าน บอกว่ายังไม่ถึงเวลาไปตาย

    ด.ญ.เซซีลีอา สอน ว่องไว ผู้อยู่ในคณะผู้ยอมพลีชีพเล่าว่า  เมื่อถึงป่าศักดิ์สิทธิ์เห็นขอนไม้ใหญ่ล้มทอดอยู่ต้นหนึ่ง ซิสเตอร์อักแนส พิลาพูดว่า   "ขอนไม้นี้แหละเหมาะดี พวกเราอาศัยขอนไม้นี้เป็นที่คุกเข่าสวดก่อนตายกันเถิด"

    ทุกคนคุกเข่าลงข้างขอนไม้เรียงกันไปตามลำดับสเตอร์อักแนส  พิลา,   ซิสเตอร์ลูซีอา คำบาง, แม่พุดทา, น.ส.บุดสี, น.ส.คำไพ, ด.ญ.พร, ด.ญ.สอน อยู่ริมในสุด แล้วสวดพร้อมกัน

    เมื่อพวกตำรวจมาถึง ตำรวจบอกให้คณะของซิสเตอร์เตรียมตัว แล้วเริ่มยิงทางด้านหลังทันที แต่ปืนไม่ลั่น จึงเปลี่ยนมายิงทางด้านหน้า แต่ปืนไม่ลั่นอีก ตำรวจจึงเปลี่ยนเอาปืนจากตำรวจอีกนายหนึ่งขึ้นมายิง เสียงปืนลั่นขี้น   พวกตำรวจยิงประมาณ 20 นัด  เข้าใจว่าทุกคนตายแล้วจึงเดินกลับที่พัก นายสาลีเข้าไปดูเห็นถูกกระสุนปืน 6 คน ด.ญ.สอนคนเดียวไม่ถูกกระสุนปืนเลย ชาวบ้านได้ขุดหลุมฝังรวม 3 หลุม ฝังหลุมละ 2 ศพ

    ซิสเตอร์ทั้งสองและคณะได้บรรลุสมปรารถนาที่จะตายเพื่อยืนยันความเชื่อ     

    พวกเขาได้หลั่ง เลือดทาผืนแผ่นดินไทยเป็นการประกาศให้ทุกคนได้ทราบว่า พวกเขามีและนับถือพระเจ้า องค์ปฐม  แห่งสรรพสิ่ง  พระองค์ผู้ประทานชีวิตแก่โลกและมนุษย์  พระองค์ผู้ทรงดูแล  ช่วยเหลือ และเมตตาชาว เรา พวกเขาได้รับชีวิตมาแต่พระองค์ เขาก็พร้อมที่จะถวายชีวิตนั้นคืนแด่พระองค์ ความตายมิได้ทำให้พวกเขาหวั่นไหวที่จะปฏิเสธพระองค์เลย

    .
    .
    .

    (- อันนี้จะละเอียดหน่อยฮิ -)

    พลิกปูมเส้นทางบุญราศี

    ปี 2424 คุณพ่อกองสตังต์ ยัง บัปติสต์ โปรดม
    และคุณพ่อฟรังซิส มารี ซาเวียร์ เกโก รับคำสั่ง ให้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในภาคอีสาน (มิสซังลาว) โดยพระคุณเจ้าเวย์ พระสังฆราชมิสซังไทย ในสมัยนั้น ผู้ออกคำสั่งได้กำหนดเอาจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดหมายปลายทางของคณะธรรมฑูต

    ปี 2430 ขุนอินทร์ (ขุนไทย) อพยพผู้คนมาตั้งหลักแหล่ง ทางตอนใต้ของแนวฝั่งโขง และตั้งหมู่บ้านสองคอน (ตามคำบอกเล่า คุณพ่อซาเวียร์ เกโก เข้ามาบุกเบิกศาสนาในปีนี้ด้วย)

    ปี 2442 พระสันตะปาปาเลโอที่ 13 แต่งตั้งมิสซังลาว (รวมภาคอีสานของไทย และเขต ส่วนใหญ่ของประเทศลาว) และแต่งตั้ง ฯพณฯ มารี ยอแซฟ กืออาส เป็นประมุของค์แรก

    ปี 2450 บ้านสองคอนมีคริสตังประมาณ 200 คน มีโรงสวดกลางหมู่บ้าน

    ปี 2452-2490 อยู่ในช่วงที่พระคุณเจ้าเรอเน แปร์รอส ปกครองมิสซังไทย (อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) สมัยนั้นประเทศไทยมี 2 มิสซัง และ 1 อนุมิสซัง คือ มิสซังไทย มิสซังอีสาน และอนุมิสซังราชบุรี

    ปี 2467 นางสาวพิลา ทิพย์สุข (ซิสเตอร์อักแนส) เข้าอารามที่เชียงหวาง ประเทศลาว

    ปี 2468 คุณพ่อเปาโล ฟิเก ชาวฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดแม่พระไถ่ทาส สองคอน สมัยนั้นพระคุณเจ้าแกว๊ง เป็นประมุขมิสซังลาว

    ปี 2475 ซิสเตอร์อักแนส พิลา ทิพย์สุข มาประจำที่บ้านสองคอน

    ปี 2481 ซิสเตอร์ลูซีอา คำบาง มาประจำที่บ้านสองคอน

    เดือนสิงหาคม ปี 2483 พลตำรวจลือ เมืองโคตร และพรรคพวกรวม 6 คน มาประจำที่บ้านสองคอน

    ปี 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างฝ่ายอักษะ (เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น) กับฝ่ายสัมพันธมิตร (ฝรั่งเศส สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรีย ฯลฯ รัฐบาลไทยในสมัยนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เข้ากับฝ่ายอักษะ)

    28 พฤศจิกายน 2483 เครื่องบินของฝรั่งเศสล่วงล้ำน่านฟ้าไทย และทิ้งระเบิดสถานีตำรวจ จังหวัดนครพนม พลตำรวจตรีอดุล เดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ มีคำสั่งให้ขับไล่ชาว ฝรั่งเศส ออกนอกอาณาจักรไทย

    29 พฤศจิกายน 2483 คุณพ่อเปาโล ฟิเก ถูกขับไล่ออกจากบ้านสองคอน ท่านเดินทางออกนอกประเทศโดยทางเรือ ไปขึ้นฝั่งที่ท่าแขกประเทศลาว

    16 ธันวาคม 2483 ตำรวจลือ ลวงครูสีฟอง อ่อนพิทักษ์ไปฆ่าที่ห้อยตุ้มนก บ้านพาลุกา ห่างจากบ้านสองคอนไปทางใต้ 15-17 กม.

    ต่อมาไม่นาน มีคนมาส่งข่าวการตายของครูสีฟอง ให้ชาวบ้านทราบ หลังจากนั้น ชาวบ้าน หลายคนเริ่มท้อถอย เพราะขาดผู้นำ ไม่กล้าแสดงตนว่าเป็นคริสตัง แต่ยังมีชาวบ้านกลุ่มใหญ่ ยังคง ยืนหยัดในความเชื่อ ภายใต้การนำของซิสเตอร์อักแนส

    บ่ายวันที่ 22 ธันวาคม 2483 ตำรวจลือเรียกซิสเตอร์ทั้งสองเข้าพบ ขู่ให้ละทิ้งศาสนา เมื่อไม่ได้ผล จึงหลอกให้ซิสเตอร์ถอดชุดนักบวช โดยสัญญาว่าจะเลิกเบียดเบียนศาสนา ซิสเตอร์ทั้งสองหลงเชื่อ ยอมถอดชุดนักบวช (ตำรวจลือเข้าใจว่าการถอดชุดนักบวชหมายถึงการสึก)

    23 ธันวาคม 2483 ตำรวจลือเรียกประชุมชาวบ้าน บริเวณหน้าวัด บังคับให้ทุกคนทิ้งศาสนา หากใครไม่ทิ้งจะถูกฆ่า

    24 ธันวาคม 2483 ชาวบ้านและซิสเตอร์เตรียมฉลองคริสต์มาส ซิสเตอร์ให้บุดสีและ สุวรรณ ไปเอาชุดนักบวช ซึ่งเอาไปซ่อนไว้ในยุ้งข้าวของนางเทพ (มารดาของบุดสี) กลับมาสวมอีกครั้ง เนื่องจากตำรวจไม่รักษาสัจจะ (ตำรวจลือสัญญาจะเลิกเบียดเบียน หากซิสเตอร์ยอมถอด ชุด)

    25 ธันวาคม 2483 ชาวบ้านฉลองคริสต์มาส ซิสเตอร์อักแนสให้ทุกคนจับฉลากรับความตาย และตกลงใจเขียนจดหมายถึงตำรวจลือ

    ตอนเช้าของวันที่ 26 ธันวาคม 2483 บุดสีและนายจี อาสานำจดหมายไปให้ตำรวจลือ บ่ายวันเดียวกัน หลังรับจดหมายแล้ว ตำรวจลือเรียกซิสเตอร์และคณะ (มีซิสเตอร์อักแนส ซิสเตอร์ลูซีอา คำบาง แม่พุดทา บุดสี คำสอน พร และสุวรรณ รวม 8 คน) มาพบข้างวัด หวังจะสังหาร บริเวณริมแม่น้ำโขง เพื่อหาข้ออ้างว่า บุคคลทั้ง 8 จะหลบหนีไปฝั่งลาว แต่ซิสเตอร์อักแนส ขอเปลี่ยนสถานที่เป็นสุสาน ระหว่างทางจากวัดไปยังสุสาน (ประมาณ 500 เมตร) พ่อของสุวรรณ ได้มาฉุดตัวสุวรรณกลับบ้าน จึงเหลือเพียง 7 คน ไปคุกเข่าหน้าขอนไม้ในสุสาน ตำรวจลือยิงปืนใส่คนทั้ง 7 มีผู้เสียชีวิตเพียง 6 คน ส่วนนางสอนไม่ถูกกระสุน เนื่องจากตกใจ จึงหนีกลับบ้าน

    เดือนมิถุนายน 2484 มีการสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ ตำรวจลือและพรรคพวก ถูกย้ายไปประจำที่ อ.มุกดาหาร (ปัจจุบันเป็นจังหวัดแล้ว) ตำรวจเหม็น บริบูรณ์ มาประจำการแทน

    9 มีนาคม 2486 พระคุณเจ้ากาเยตาโน ปาซอตตี ผู้รักษาการมิสซังตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) แห่งประเทศไทย มอบหมายให้คุณพ่อการ์โล กาเซตตา (สงฆ์คณะซาเลเซียน) ทำ การสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (26 ธันวาคม 2483) คุณพ่อการ์โลได้ทำการสอบสวนอย่างละเอียด และได้หลักฐานสำคัญคือ จดหมายที่ซิสเตอร์อักแนสเขียนถึงตำรวจลือ (นางพาดี ขาวดีเดช เก็บเอาไว้)

    ปี 2490 พระคุณเจ้าเกลาดีโอ บาเยต์ (สมัยนั้นเป็นวีการีโอ อาโปสตอลีโก แห่งมิสซัง ลาว) ได้นำจดหมายของซิสเตอร์อักแนส ไปปรึกษาทนายความที่กรุงโรม ทนายความกล่าวว่าเป็น หลักฐานพิสูจน์ได้ อย่างไม่มีข้อสงสัย ต่อมาพระคุณเจ้าบาเยต์ ได้เริ่มกระบวนการในการสถาปนาขึ้น โดยมีพระสังฆราชรุ่นต่อมาทำการสานต่อ

    ในปี 2502 คุณพ่อยัง เซน ขุดกระดูกครูสีฟอง มาฝังรวมกันที่สุสานบ้านสองคอน (ศพของครูสีฟอง ถูกฝังที่บ้านพาลุกา) และในปีเดียวกันนี้ มิสซังท่าแร่-หนองแสง ได้เลื่อนฐานะเป็นอัครสังฆมณฑล

    ในปี 2503 พระคุณเจ้าเกี้ยน เสมอพิทักษ์ พระอัครสังฆราช แห่งอัครสังฆมณฑลท่าแร่- หนองแสง ได้รับอนุญาตจากทางกรุงโรม ให้ขุดศพทั้ง 3 หลุม (ตำรวจให้ฝังหลุมละ 2 คน) และได้พิสูจน์ศพทั้ง 6 โดยอาศัยพยานที่แน่นอน และนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    ต่อมาในสมัยของพระคุณเจ้าคายน์ แสนพลอ่อน ท่านได้เสนอให้รวมกระบวนการของครูสีฟอง อ่อนพิทักษ์ เข้ากับกระบวนการของมรณสักขีทั้ง 6 ท่าน เป็นกระบวนการเดียว (แต่เดิม ทางประเทศไทยเสนอรายชื่อไปเพียง 6 คน) และได้สานต่อเจตนารมณ์ของผู้ริเริ่มขั้น ตอนต่อไป

    1 กันยายน 2531 สมณกระทรวงเพื่อการแต่งตั้งนักบุญ ได้ดำเนินการกระบวนการอัคร สาวก (ต่อจากนั้นนำเรื่องเข้าเสนอสมเด็จพระสันตะปาปา)

    4 มีนาคม 2532 ทางวาติกัน มีจดหมายกำหนดวันสถาปนาบุญราศีทั้ง 7

    ต่อมาพระศาสนจักรคาทอลิก โดยสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศเทิดเกียรติมรณสักขีทั้ง 7 ท่านนี้ ขึ้นเป็น "บุญราศี" อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงโรม

    สภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันฉลองของบุญราศีทั้ง 7 ของประเทศไทย

    -------------------------------------------------------------------------------

    Credit :: http://www.chandiocese.org/saint/dec-16.htm // http://www.angelfire.com/wi/catholicthai/saints.html#blessed

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×