ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ศาสนาคริสต์ ,, (- Catholic -)

    ลำดับตอนที่ #35 : • ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ บาป ทั้งหลายแหล่ •

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.17K
      1
      22 ธ.ค. 49


    ประเภทของบาป มี 2 ประเภท คือ

    1. บาปหนัก (Mortal Sin)

    ซึ่งมีผลทำให้สูญเสียชีวิตพระหรรษทาน การจะเป็นบาปหนัก ต้องประกอบด้วย

    1. การกระทำผิดในข้อหนัก
    2. รู้ตัวว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิด
    3. ตัดสินใจที่กระทำ

    2. บาปเบา (Venial Sin)

    ผลของบาปเบา แม้จะไม่สามารถทำลายชีวิตพระหรรษทานในตัวเราแบบบาปหนัก แต่ก็ทำให้ขัดเคืองพระทัยของพระด้วย ทำให้ชีวิตพระในตัวเราอ่อนแอลง และอาจตกในบาปหนักได้ง่าย การจะเป็นบาปเบาต้องประกอบไปด้วย

    1. กระทำผิดในข้อเล็กน้อย
    2. กระทำผิดในข้อหนัก โดยคิดว่าเป็นข้อเล็กน้อย
    3. กระทำผิดในข้อหนักโดยไม่เต็มใจ

    การกระทำบาป มี 5 ทาง คือ

    1. ทางความคิด พระเจ้าทรงล่วงรู้ความคิดของเรามนุษย์เสมอ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ผิดในการที่จะเก็บความคิดที่ไม่ดีไว้

    2. ทางความปรารถนา ความปรารถนาในสิ่งที่ไม่ดีก็เป็นบาป

    3. ทางวาจา คำพูดที่ไม่ดี คำหยาบ ทะเลาะกัน ด่ากัน นินทา - ใส่ความ สิ่งเหล่านั้นเป็นความผิดทางวาจาทั้งสิ้น

    4. ทางการกระทำ กระทำในสิ่งที่ไม่ดี เช่นการที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ครู การขโมย การอ่านหนังสือชั่ว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบาปทางการกระทำทั้งสิ้น

    คุณธรรม มโนธรรม และพยศชั่ว (บาปต้น) 7 ประการ

    คุณธรรม หรือฤทธิ์กุศล (Virtue)

    คือนิสัย หรือความโน้มเอียงในการทำความดี เป็นการเสริมสร้าง หรือพัฒนาความเป็นคนที่สมบูรณ์ ที่มีทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และน้ำใจอิสระ มีความรู้คิด และรู้จักเลือกกระทำในสิ่งที่ถูกต้องสมควร

    คุณธรรมไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเอง หรือมีมาแต่กำเนิด แต่เกิดจากการฝึกฝน ปฏิบัติอยู่เสมอจนเป็นนิสัย กลายเป็นลักษณะประจำตัว หรือธรรมชาตินิสัยของตนเอง เป็นแรงผลักดันส่งเสริมให้เราทำความดี

    คุณธรรมมี 2 ประเภท คือ

    1 .คุณธรรมเหนือธรรมชาติ เป็นสิ่งที่พระประทานให้เราตั้งแต่เริ่มต้นที่เรารับศีลล้างบาป คือความเชื่อ ความไว้ใจ และความรักในจิตวิญญาณ มีสิทธิและศักดิ์ศรีในการเป็นบุตรของพระเจ้า

    2. คุณธรรมตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เราต้องฝึกฝนด้วยตนเองทั้งในด้านสติปัญญาและน้ำใจ

    ด้านสติปัญญา ได้แก่ ความใฝ่รู้ แสวงหาความเข้าใจ มีสติ มีความสุขุมรอบคอบ ความละอาย

    ด้านน้ำใจ ได้แก่ ความสุภาพ อดทน ความเมตตา ใจดี เอื้ออาทร ความรักและเป็นมิต ใจกว้าง เสียสละ รับใช้บริการ รู้จักพอใจ และการรู้จักประมาณตน ฯลฯ

    มโนธรรม (Conscience)

    คือ ตัวบ่งชี้ ตัดสิน หรือติเตียน ความดี หรือความชั่ว ภายในจิตใจของเราเอง ต่อหน้าพระเจ้า แม้คนอื่นอาจจะไม่รู้ แต่เราเองจะรู้ดี เพราะเป็นเสียงเรียกของพระในจิตใจของเรา

    มโนธรรม เป็นของประทานจากพระเจ้า แต่เราสามารถพัฒนาอบรมเรียนรู้ ให้มีความชัดเจน หรือเข้มแข็งขึ้นได้ ปฏิบัติตามเสียงของมโนธรรม ไม่ว่าในด้านพระธรรมคำสอน จริยธรรม หรือกติกาของสังคม เพื่อความดีและความถูกต้อง ทั้งของตนเอง และของส่วนรวม

    บาปต้น (Capital Sin) หรือพยศชั่ว 7 ประการ

    ตรงข้ามกับ คุณธรรม หรือฤทธิ์กุศล นั่นคือ นิสัยหรือความโน้มเอียงในการทำความชั่ว พยศชั่ว จึงเป็นการบั่นทอง และดึงสภาพที่มีศักดิ์ศรีของความเป็นคน ที่จะเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดี แต่เพราะความอ่อนแอ ตามประสามนุษย์ หากปฏิบัติอยู่เสมอ จะกลายเป็นความเคยชิน หรือเป็นนิสัยที่ไม่ดีติดตัวต่อไปได้ หรือเป็นนิสัยถาวรต่อไปได้

    พิจารณาบาปจากพยศชั่ว (บาปต้น) 7 ประการ

    1. จองหอง ไม่รู้จัดอดกลั้น - มักใหญ่ใฝ่สูง - ทะเยอทะยาน - เจ้าทิฐิ - ถือดีในตัว - เชื่อภูมิตัวเอง - โอ้อวด - ขี้โม้ - คุยโว - วางมาด - ไม่ต้องการคำแนะนำ - เจ้าอารมณ์ - ถือตัว - โอหัง - เอาแต่ใจตัวเอง - ดื้อรั้น - หมกมุ่นแต่ความขุ่นเคือง - อวดดี - วางท่า - แสนงอน - ใจน้อย - ยโส - ไม่ประมาณตนเอง

    2. ตระหนี่ เห็นแก่ตัว - เห็นแก่ได้ - ขาดความเผื่อแผ่ - ใจแคบ - เจ้าอุบาย - หลอกลวง - กักตุน - สะสม - ปกปิดซ่อนเร้น - ขาดเมตตา - ไม่สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่น - ยึดมั่นถือมั่นในของนอกกาย และในสิ่งของโลก

    3. ลามก อยากรู้อยากเห็น - ปล่อยตัวปล่อยใจ - ฝักใฝ่ - หมกมุ่น - ลุ่มหลง - ทั้งความคิด - การอ่าน - การมอง - พาจิตใจให้ฟุ้งซ่าน - ปล่อยความคิดเรื่อยเปื่อย - กิริยาวาจาหยาบโลน - พูดจาส่อเสียด - ไม่รักษาเกียรติและศักดิ์ศรี - แต่งกายล่อแหลม - คิดสกปรก - ปล่อยใจ - ไม่มีใจเป็นอิสระ

    4. อิจฉา เกลียดชัง - ซุบซิบนินทาว่าร้าย - กล่ายร้ายป้ายสี - ทำลายเกียรติ - พูดเสียดสี - ประชดประชัน - ดีใจเมื่อคนอื่นเป็นทุกข์เสียใจ - ไม่ชอบเมื่อคนอื่นได้ดีกว่าตนเอง - กลั่นแกล้ง - ปัดแข้งปัดขา - กีดกัน

    5. ความโลภ คิดพูดแต่เรื่องอาหาร - เอาแต่เรื่องกิน - จู้จี้ขี้บ่น - ไม่พอใจกับสิ่งที่มี - เน้นการบริโภค - เวลากินไม่สนใจใคร - ไม่ยับยั้งในการกิน การดื่ม - ดื่มเหล้าจนเมามาย - มูมมาม - ตะกละ - ไม่รู้จักพอ - ฝักใฝ่สลวน (สา-ละ-วน) มักได้ตลอดเวลา

    6. ความโมโห ความรังเกียจ - ความไม่ชอบ - โกรธด้วยอาการเงียบ - ความไม่พอใจ - ขุ่นเคือง - เดือดดาล - ฉุนเฉียว - อาฆาต - แก้เผ็ด - ไม่สะกดอารมณ์

    7. เกียจคร้าน เฉื่อยชา - ชักช้า - ลังเล - เอื่อยเฉื่อย - ไม่ใส่ใจ - ท้อถอย - ขาดความรับผิดชอบ - ไม่สม่ำเสมอ - ตามใจตนเอง - ไม่เอาจริงเอาจัง - ส่งเสริมไม่ขึ้น - เอาแต่สบายง่าย ๆ - ผัดวันประกันพรุ่ง

    ----------------------------------------------------------------------------------------------------

    Credit :: www.mariarosa.org

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×