ที่มาของเพลงความฝันอันสูงสุด - ที่มาของเพลงความฝันอันสูงสุด นิยาย ที่มาของเพลงความฝันอันสูงสุด : Dek-D.com - Writer

    ที่มาของเพลงความฝันอันสูงสุด

    ใครเคยรู้บ้างว่าที่มาของเพลงความฝันอันสูงสุด ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น มาจากดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ลองเข้ามาดูแล้วเพื่อนๆ จะได้รับรู้ถึงคำว่ามหาราชคู่ชาติไทย

    ผู้เข้าชมรวม

    3,716

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    11

    ผู้เข้าชมรวม


    3.71K

    ความคิดเห็น


    7

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  ซึ้งกินใจ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 ส.ค. 51 / 20:58 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ
    ขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว
    ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ
    ขอฝ่าฟันผองภัยด้วยใจทะนง
    จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
    จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
    จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง
    จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
    ไม่ท้อถอยคอยสร้างสิ่งที่ควร
    ไม่เรรวนพะว้าพะวังคิดกังขา
    ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา
    ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
    นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง
    หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส
    ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด
    ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน
    โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่
    เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน
    ยังคงหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ

    ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เพลงนี้ คนส่วนใหญ่จะทราบความเป็นมาเพียงว่า เป็นบทเพลงบทเพลงพระราชนิพนธ์
      น้อยคนนักจะทราบว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชนิพนธ์ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ได้ร้องเพื่อปลุกใจ แต่ว่า ความเป็นมาลึกๆ คงมีคนทราบไม่มากนัก ถึงจะทราบ ก็อาจจะไม่เชื่อก็ได้ แต่ก็สมควรจะรับทราบไว้ เพื่อจะได้รับรู้ถึงความห่วงใยของอดีตมหาราช ผู้ทรงสวรรคตไปแล้ว แต่ยังคงรักบ้านเมืองเฉกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ทราบไหมครับว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด เพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" ขึ้น?

      พล ตต. เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รอง ผบ.ตำรวจตระเวนชายแดน ได้เล่าประวัติความเป็นมา ของเพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ไว้ในหนังสือ "วารสารลูกเสือชาวบ้าน" ของ มานพ ลิ้มจรูญ ฉบับปฐมฤกษ์ ซึ่งผมขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อว่า

      เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ได้เสด็จฯ ไปในงานพระราชพิธีสังเวยดวงวิญญาณอดีตมหาราช (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกปี สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นี้ ได้เสด็จฯ ไปที่ ต.แม่อาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จฯ มาตั้งค่ายพักแรม ณ ที่นี้ก่อนยกทัพเข้าไปตีเมือง ซึ่งยังปรากฏร่องรอยรั้วป้อมค่ายต่างๆ อยู่ และในปัจจุบันนี้ รัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จนเรศวรมหาราชทรงช้างต้น และได้จำลองค่ายที่ประทับแรมจินตนาการ และร่องรอยที่ปรากฏอยู่ตามสภาพจริง

      หลังจากเสร็จพระราชพิธี เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ แล้วเสด็จฯ กลับประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในคืนนั้น ก่อนรุ่งสว่าง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสุบินนิมิตว่า

      " สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จฯ มาปรากฏพระองค์ขึ้น ที่หน้าพระแท่นบรรทม ในพระสุบินนิมิต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้กราบถวายบังคม โดยที่ทรงทราบจาก พระวรกายและฉลองพระองค์ทรงเครื่องออกศึกว่า คือ องค์พระนเรศวรมหาราช และได้มีกระแสพระดำรัส แก่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า พระองค์ท่านปัจจุบันนี้ ดวงพระวิญญาณยังอยู่ในประเทศไทย เพราะทรงเป็นห่วงบ้านเมือง ประชาชนคนไทย ยังไม่ได้ไปประสูติใหม่ ณ ที่ใดเลย และที่มาปรากฏในสุบินนิมิตนี้ ก็เพื่อจะทรงเตือนว่า ในอนาคตต่อจากนี้ไป บ้านเมืองไทยจะประสบกับความวุ่นวายยุ่งยาก และความมืดมนยิ่งขึ้น อย่างน่ากลัวอันตราย เหมือนกับที่เกิดขึ้นในสมัยพระองค์ท่าน (อนาคตนั้นก็น่าจะเป็น สมัยปัจจุบันนี้เอง ) ขอให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นกำลังพระทัยถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เพื่อที่จะได้ทรงนำประชาชน และชาติไทยฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวง ให้ผ่านพ้นไปได้ และพระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน จักเป็นผู้นำให้ชาติไทยและประชาชนชาวไทย ผ่านพ้นห้วงวิกฤตินี้อย่างแน่นอน และพระองค์ท่านจะเสด็จฯ ติดตามช่วยเหลืออยู่ตลอดไป และขอให้ทั้งสองพระองค์ ได้ทรงให้กำลังใจแก่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ ที่เขาเหล่านั้น ไม่มีโอกาสเข้าใกล้ถวายงานโดยใกล้ชิด แต่เป็นประชาชนที่ยึดมั่นในพระองค์ท่าน โดยไม่เคยแสดงตัวออกมาให้ปรากฏ เหมือนกับการทำบุญปิดทองหลังองค์พระปฏิมา และเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะถวายชีวิต เพื่อพระองค์ท่านและชาติไทย จึงทรงขอให้รวบรวมชาวไทยผู้รักชาติเหล่านั้น และสนับสนุนให้เขาได้มีกำลังใจเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองไว้"

      ในพระสุบินนิมิตนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตรัสว่า พระองค์ทรงสะดุ้งพระองค์ตื่นจากที่บรรทม และทรงประทับนั่งก็ยังทรงทอดพระเนตรเห็น องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรากฏอยู่ จึงทรงปลุกพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปรากฏให้ทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นชั่วครู่ ก็เสด็จฯ ไป เมื่อทั้งสองพระองค์ได้ทรงถวายบังคมแล้ว

      และจากพระสุบินนี้เอง ทั้งสองพระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ เพลงความฝันอันสูงสุดนี้ขึ้น และได้พิมพ์เพลงพระราชนิพนธ์นี้ พระราชทานแก่ ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ ป้องกันอธิปไตยของชาติโดยทั่วหน้า และได้โปรดเกล้าฯ ให้คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา และคุณจินตนา สุขสถิตย์ ร้องเพลงนี้ สอนให้แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน เป็นครั้งแรกที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา..... 

      สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นวีรกษัตริย์นักรบของชนชาติไทย ทรงตรากตรำอยู่ในป่าในเขา กลางศึกสงครามแทนปราสาทราชวัง เพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทยเอาไว้ให้เราทุกคน แม้นเสด็จสวรรคตก็เสด็จสวรรคตท่ามกลางป่า ในระหว่างการศึก สมควรที่เราคนไทยจะรักและเทิดทูนพระองค์ไว้ตลอดไป และกระทำดีรักษาประเทศชาติบ้านเมืองไว้ นี่คือคำกลอนที่พระองค์ดำทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นก่อนเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง ประเทศพม่า

      จักปกป้องขอบขัณฑสีมา พระสยามเทวาบัญชาไว้ ไทยจะต้องคงนามความเป็นไทย ไม่มีใครวิญญาณกูจะสู้เอง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×