มารู้จัก เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ กันดีกว่า - มารู้จัก เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ กันดีกว่า นิยาย มารู้จัก เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ กันดีกว่า : Dek-D.com - Writer

    มารู้จัก เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ กันดีกว่า

    โดย FioRaNo

    ใครที่ไม่คุ้นกับชื่ออุปกรณ์วัดความยาวชนิดนี้ เข้ามาศึกษาเจ้า เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ กันดีกว่า รู้จักกับสารพัดประโยชน์ของมันกันดีกว่า

    ผู้เข้าชมรวม

    9,947

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    9.94K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 พ.ค. 50 / 14:07 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เวอร์เนียร์คาลิเปอร

      รูปที่ 1 เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์

                      ส่วนประกอบที่สำคัญของเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ มีดังนี้
      ปากวัด A          ใช้จับวัตถุที่ต้องการวัดขนาด เช่น ความหนา ความยาว เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของวัตถุ
      ปากวัด B          ใช้วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของวัตถุ
      แกน C              ใช้วัดความลึกของวัตถุ
      สเกลหลัก D     เป็นสเกลที่เหมือนไม้บรรทัด เป็นสเกลที่อยู่กับที่ มักมี 2 หน่วยคือ เซนติเมตร (หรือมิลลิเมตร) และนิ้ว
      สเกลเวอร์เนีย E    เป็นสเกลที่ช่วยให้อ่านค่าได้ละเอียดขึ้น สเกลเวอร์เนียร์สามารถเลื่อนไปมาบนสเกลหลักได้
      ปุ่ม F                     ติดอยู่กับสเกลเวอร์เนียร์ ใช้สำหรับเลื่อนสเกลเวอร์เนียร
      สกูร G                    ติดอยู่กับสเกลเวอร์เนียร์เช่นกัน ใช้ล็อกสเกลเวอร์เนียร์ให้ติดแน่นกับสเกลหลัก ทำให้สเกลเวอร์เนียร์ไม่ขยับขณะอ่านค่าการวัด

      ค่า least count
              เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เวอร์เนียร์) มีหลายรุ่น แต่มีรูปร่างคล้ายกัน ที่แตกต่างคือความละเอียดของการวัด ซึ่งจะหาได้จากสเกลเวอร์เนียร์ ดังนี้
                สมมติเวอร์เนียร์อันหนึ่งมีจำนวนช่องสเกลเวอร์เนียรทั้งหมด n ช่วง เวอร์เนียร์อันนั้นจะอ่านค่าได้ละเอียด 1/n ของ 1 ช่องสเกลหลัก

              ถ้าสเกลเวอร์เนียร์ของเวอร์เนียร์อันหนึ่งมีจำนวนช่องเท่ากับ 20 ช่อง และ 1 ช่องสเกลหลักเท่ากับ 1 mm ดังนั้นเวอร์เนียร์อันนี้จะอ่านได้ละเอียด 1/20 x 1mm เท่ากับ 0.05 mm ค่านี้เรียกว่า least count ของเวอร์เนียร์ ซึ่งเป็นค่าที่น้อยที่สุดหรือค่าละเอียดที่สุดที่เวอร์เนียร์อันนั้นวัดได้

              ค่า least count มักจะพิมพ์ติดอยู่ที่สเกลเวอร์เนียร์ ถ้าเวอร์เนียร์อันใดไม่มีค่า least count ผู้ใช้ต้องหาก่อนทำการวัดเสมอ


       

      การใช้เวอร์เนียร

              การใช้เวอร์เนียร์ เราสามารถใช้เวอร์เนียร์วัดขนาดของวัตถุในหลายลักษณะดังรูป 2 กล่าวคือ

      รูปที่ 2 การใช้เวอร์เนียร์วัดขนาดวัตถุ

      ในการวัดความยาวของแท่งวัตถุ เส้นผ่าศูนย์กลางของทรงกระบอก ทรงกรม ใช้ปากวัด A ดังรูป 2 ก.

      ในการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของวงแหวน ทรงกระบอกกลวง ใช้ปากวัด B ดังรูป 2 ข.

      ส่วนการวัดความลึกของวัตถุ ใช้แกน C ดังรูป 2 ค.

      ในการวัดทุกครั้งจะต้องให้ชิ้นงานหรือวัตถุที่ถูกวัดและเวอร์เนียร์อยู่นิ่ง ไม่เอนไปมา


      การบันทึกค่าการวัด

      รูปที่ 3 การบันทึกค่าการวัด

      รูป 3 แสดงการใช้เวอร์เนียร์วัดขนาดของช้อน ผู้ใช้ต้องหา least count ของเวอร์เนียร์ ดังนี้

      สเกลเวอร์เนียร์มีจำนวนช่องเท่ากับ 10 ช่อง

      สเกลหลัก 1 ช่อง เท่ากับ 1mm

      ดังนั้น ค่า least count เท่ากับ 1/10 x 1 mm เท่ากับ 0.1mm

      ค่าจากการวัดจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือค่าที่อ่านได้จากสเกลหลักและค่าที่อ่านได้จากสเกลเวอร์เนียร์ นำค่าทั้งสองมาบวกกัน จะเป็นค่าที่อ่านได้

              การอ่านค่าบนสเกลหลัก ต้องดูว่าขีดศูนย์ของสเกลเวอร์เนียร์อยู่ตรงกับสเกลหลักที่ตำแหน่งใด บันทึกค่าที่อ่านได้จากสเกลหลักในหน่วยมิลลิเมตร โดยไม่พิจารณาเศษของมิลลิเมตร แต่จะหาได้จากสเกลเวอร์เนียร์ โดยสังเกตว่าขีดใดของสเกลเวอร์เนียร์อยู่ตรงกับขีดใดของสเกลหลัก จากนั้นเอา ค่า least count ของเวอร์เนียร์ไปคูณกับขีดที่อ่านได้จากสเกลเวอร์เนียร์ ผลคูณที่ได้จะเป็นค่าทีอ่านได้จากสเกลเวอร์เนียร์หรือค่าเศษของมิลลิเมตรนั่นเอง

              จากรูป 3 ขีดศูนย์ของสเกลเวอร์เนียร์อยู่เลยขีดที่ 32 mm บนสเกลหลักมาเล็กน้อย แต่ไม่ถึงขีดที่ 33 ดังนั้น ค่าที่อ่านได้จากสเกลหลัก คือ 32mm ส่วนที่สเกลเเวอร์เนียร์ จะเห็นว่าขีดที่ 4 ของเสกลเวอร์เนียร์ตรงกับขีดใดขีดหนึ่งบนสเกลหลัก ดังนั้นค่าที่อ่านได้จากสเกลเวอร์เนียร์หรือเศษของมิลลิเมตร ก็คือ .01 mmx 4 เท่ากับ 0.4mm นั่นคือค่าทีอ่านได้จากเวอร์เนียร์คือ 32.0mm+0.4mm เท่ากับ 32.4 mm  


      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×