ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    <:: Closed { CSS ROOM }

    ลำดับตอนที่ #56 : CSS Lesson >> #6 property background และที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบ bg

    • อัปเดตล่าสุด 21 พ.ค. 52


    แช่แว้บ แช่แว้บ แช่แหว่ว แช่แหว่ว แช่แว้บ!

    ฟ้าววว
    สวัสดีครับทุกคน อิอิ
    ตอนนี้ดีใจมากกกก ที่ได้ติดไฮไลท์ TT^TT
    ขอบคุณพี่เว็บ อยากสุดซึ้งง

    วันนี้เรามาเรียนการใช้ property background กัน ^^
    อ๊ะๆ อย่าลืมโครงสร้าง

    <style type="text/css">
    Selector {property: value;}
    </style>


    สำคัญมากกๆๆๆ จะเตือนทุกตอนให้เบื่อไปเลย
    เบื่อมากเมื่อไหร่แปลว่าจำขึ้นใจ ^^

    เอาละ ต่อมา เรามาดูกันเล้ย ว่า property background ใช้ยังไงได้บ้าง

    แบบที่ 1 Selector {background: url(...); }
    แบบที่ 2 Selector {background: #โค้ดสี;}


    ทำอะไรได้มากกว่านี้อีก แต่ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปกันก่อน
    มาดูทีละแบบน้า

    แบบที่ 1 -- เป็นการกำหนดพื้นหลังให้เป็นรูปครับ ใส่ url ข้างในวงเล็บเลยๆ
    แบบที่ 2 -- เป็นการกำหนดพื้นหลังให้เป็นสีครับ ใส่โค้ดสีเลย ^^


    ทีนี้มาดูตัวอย่างการใช้กันดีกว่า ....
    สมมุติว่า จะใส่ bg สีแดงให้เนื้อหาใน module (Selector คือ .modulebg2)

    ก็จัดการแทนลงไปเล้ย

    <style type="text/css">
    .modulebg2 {background: #ff0000;}
    </style>


    แต่ไม่ใช่แค่นั้น! background สามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้โคตรร เยอะ! (ผมก็รู้ไม่หมดเหมือนกัน หุหุ)
    มาดูกันเล้ย

    background-attachment
    background-position
    background-repeat

    3 อันนี้เป็นอันหลักที่อยากให้รู้
    background attachment คือการตั้งให้ล็อก/ไม่ล็อกบีจี เวลานำไปใช้ก็ประมาณนี้

    <style type="text/css">
    body {background: url(...); background-attachment: fixed;}
    </style>

    ครับ... ถ้าจะกำหนดให้ 1 Selector มีหลาย property ก็สามารถทำได้ โดยเว้น 1 ช่องแล้วพิมพ์ต่อ (จริงๆ ไม่ต้องเว้นก็ได้ แต่กันงง)

    value ของ background-attachment ตั้งได้ ได้แก่ fixed,scroll,inherit
    ผมไม่ค่อยทราบความต่างเท่าไหร่ fixed คือล็อกไว้กับที่ scroll คือเลื่อนตามสกอร์บาร์ ส่วน inherit น่าจะเป็น ไม่ตั้งค่า ครับ

    อันอื่นก็ทำนองเดียวกันครับ
    background-position ไว้สำหรับปรับตำแหน่งของ background
    มี 2 แนวคือแนวตั้งและแนวนอน อาจจะฟังงงๆ ขอให้อ่านไปก่อน งิงิ

    แนวตั้ง -- top คือ ติดด้านบน bottom คือ ติดด้านล่าง
    แนวนอน -- left คือ ติดด้านซ้าย right คือ ติดด้านขวา center คือ อยู่ตรงกลาง


    ปกติถ้าไม่ตั้งค่า ค่าจะมีเป็น top left นั่นคือติดมุมซ้ายบน
    แน่นอนว่าคุณงงจนถึงตอนนี้ ต่อไปคุณจะไม่งง
    เพราะนี่คือตัวอย่างการใช้ครับ

    <style type="text/css">
    body {background: url(...); background-position: top center;}
    </style>

    อันนี้คือจัดให้ติดด้านบนและอยู่ตรงกลาง
    ถ้าจะให้ติดบนแล้วอยู่ซ้าย top left; อยู่ขวา top right;
    ก็ใช้แนวๆ นี้แหละครับ
    แต่อันนี้จะไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ เพราะถ้าใช้ bg ใหญ่ๆ ตำแหน่งย่อมไม่เกี่ยวอยู่แล้ว
    (เพราะมันคับจอแล้ว เหอๆ)

    สุดท้ายคือ background-repeat คือการซ้ำของแบ็คกราวน์
    จะไม่มีผลเท่าไหร่ถ้าบีจีเต็มจอ
    มาดูดีกว่า ว่าใช้ value อะไรได้

    ที่ได้คือ repeat-x,repeat-y,repeat,no-repeat,inherit
    repeat-x คือซ้ำเฉพาะแนวนอน repeat-y คือซ้ำเฉพาะแนวตั้ง
    repeat คือซ้ำทั้งแนวตั้งแนวนอน no-repeat คือไม่ซ้ำเลย
    ส่วน inherit คือไม่กำหนดค่า

    ตัวอย่าง การใช้.

    <style type="text/css">
    body {background: url(...); background-repeat: no-repeat;}
    </style>

    พอก่อนนะครับ เหนื่อยพิมพ์ หาวว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×