Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์ - นิยาย Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์ : Dek-D.com - Writer
×

    Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์

    โดย Necrodarkman

    นานมาแล้วมีคำนายเก่าแก่ที่ไร้คนเชื่อถือ แต่ ณ บัดนี้ ทุกสิ่งกลับพลิกผันเป็นดั่งคำพยากรณ์นั่น ชะตากรรมของเด็กหนุ่มธรรมดาสามคนก็เปลี่ยนแปลงเกินกว่าใครจะคาดเดา...

    ผู้เข้าชมรวม

    8,185

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    17

    ผู้เข้าชมรวม


    8.18K

    ความคิดเห็น


    119

    คนติดตาม


    30
    จำนวนตอน : 24 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.ค. 54 / 11:24 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    หากยามใด ไฟสงคราม เริ่มมอดดับ
    เสียงสดับ ร่ำร้องเรียก พร่ำเพรียกหา

    ถึงบังลังก์ อาณาจักร ไร้ราชา

    ถึงเพลา ที่ข้า  พึงทำนาย

    อีกไม่นาน มหาศึก จะปะทุ

    ร้อนระอุ ยิ่งกว่าศึก ครั้งไหนไหน

    ไฟสงคราม จะแผดเผา ทุกชีพไป

    เพลิงจะไหม้ ไฟจะพราก สันติกาล

    ความทุกข์คืบ คลานเข้า คลุมทุกถิ่น

    ทุกแผ่นดิน จะระแหง แล้งยากไร้

    อชีวัน จะเข้าร่วม เติมเชื้อไฟ

    จนบรรลัย พินาศสิ้น ซึ่งแผ่นดิน

    หนทางรอด คงจะมี แต่เพียงหนึ่ง

    ประกอบซึ่ง คนต่างแดน ไตรนิสัย

    ต่างมีจิต อันพิสุทธิ์ สว่างไกร
    ใจแกร่งกล้า ประดุจดัง สิงห์ราชา

    ปัญญาเปรื่อง ดุจดังปราชญ์ นำวิถี

    คงจะมี แต่สิ่งนี้ ที่ช่วยไหว
    ช่วยชีวี ปวงชนชาติ ทุกชีวัน
    ฝืนลิขิต เปลี่ยนชะตา ฝ่าเคราะห์กรรม
    สู่ยุคธรรม ที่ไร้ซึ่ง สงครามเอย...
      คำทำนายเก่าแก่โบราณที่ไม่มีใครเคยเชื่อถือ บัดนี้ได้แล้วพิสูจน์แล้ว...

    ...........................

    ยินดีตอนรับนักอ่านทุกคนที่เข้ามานะครับ

    นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายเรื่องแรกของไรเตอร์

    ดังนั้นถ้าเห็นว่ายังมีข้อเสียตรงไหนก็อยากให้ช่วยแนะนำมาได้เลย

    หรือทักทายไรเตอร์สักเล็กน้อยก็ยังดี(ไรเตอร์ขี้เหงาครับ)

    นี้คือแบนเนอร์อันแรกของเรื่องครับ(คาดว่าจะมีอันต่อไป)
     
    แบนเนอร์ของเพื่อนๆ

    Curse you คำสาปร้าย คำสาปรักDC รับวิจารณ์นิยาย  จิ้ม ๆ รับทำโปสเตอร์กับอวาต้าร์

     เกียรติยศ  ความกล้า และศรัทธา

    Veronica X : สงครามนางฟ้าแวมไพร์เทพจุติ

     Theme
สวยๆนะคะ



    ~Black Scerecrow~

    แล้วจากนี้ไรเตอร์จะอัพStatusทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในบทความนี้
    11/5/53 Re-wri บทนำ,บทที่1,บทที่2
    13/5/53 Re-wri บทที่3,4และ5,ลงคำนำใหม่,เพิ่มบทที่ 13
    14/5/53 แก้ไขคำผิด Re-wri บทที่6และ7
    15/5/53 ลงTheme แก้ไขคำผิด Re-wri บทที่8และ9
    16/6/53 แก้คำโปรย แก้ไขคำผิดในหลายๆตอน
    29/5/53 ลงบทที่16
    สุดท้ายอยากจะบอกกับทุกคนว่า

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "รับวิจารณ์นิยายค่ะ"

    (แจ้งลบ)

    เราไม่ได้เป็นมืออาชีพดังนั้น การวิจารณ์ของเราจึงเป็นไปแบบเรียบง่ายนะคะ และขอบอกเอาไว้ก่อนว่า การวิจารณ์ไม่ใช่การว่า การด่า แต่เป็นการบอกข้อบกพร่องให้นำไปแก้ไข ซึ่งจะนำไปปรับปรุหรือไม่ก็แล้วแต่ค่ะ เท่าที่เราดูมากนะคะ เราจะเอาชื่อเรื่องก่อน ชื่อเรื่องดีค่ะ เป็นชื่อเรื่องแบบเริดหรูทีเดียว คือจะทำให้คนอ่านเกิดความอยากรู้ ว่ามันคืออะไร การตั ... อ่านเพิ่มเติม

    เราไม่ได้เป็นมืออาชีพดังนั้น การวิจารณ์ของเราจึงเป็นไปแบบเรียบง่ายนะคะ และขอบอกเอาไว้ก่อนว่า การวิจารณ์ไม่ใช่การว่า การด่า แต่เป็นการบอกข้อบกพร่องให้นำไปแก้ไข ซึ่งจะนำไปปรับปรุหรือไม่ก็แล้วแต่ค่ะ เท่าที่เราดูมากนะคะ เราจะเอาชื่อเรื่องก่อน ชื่อเรื่องดีค่ะ เป็นชื่อเรื่องแบบเริดหรูทีเดียว คือจะทำให้คนอ่านเกิดความอยากรู้ ว่ามันคืออะไร การตั้งชื่อเรื่องเป็นสิ่งสำคัญและอยากที่สุดในการแต่งจริงๆค่ะ ต่อไปเป็นแนะนำเรื่องแบบย่อๆ เป็นไปได้ดีค่ะ ทำให้ผู้นเกิดความอยากรู้ว่ามันจะเป็นยังไง จนต้องคลิกเข้ามาดู อ้อ ลืมบอกไปค่ะ อย่าลืมแก้ไขคำนะคะ ตรงบรรทัดแรกของแนะนำเรื่องย่อค่ะ ที่ว่า ผลัน ต้องเป็น ผัน อย่างเดียวนะคะ ต่อไปเป็นข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้ค่ะ จะมีน้อยคนนักที่จะนำพาเอากลอนมาใช้บอกเรื่องราวย่อๆ หรือเรื่องราวนิดให้สื่อออกมาเป็นรูปแบบของกลอน ดังนั้นเราว่าคุณแหวกแนวมากค่ะ แต่น่าจะมีคาแรกเตอร์เนื้อหาอีกสักหน่อยจะดีมากค่ะ ต่อไปนะคะเป็นเรื่องของแผ่นป้ายที่ว่า อย่าทำตัวเป็นนักอ่านเงาค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นไรเตอร์ด้วยกันเอง แล้วก็อยากจะได้เม้นเช่นกันก็ตาม คนที่เป็นนักอ่านคงจะไม่ค่อยพอใจแน่ๆที่คุณลงป้ายข้อความแบบนี้ เพราะมีหลายเรื่องแล้ว ที่นักอ่านมาเขียนว่า ว่าทำไมต้องเขียนแบบบังคับด้วย ดังนั้นอาจทำให้นักอ่านเกิดความหงุดหงิด หรือเกิดความไม่พึงพอใจก็ได้ ควรจะเปลี่ยนเป็นว่า เม้นบอกนิดๆว่าเรื่องนี้เป็นยังไง แบบนี้เราว่านักอ่านจะพอรับได้หน่อยนะคะ เราไม่ได้เข้าข้างใคร แต่นี่มาจากเรื่องจริงที่เราเคยเห็นมาเยอะแล้วจริงๆค่ะ ต่อไปนะคะเป็นเรื่องของชื่อตอนค่ะ การที่มีชื่อตอนเป็นภาษาอังกฤษก็ถือเป็นการแหวกแนวอีกแบบนึงนะคะ เพราะส่วนใหญ่ทุกๆคนจะใช้เป็นภาษาไทยกัน ส่วนตรงนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียค่ะ ข้อดีเช่น นักอ่านบางคนถ้าไม่รู้คำแปล อาจจะอยากรู้ว่าเป็นยังไง จึงเข้ามาดู ส่วนข้อเสีย นักอ่านอาจจะไม่ชอบแบบนี้ แล้วไม่อยากคลิกเข้ามาอ่าน เพราะไม่รู้ว่าเป็นยังไง บางคนขี้เกียจเข้ามาดูก็มีค่ะ ต่อไปเป็นเรื่องของบทนำ ความยาวจะมีสั้นยาวยังไง นักอ่านสนใจตรงบทนำมากที่สุด ส่วนน้อยเท่านั้นที่จะคำนึงถึงความยาว ดังนั้นบทนำที่อาจจะสั้นไปนิดของคุณเราจะวิจารณ์นะคะ แต่การเปิดเรื่องของคุณจะดูน่าเบื่อไปสักนิดค่ะ คือเราว่าเข้าเนื้อหาอีกสักนิดจะดีค่ะ ลองแก้ไขดูอีกสักหน่อยนะคะ เราว่าจะดีมากเลยทีเดียวค่ะ สรุปสุดท้ายเลยนะคะ เราว่าอยู่ในระดับกลางเกือบๆจะดีมากๆอยู่แล้ว ลองแก้ไขดูอีกสักนิดนะคะ แล้วเรื่องของคุณจะโดดเด่นทีเดียวค่ะ ขอขอบคุณที่ให้โอกาสนักวิจารณ์หน้าใหม่ได้จ้า อ้อ ช่วยเข้าไปเม้นบอกด้วยนะคะ ว่าเราวิจารณ์เป็นยังไง ต้องบอกนคะ อันนี้ขอบังคับ หุหุห ขอบคุณมากค่ะ   อ่านน้อยลง

    เจนแจน | 28 พ.ค. 53

    • 18

    • 1

    "บทวิจารณ์ Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์"

    (แจ้งลบ)

    Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์ ของ Necrodarkman มีแนวโน้มว่าจะเป็นนิยายแฟนตาซีเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 19 แล้ว แต่เรื่องก็ยังอยู่เพียงแค่ช่วงต้นเรื่องเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของไฟสงครามครั้งใหญ่ซึ่งจะรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากทุกเผ่าพันธุ์ที่อาศัยในอิวาลิซ (น่าจะเป็น อิวาลิส) (Evalis) โลกแห่งเวทมน ... อ่านเพิ่มเติม

    Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์ ของ Necrodarkman มีแนวโน้มว่าจะเป็นนิยายแฟนตาซีเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 19 แล้ว แต่เรื่องก็ยังอยู่เพียงแค่ช่วงต้นเรื่องเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของไฟสงครามครั้งใหญ่ซึ่งจะรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากทุกเผ่าพันธุ์ที่อาศัยในอิวาลิซ (น่าจะเป็น อิวาลิส) (Evalis) โลกแห่งเวทมนตร์และพลังเหนือธรรมชาติ จะเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย หนทางเดียวที่จะยุติสงครามครั้งนี้ได้ก็ต้องอาศัยคนต่างแดนที่มีความกล้าเพื่อมาหยุดยั้งหายนะในครั้งนี้ได้ นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้ไม่แตกต่างเรื่องอื่นเท่าใดนัก โดยเฉพาะการแนะนำเรื่องด้วยคำพยากรณ์ เพราะในปัจจุบันคำพยากรณ์หรือคำทำนายดูจะกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของนิยายแนวนี้ไปแล้ว ผู้วิจารณ์เห็นว่าการเปิดเรื่องด้วยคำพยากรณ์เช่นนี้จะกุมใจผู้อ่านก็ต่อเมื่อคำพยากรณ์นั้นมีพลังของภาษาวรรณศิลป์ที่เข้มข้น ขณะเดียวกันก็มีเรื่องราวที่น่าติดตาม แต่คำพยากรณ์ในเรื่องนี้ยังขาดความโดดเด่นทางวรรณศิลป์ที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้อ่าน เนื่องจากผู้แต่งยังขาดความจัดเจนในการเขียนกวีนิพนธ์ จึงมีการเลือกใช้คำผิดพลาด เพราะมีหลายวรรคที่ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค และสัมผัสระหว่างบทที่ผิดเกือบทั้งหมด เช่น คำว่า “กาล” ก็ไม่สามารถส่งสัมผัสกับคำว่า “ไว้” หรือ คำว่า “แผ่นดิน” ก็ไม่สามารถส่งสัมผัสกับคำว่า “นิสัย” ได้ เช่นเดียวกับคำว่า “ราชา” ไม่สามารถส่งสัมผัสกับคำว่า “ไหว” ในบทต่อไปได้ ความผิดพลาดเช่นนี้ลดทอนอรรถรสของบทประพันธ์ไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำพยากรณ์ชิ้นนี้ประกอบด้วยกลอนสุภาพ 5 บท กับ 1 วรรค ซึ่งโดยกฎการประพันธ์ที่ถูกต้องนั้น ผู้แต่งต้องแต่งให้จบบท และไม่มีการแต่งโดยปล่อยให้มีวรรคเกินมา 1 วรรค เช่นนี้เด็ดขาด ผู้แต่งจึงควรจะตรวจสอบความถูกต้องของฉันทลักษณ์หรือแบบแผนในการประพันธ์อีกครั้ง ก็จะช่วยแก้ความผิดพลาดในประเด็นนี้ได้ ส่วนเรื่องราวที่ผู้แต่งสอดแทรกไว้ในคำทำนายนั้น นับว่าสารสื่อความได้อย่างชัดเจน และกระตุ้นความสนใจผู้อ่านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคำพยากรณ์เก่าแก่นี้ไม่เพียงแต่ทำนายอนาคตของอิวาลิซเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนการบอกผู้อ่านให้ทราบ เค้าโครงเรื่องโดยย่อไปพร้อมกันด้วย โดยระบุว่าสงครามที่จะกิดขึ้นต่อไปนั้นจะนำความหายนะครั้งใหญ่มาสู่อิวาลิซ และทางรอดเดียวที่จะทำได้คือต้องค้นหาผู้กล้าในคำทำนายมาเพื่อจะมาหยุดยั้งสงครามครั้งนี้ และในคำพยากรณ์ก็อำนวยความสะดวกด้วยการระบุทั้งลักษณะนิสัยและที่มาของวีรบุรุษดังกล่าวไว้ว่า หนทางรอด คงจะมี แต่เพียงหนึ่ง ประกอบซึ่ง คนต่างแดน ไตรนิสัย ต่างมีจิต อันพิสุทธิ์ สว่างไกร ใจแกร่งกล้า ประดุจดัง สิงห์ราชา ปัญญาเปรื่อง ดุจดังปราชญ์ นำวิถี เป็นน่าเสียดายที่ว่าเมื่อเปิดเรื่องได้เพียง 3 บท ผู้แต่งก็สร้างคำทำนายโบราณเฉพาะของอาณาจักรอิสฮานขึ้นมาอีกชิ้น โดยระบุว่า “กลียุคจะเข้าครอบงำทวีปออร์เนีย หนทางที่จะหยุดยั้งหายนะนี้ลงได้ นั่นคือการรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวด้วยน้ำมือของผู้มีหัวใจกล้าหาญดังสิงห์ (Coeur de Lion)” จะเห็นว่าผู้ที่หยุดยั้งสงครามในคำทำนายครั้งนี้ ได้ลดคุณสมบัติจากคำพยากรณ์เดิมที่มีถึง 3 ข้อ คือ มีจิตพิสุทธิ์ มีใจแกร่งกล้า และมีปัญญาปราดเปรื่อง เหลือเพียงข้อเดียวคือมีใจกล้าหาญเท่านั้น อีกทั้งไม่ได้ระบุว่าผู้ที่จะมาหยุดยั้งสงครามครั้งนี้จะต้องเป็นคนต่างแดนด้วย ผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้แต่งน่าจะใช้คำพยากรณ์เก่าแก่เพียงชิ้นเดียวก็พอแล้ว เพราะคำพยากรณ์นั้นระบุคุณสมบัติของผู้หยุดยั้งสงครามครั้งนี้ชัดเจนกว่าคำทำนายชิ้นที่สอง และบุคคลที่ราชินีอิสฮานนำกลับมายังอิวาลิซก็มีคุณสมบัติตรงกับคำพยากรณ์เก่าแก่ของ อิวาลิซมากกว่าคำพยากรณ์เฉพาะของอาณาจักรอิสฮานเอง เพราะราชินีอิสฮานนำ ธัน เอ็ม และไท ซึ่งเป็นคนต่างแดนที่มีคุณสมบัติครบทั้งสามประการตามที่ระบุไว้ จากการที่ผู้แต่งสร้างให้วีรบุรุษจากต่างแดนเป็นคนไทยนั้น อาจเป็นเพราะต้องการจะสอดแทรกความเป็นไทยไว้ในนิยายแฟนตาซีของ ผู้วิจารณ์เห็นว่าการเลือกให้ตัวละครจากต่างแดนเป็นคนไทยนั้นกลับสร้างความขัดแย้งให้กับเรื่อง มากกว่าที่จะสร้างดินแดนสมมุติอื่น ให้เป็นบ้านเกิดของตัวละครเอกกลุ่มนี้ เนื่องจากความโดดเด่นของการใข้พลังเวทมนตร์และพลังจิตของตัวละครเองเหล่านี้ขัดแย้งกับความเป็นจริงที่รับรู้กันเป็นอย่างดี เพราะดูประหนึ่งว่าคนไทยส่วนใหญ่มีพลังจิตและพลังเวทมนตร์เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต จนเมื่อมีเหตุให้ต้องข้ามมิติไปอยู่ในดินแดนอื่นพลังเหล่านี้ก็ติดตัวไปได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฝนและเรียนรู้การใช้พลังเท่าใดนักก็สามารถทำได้ อีกทั้งพลังของธันและเอ็มนับว่าเป็นพลังที่หายากมาก แม้ในอิวาลิซอันเป็นโลกแห่งเวทมนตร์และพลังเหนือธรรมชาติก็ตาม ขณะเดียวกันเมื่อธัน ไท และเอ็มได้ใช้ชีวิตอยู่ในอิวาลิซแล้ว พวกเขาทั้งสามไม่มีส่วนใดที่แสดงความเป็นไทย หรือไม่ต้องอาศัยความเป็นคนไทยเพื่อให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ในดินแดนใหม่แห่งนี้อีกเลย แม้ว่าโครงเรื่องหลัก (Plot) นั้น ผู้แต่งจะระบุว่าเป็นเรื่องของสงครามที่ตัวละครเอกต่างแดนเหล่านี้จะมาเป็นผู้หยุดยั้ง แต่ทว่าเรื่องราวของสงครามกลับมีให้เห็นเพียง 3 ตอนเท่านั้น ซึ่งเป็นสงครามระหว่างจักรพรรดิเนเบียสแห่งจักรวรรดิอาร์เคเดีย กับราชาเร็กซ์แห่งอาณาจักรอิสฮาน ที่เกิดขึ้นเฉพาะในออร์เกีย ที่เป็นเพียงทวีปหนึ่งในสามทวีปของอิวาลิซเท่านั้น หลังจากนั้นเรื่องกลับเปลี่ยนแนวไปสู่โรงเรียนเวทมนตร์แทน โดยให้กลุ่มตัวละครเอกและพวกพ้องพยายามเข้าทดสอบเพื่อเข้าเรียนที่สถาบันโรส หากเดาไม่ผิดเรื่องจะกลับมาสู่โครงเรื่องหลักอีกครั้งหลังจากที่กลุ่มตัวละครเหล่านี้เข้าเรียนที่สถาบันโรสแล้ว เนื่องจากผู้แต่งปูเรื่องไว้ว่าสงครามครั้งใหญ่จะปะทุหลังจากนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ในขณะที่เล่าถึงเรื่องราวของการเข้าทดสอบที่สถาบันโรสก็ดูเหมือนว่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับสงครามก็จะหายไป ราวกับว่าขณะนี้แผ่นดินสงบปราศจากสงคราม ทั้งๆในความเป็นจริงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะจากที่สังเกตจากอุปนิสัยของจักรพรรดิเนเบียสที่ต้องการปกครองครองทวีปออร์ก้าทั้งหมดเพียงลำพังก็ไม่น่ายุติสงครามลงโดยสิ้นเชิงเช่นนี้ เพราะหลังจากที่สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรอิสฮานได้แล้ว ก็เหลือเพียงดินแดนของนครมิรินลัสเท่านั้นที่ยังยึดครองไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงน่าจะยังคงมีสงครามต่อไปโดยอาศัยอาณาจักรอิสฮานเป็นดินแดนสะสมกำลังไปโจมตีนครมิรินลัสตามที่วางแผนไว้ ผู้วิจารณ์เห็นว่าการนำโครงเรื่องใหญ่ 2 เรื่องซึ่งต่างก็มีรายละเอียดจำนวนมากมาผสานไว้เป็นเรื่องเดียวนั้น ทำให้องค์รวมของเรื่องอ่อนลง แม้ว่าผู้แต่งจะมีความสามารถสร้างเรื่องราวได้อย่างน่าตื่นเต้น ทั้งในส่วนของสงครามและการทดสอบเข้าสถาบันโรสก็ตาม แต่ผู้แต่งแสดงให้เห็นว่าสนุกกับโครงเรื่องของโรงเรียนเวทมนตร์มากกว่า จึงทำให้เรื่องเปลี่ยนจุดเน้น จนทำให้โครงเรื่องหลักที่ตั้งไว้แต่เดิมพร่าเลือนไป เพราะไม่มีการกล่าวถึงสงครามอีกเลยนับตั้งแต่บทที่ 5 เป็นต้นมา ปัญหานี้อาจแก้ด้วยการแยกเรื่องออกมาเป็นภาคอย่างชัดเจน เช่นตอนนี้อาจจะใช้ชื่อว่ากำเนิดผู้กล้าจากต่างแดนหรืออะไรก็ได้เพื่อเล่าเรื่องราวและภูมิหลังของตัวละครเอกกลุ่มนี้ และใช้โครงเรื่องหลักเป็นโรงเรียนเวทมนตร์ จากนั้นก็ค่อยกลับไปยังโครงเรื่องสงครามครั้งใหญ่ของอิวาลิซในภาคมหาสงคราม ก็จะช่วยให้เรื่องมีเอกภาพมากขึ้น มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่ง เกี่ยวกับการทำสงครามระหว่างระหว่างจักรพรรดิเนเบียส แห่งจักรวรรดิอาร์เคเดียกับราชาเร็กซ์แห่งอาณาจักรอิสฮาน แม้ว่าจะเป็นที่คาดเดาได้อยู่แล้ว ว่าอิสฮานจะต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เพราะเป็นประเทศที่เล็กกว่า มีทหารน้อยกว่า มีอาวุธที่ด้อยประสิทธิภาพมากกว่า และแม้แต่ราชาก็ขาดประสบการณ์ในการรบ แต่เหตุใดเมื่อราชาเร็กซ์ถูกสังหาร ไม่มีผู้ใดลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินอีกครั้ง จนยอมกลายเป็นเมือขึ้นของจักรพรรดิเนเบียสเลยหรือ แม้แต่ราชาฟิเดอลิซที่ 4 แห่งอิสฮานผู้มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน และเป็นที่คร้ามเกรงของจักรพรรดิเนเบียสที่ต้องรั้งรอ ไม่กล้าบุกอิสฮาน จนกระทั่งพระองค์จะสละราชสมบัติ ในเมื่อพระองค์เพียงสละราชบัลลังก์ให้ราชาเร็กซ์ลูกชายเท่านั้น จึงไม่แปลกหากพระองค์จะกลับมานำทัพอีกครั้ง หลังจากที่ราชาเร็กซ์สิ้นพระชนม์ ดังนั้น หากผู้แต่งต้องการตัดบทบาทของราชาฟิเดอลิซที่ 4 ออกอย่างที่กระทำอยู่ ก็น่าจะให้พระองค์สิ้นพระชนม์จนเป็นเหตุให้เร็กซ์ขึ้นเป็นราชาแทน ก็จะสมเหตุผลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างเหตุกาณ์ที่มีความสมจริง จนไม่เกิดข้อกังขาในประเด็นนี้อีก ความโดดเด่นชัดเจนที่พบในเรื่อง คือตัวละคร ผู้แต่งสามารถสร้างตัวละครให้มีบุคลิกลักษณะ และอุปนิสัยเฉพาะตัวได้อย่างโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มตัวละครเอกทั้ง 3 ที่ต่างก็มีลักษณะนิสัยและบุคลิกที่ต่างกันออกไป นับตั้งแต่ธันที่เป็นหนุ่มขี้เล่น ฉลาดและรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ หรือ ไท ชายหนุ่มแสนสุภาพและสุขุม นอกจากนี้ยังมีตัวละครแปลกๆที่เป็นเผ่าพันธุ์อื่นที่ผู้แต่งสร้างขึ้นโดยอาศัยจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็น เผ่าวิเอร่า รูปร่าสูงโปร่ง มีหูคล้ายกระต่าย แต่มีจมูกกับปากคล้ายคน และมีผิวขาวสะอาด หรือ เผ่ามูเกิ้ล จะมีรูปร่างคล้ายกระต่ายยืนสองขา มีปีกสีแดงสดที่ยื่นออกมาจากหลังคล้ายค้างคาวและมีขนเป็นสีครีมทั้งตัว เผ่าบังก้าที่ดูจะคล้ายกิ้งก่า หรือเผ่าพิคคูร่าที่มีวิวัฒนาการมาจากหมู จึงมีความคล้ายคลึงกับหมูมาก นอกจากนี้ ผู้แต่งยังมีความสามารถในการบรรยายและการพรรณนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรยายฉากต่อสู้ได้อย่างชัดเจน จนสามารถเห็นภาพการต่อสู้ตามที่ผู้แต่งบรรยายได้ แม้ว่าผู้อ่านจะไม่เคยรู้จักพลังเวทมนตร์ต่างๆที่ตัวละครใช้มาก่อนเลยก็ตาม เช่นเดียวกันการบรรยายฉากและบรรยากาศก็สามารถทำได้อย่างดี การบรรยายของผู้แต่งจึงช่วยสร้างภาพของโลกอิวาลิซให้ผู้อ่านไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากโลกอิวาลิซนั้นแตกต่างจากโลกมนุษย์อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีกลวิธีสำคัญที่ผู้แต่งเลือกใช้เพื่อใช้กระตุ้นเร้าความสนใจผู้อ่านให้อยากทราบเรื่องราวตอนต่อไป ด้วยการทิ้งท้ายก่อนจบตอนไว้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำนายอนาคต (foreshadow) ว่าเหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร เช่นในบทนำจบเรื่องไว้ว่า “5 ปีจากนี้ ทุกคนทิ้งสันติเป็นอดีต…” การทิ้งค้างเรื่องราวขณะที่ตื่นเต้นสูงสุดไว้ เช่น การหายตัวไปต่อหน้าต่อตาของราชินีซินเทีย ราชินีม่ายแห่งอาณาจักรอิสฮาน ขณะที่กำลังอ่านคำทำนายโบราณ หรือการทิ้งค้างผลการต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่างเรเดลกับไทไว้ ในตอนที่ 19 นับว่าเป็นความชาญฉลาดที่ผู้แต่งเลือกใช้กลวิธีนี้ในการสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่อง และผู้แต่งก็สามารถทำได้เป็นอย่างดี ในเรื่องคำผิดนั้นมีให้เห็นประปราย เช่น เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทมนต์ บัลลังก์ เขียนเป็น บัลลังค์ อานุภาพ เขียนเป็น อณุภาพ รัตติกาล เขียนเป็น รัลติกาล ปริมาณ เขียนเป็น ปริมาน ปรโลก เขียนว่า ปรกโลก หมดจด เขียนเป็น หมดจรด สารบบ เขียนเป็น สาระบบ แป๊บ เขียนเป็น แป๊ป นิรันดร์ เขียนเป็น นิรัดน์ โป่งพอง เขียนเป็น โปร่งพอง โบราน เขียนเป็น โบราณ เวท เขียนเป็น เวทย์ และเขียนสลับกันระหว่างคำว่า นั่น กับ นั้น --------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 10 มิ.ย. 53

    • 15

    • 1

    ดูทั้งหมด

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์"

    (แจ้งลบ)

    Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์ ของ Necrodarkman มีแนวโน้มว่าจะเป็นนิยายแฟนตาซีเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 19 แล้ว แต่เรื่องก็ยังอยู่เพียงแค่ช่วงต้นเรื่องเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของไฟสงครามครั้งใหญ่ซึ่งจะรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากทุกเผ่าพันธุ์ที่อาศัยในอิวาลิซ (น่าจะเป็น อิวาลิส) (Evalis) โลกแห่งเวทมน ... อ่านเพิ่มเติม

    Evalis ดวงดาวแห่งราชันย์ ของ Necrodarkman มีแนวโน้มว่าจะเป็นนิยายแฟนตาซีเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 19 แล้ว แต่เรื่องก็ยังอยู่เพียงแค่ช่วงต้นเรื่องเท่านั้น นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของไฟสงครามครั้งใหญ่ซึ่งจะรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากทุกเผ่าพันธุ์ที่อาศัยในอิวาลิซ (น่าจะเป็น อิวาลิส) (Evalis) โลกแห่งเวทมนตร์และพลังเหนือธรรมชาติ จะเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย หนทางเดียวที่จะยุติสงครามครั้งนี้ได้ก็ต้องอาศัยคนต่างแดนที่มีความกล้าเพื่อมาหยุดยั้งหายนะในครั้งนี้ได้ นิยายแฟนตาซีเรื่องนี้ไม่แตกต่างเรื่องอื่นเท่าใดนัก โดยเฉพาะการแนะนำเรื่องด้วยคำพยากรณ์ เพราะในปัจจุบันคำพยากรณ์หรือคำทำนายดูจะกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของนิยายแนวนี้ไปแล้ว ผู้วิจารณ์เห็นว่าการเปิดเรื่องด้วยคำพยากรณ์เช่นนี้จะกุมใจผู้อ่านก็ต่อเมื่อคำพยากรณ์นั้นมีพลังของภาษาวรรณศิลป์ที่เข้มข้น ขณะเดียวกันก็มีเรื่องราวที่น่าติดตาม แต่คำพยากรณ์ในเรื่องนี้ยังขาดความโดดเด่นทางวรรณศิลป์ที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้อ่าน เนื่องจากผู้แต่งยังขาดความจัดเจนในการเขียนกวีนิพนธ์ จึงมีการเลือกใช้คำผิดพลาด เพราะมีหลายวรรคที่ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค และสัมผัสระหว่างบทที่ผิดเกือบทั้งหมด เช่น คำว่า “กาล” ก็ไม่สามารถส่งสัมผัสกับคำว่า “ไว้” หรือ คำว่า “แผ่นดิน” ก็ไม่สามารถส่งสัมผัสกับคำว่า “นิสัย” ได้ เช่นเดียวกับคำว่า “ราชา” ไม่สามารถส่งสัมผัสกับคำว่า “ไหว” ในบทต่อไปได้ ความผิดพลาดเช่นนี้ลดทอนอรรถรสของบทประพันธ์ไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำพยากรณ์ชิ้นนี้ประกอบด้วยกลอนสุภาพ 5 บท กับ 1 วรรค ซึ่งโดยกฎการประพันธ์ที่ถูกต้องนั้น ผู้แต่งต้องแต่งให้จบบท และไม่มีการแต่งโดยปล่อยให้มีวรรคเกินมา 1 วรรค เช่นนี้เด็ดขาด ผู้แต่งจึงควรจะตรวจสอบความถูกต้องของฉันทลักษณ์หรือแบบแผนในการประพันธ์อีกครั้ง ก็จะช่วยแก้ความผิดพลาดในประเด็นนี้ได้ ส่วนเรื่องราวที่ผู้แต่งสอดแทรกไว้ในคำทำนายนั้น นับว่าสารสื่อความได้อย่างชัดเจน และกระตุ้นความสนใจผู้อ่านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคำพยากรณ์เก่าแก่นี้ไม่เพียงแต่ทำนายอนาคตของอิวาลิซเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนการบอกผู้อ่านให้ทราบ เค้าโครงเรื่องโดยย่อไปพร้อมกันด้วย โดยระบุว่าสงครามที่จะกิดขึ้นต่อไปนั้นจะนำความหายนะครั้งใหญ่มาสู่อิวาลิซ และทางรอดเดียวที่จะทำได้คือต้องค้นหาผู้กล้าในคำทำนายมาเพื่อจะมาหยุดยั้งสงครามครั้งนี้ และในคำพยากรณ์ก็อำนวยความสะดวกด้วยการระบุทั้งลักษณะนิสัยและที่มาของวีรบุรุษดังกล่าวไว้ว่า หนทางรอด คงจะมี แต่เพียงหนึ่ง ประกอบซึ่ง คนต่างแดน ไตรนิสัย ต่างมีจิต อันพิสุทธิ์ สว่างไกร ใจแกร่งกล้า ประดุจดัง สิงห์ราชา ปัญญาเปรื่อง ดุจดังปราชญ์ นำวิถี เป็นน่าเสียดายที่ว่าเมื่อเปิดเรื่องได้เพียง 3 บท ผู้แต่งก็สร้างคำทำนายโบราณเฉพาะของอาณาจักรอิสฮานขึ้นมาอีกชิ้น โดยระบุว่า “กลียุคจะเข้าครอบงำทวีปออร์เนีย หนทางที่จะหยุดยั้งหายนะนี้ลงได้ นั่นคือการรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวด้วยน้ำมือของผู้มีหัวใจกล้าหาญดังสิงห์ (Coeur de Lion)” จะเห็นว่าผู้ที่หยุดยั้งสงครามในคำทำนายครั้งนี้ ได้ลดคุณสมบัติจากคำพยากรณ์เดิมที่มีถึง 3 ข้อ คือ มีจิตพิสุทธิ์ มีใจแกร่งกล้า และมีปัญญาปราดเปรื่อง เหลือเพียงข้อเดียวคือมีใจกล้าหาญเท่านั้น อีกทั้งไม่ได้ระบุว่าผู้ที่จะมาหยุดยั้งสงครามครั้งนี้จะต้องเป็นคนต่างแดนด้วย ผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้แต่งน่าจะใช้คำพยากรณ์เก่าแก่เพียงชิ้นเดียวก็พอแล้ว เพราะคำพยากรณ์นั้นระบุคุณสมบัติของผู้หยุดยั้งสงครามครั้งนี้ชัดเจนกว่าคำทำนายชิ้นที่สอง และบุคคลที่ราชินีอิสฮานนำกลับมายังอิวาลิซก็มีคุณสมบัติตรงกับคำพยากรณ์เก่าแก่ของ อิวาลิซมากกว่าคำพยากรณ์เฉพาะของอาณาจักรอิสฮานเอง เพราะราชินีอิสฮานนำ ธัน เอ็ม และไท ซึ่งเป็นคนต่างแดนที่มีคุณสมบัติครบทั้งสามประการตามที่ระบุไว้ จากการที่ผู้แต่งสร้างให้วีรบุรุษจากต่างแดนเป็นคนไทยนั้น อาจเป็นเพราะต้องการจะสอดแทรกความเป็นไทยไว้ในนิยายแฟนตาซีของ ผู้วิจารณ์เห็นว่าการเลือกให้ตัวละครจากต่างแดนเป็นคนไทยนั้นกลับสร้างความขัดแย้งให้กับเรื่อง มากกว่าที่จะสร้างดินแดนสมมุติอื่น ให้เป็นบ้านเกิดของตัวละครเอกกลุ่มนี้ เนื่องจากความโดดเด่นของการใข้พลังเวทมนตร์และพลังจิตของตัวละครเองเหล่านี้ขัดแย้งกับความเป็นจริงที่รับรู้กันเป็นอย่างดี เพราะดูประหนึ่งว่าคนไทยส่วนใหญ่มีพลังจิตและพลังเวทมนตร์เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต จนเมื่อมีเหตุให้ต้องข้ามมิติไปอยู่ในดินแดนอื่นพลังเหล่านี้ก็ติดตัวไปได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฝนและเรียนรู้การใช้พลังเท่าใดนักก็สามารถทำได้ อีกทั้งพลังของธันและเอ็มนับว่าเป็นพลังที่หายากมาก แม้ในอิวาลิซอันเป็นโลกแห่งเวทมนตร์และพลังเหนือธรรมชาติก็ตาม ขณะเดียวกันเมื่อธัน ไท และเอ็มได้ใช้ชีวิตอยู่ในอิวาลิซแล้ว พวกเขาทั้งสามไม่มีส่วนใดที่แสดงความเป็นไทย หรือไม่ต้องอาศัยความเป็นคนไทยเพื่อให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ในดินแดนใหม่แห่งนี้อีกเลย แม้ว่าโครงเรื่องหลัก (Plot) นั้น ผู้แต่งจะระบุว่าเป็นเรื่องของสงครามที่ตัวละครเอกต่างแดนเหล่านี้จะมาเป็นผู้หยุดยั้ง แต่ทว่าเรื่องราวของสงครามกลับมีให้เห็นเพียง 3 ตอนเท่านั้น ซึ่งเป็นสงครามระหว่างจักรพรรดิเนเบียสแห่งจักรวรรดิอาร์เคเดีย กับราชาเร็กซ์แห่งอาณาจักรอิสฮาน ที่เกิดขึ้นเฉพาะในออร์เกีย ที่เป็นเพียงทวีปหนึ่งในสามทวีปของอิวาลิซเท่านั้น หลังจากนั้นเรื่องกลับเปลี่ยนแนวไปสู่โรงเรียนเวทมนตร์แทน โดยให้กลุ่มตัวละครเอกและพวกพ้องพยายามเข้าทดสอบเพื่อเข้าเรียนที่สถาบันโรส หากเดาไม่ผิดเรื่องจะกลับมาสู่โครงเรื่องหลักอีกครั้งหลังจากที่กลุ่มตัวละครเหล่านี้เข้าเรียนที่สถาบันโรสแล้ว เนื่องจากผู้แต่งปูเรื่องไว้ว่าสงครามครั้งใหญ่จะปะทุหลังจากนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ในขณะที่เล่าถึงเรื่องราวของการเข้าทดสอบที่สถาบันโรสก็ดูเหมือนว่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับสงครามก็จะหายไป ราวกับว่าขณะนี้แผ่นดินสงบปราศจากสงคราม ทั้งๆในความเป็นจริงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะจากที่สังเกตจากอุปนิสัยของจักรพรรดิเนเบียสที่ต้องการปกครองครองทวีปออร์ก้าทั้งหมดเพียงลำพังก็ไม่น่ายุติสงครามลงโดยสิ้นเชิงเช่นนี้ เพราะหลังจากที่สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรอิสฮานได้แล้ว ก็เหลือเพียงดินแดนของนครมิรินลัสเท่านั้นที่ยังยึดครองไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงน่าจะยังคงมีสงครามต่อไปโดยอาศัยอาณาจักรอิสฮานเป็นดินแดนสะสมกำลังไปโจมตีนครมิรินลัสตามที่วางแผนไว้ ผู้วิจารณ์เห็นว่าการนำโครงเรื่องใหญ่ 2 เรื่องซึ่งต่างก็มีรายละเอียดจำนวนมากมาผสานไว้เป็นเรื่องเดียวนั้น ทำให้องค์รวมของเรื่องอ่อนลง แม้ว่าผู้แต่งจะมีความสามารถสร้างเรื่องราวได้อย่างน่าตื่นเต้น ทั้งในส่วนของสงครามและการทดสอบเข้าสถาบันโรสก็ตาม แต่ผู้แต่งแสดงให้เห็นว่าสนุกกับโครงเรื่องของโรงเรียนเวทมนตร์มากกว่า จึงทำให้เรื่องเปลี่ยนจุดเน้น จนทำให้โครงเรื่องหลักที่ตั้งไว้แต่เดิมพร่าเลือนไป เพราะไม่มีการกล่าวถึงสงครามอีกเลยนับตั้งแต่บทที่ 5 เป็นต้นมา ปัญหานี้อาจแก้ด้วยการแยกเรื่องออกมาเป็นภาคอย่างชัดเจน เช่นตอนนี้อาจจะใช้ชื่อว่ากำเนิดผู้กล้าจากต่างแดนหรืออะไรก็ได้เพื่อเล่าเรื่องราวและภูมิหลังของตัวละครเอกกลุ่มนี้ และใช้โครงเรื่องหลักเป็นโรงเรียนเวทมนตร์ จากนั้นก็ค่อยกลับไปยังโครงเรื่องสงครามครั้งใหญ่ของอิวาลิซในภาคมหาสงคราม ก็จะช่วยให้เรื่องมีเอกภาพมากขึ้น มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่ง เกี่ยวกับการทำสงครามระหว่างระหว่างจักรพรรดิเนเบียส แห่งจักรวรรดิอาร์เคเดียกับราชาเร็กซ์แห่งอาณาจักรอิสฮาน แม้ว่าจะเป็นที่คาดเดาได้อยู่แล้ว ว่าอิสฮานจะต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เพราะเป็นประเทศที่เล็กกว่า มีทหารน้อยกว่า มีอาวุธที่ด้อยประสิทธิภาพมากกว่า และแม้แต่ราชาก็ขาดประสบการณ์ในการรบ แต่เหตุใดเมื่อราชาเร็กซ์ถูกสังหาร ไม่มีผู้ใดลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินอีกครั้ง จนยอมกลายเป็นเมือขึ้นของจักรพรรดิเนเบียสเลยหรือ แม้แต่ราชาฟิเดอลิซที่ 4 แห่งอิสฮานผู้มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน และเป็นที่คร้ามเกรงของจักรพรรดิเนเบียสที่ต้องรั้งรอ ไม่กล้าบุกอิสฮาน จนกระทั่งพระองค์จะสละราชสมบัติ ในเมื่อพระองค์เพียงสละราชบัลลังก์ให้ราชาเร็กซ์ลูกชายเท่านั้น จึงไม่แปลกหากพระองค์จะกลับมานำทัพอีกครั้ง หลังจากที่ราชาเร็กซ์สิ้นพระชนม์ ดังนั้น หากผู้แต่งต้องการตัดบทบาทของราชาฟิเดอลิซที่ 4 ออกอย่างที่กระทำอยู่ ก็น่าจะให้พระองค์สิ้นพระชนม์จนเป็นเหตุให้เร็กซ์ขึ้นเป็นราชาแทน ก็จะสมเหตุผลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างเหตุกาณ์ที่มีความสมจริง จนไม่เกิดข้อกังขาในประเด็นนี้อีก ความโดดเด่นชัดเจนที่พบในเรื่อง คือตัวละคร ผู้แต่งสามารถสร้างตัวละครให้มีบุคลิกลักษณะ และอุปนิสัยเฉพาะตัวได้อย่างโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มตัวละครเอกทั้ง 3 ที่ต่างก็มีลักษณะนิสัยและบุคลิกที่ต่างกันออกไป นับตั้งแต่ธันที่เป็นหนุ่มขี้เล่น ฉลาดและรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ หรือ ไท ชายหนุ่มแสนสุภาพและสุขุม นอกจากนี้ยังมีตัวละครแปลกๆที่เป็นเผ่าพันธุ์อื่นที่ผู้แต่งสร้างขึ้นโดยอาศัยจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็น เผ่าวิเอร่า รูปร่าสูงโปร่ง มีหูคล้ายกระต่าย แต่มีจมูกกับปากคล้ายคน และมีผิวขาวสะอาด หรือ เผ่ามูเกิ้ล จะมีรูปร่างคล้ายกระต่ายยืนสองขา มีปีกสีแดงสดที่ยื่นออกมาจากหลังคล้ายค้างคาวและมีขนเป็นสีครีมทั้งตัว เผ่าบังก้าที่ดูจะคล้ายกิ้งก่า หรือเผ่าพิคคูร่าที่มีวิวัฒนาการมาจากหมู จึงมีความคล้ายคลึงกับหมูมาก นอกจากนี้ ผู้แต่งยังมีความสามารถในการบรรยายและการพรรณนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรยายฉากต่อสู้ได้อย่างชัดเจน จนสามารถเห็นภาพการต่อสู้ตามที่ผู้แต่งบรรยายได้ แม้ว่าผู้อ่านจะไม่เคยรู้จักพลังเวทมนตร์ต่างๆที่ตัวละครใช้มาก่อนเลยก็ตาม เช่นเดียวกันการบรรยายฉากและบรรยากาศก็สามารถทำได้อย่างดี การบรรยายของผู้แต่งจึงช่วยสร้างภาพของโลกอิวาลิซให้ผู้อ่านไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากโลกอิวาลิซนั้นแตกต่างจากโลกมนุษย์อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีกลวิธีสำคัญที่ผู้แต่งเลือกใช้เพื่อใช้กระตุ้นเร้าความสนใจผู้อ่านให้อยากทราบเรื่องราวตอนต่อไป ด้วยการทิ้งท้ายก่อนจบตอนไว้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำนายอนาคต (foreshadow) ว่าเหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร เช่นในบทนำจบเรื่องไว้ว่า “5 ปีจากนี้ ทุกคนทิ้งสันติเป็นอดีต…” การทิ้งค้างเรื่องราวขณะที่ตื่นเต้นสูงสุดไว้ เช่น การหายตัวไปต่อหน้าต่อตาของราชินีซินเทีย ราชินีม่ายแห่งอาณาจักรอิสฮาน ขณะที่กำลังอ่านคำทำนายโบราณ หรือการทิ้งค้างผลการต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่างเรเดลกับไทไว้ ในตอนที่ 19 นับว่าเป็นความชาญฉลาดที่ผู้แต่งเลือกใช้กลวิธีนี้ในการสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่อง และผู้แต่งก็สามารถทำได้เป็นอย่างดี ในเรื่องคำผิดนั้นมีให้เห็นประปราย เช่น เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทมนต์ บัลลังก์ เขียนเป็น บัลลังค์ อานุภาพ เขียนเป็น อณุภาพ รัตติกาล เขียนเป็น รัลติกาล ปริมาณ เขียนเป็น ปริมาน ปรโลก เขียนว่า ปรกโลก หมดจด เขียนเป็น หมดจรด สารบบ เขียนเป็น สาระบบ แป๊บ เขียนเป็น แป๊ป นิรันดร์ เขียนเป็น นิรัดน์ โป่งพอง เขียนเป็น โปร่งพอง โบราน เขียนเป็น โบราณ เวท เขียนเป็น เวทย์ และเขียนสลับกันระหว่างคำว่า นั่น กับ นั้น --------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 10 มิ.ย. 53

    • 15

    • 1

    "มาวิจารณ์ตามที่ฝากค่ะ"

    (แจ้งลบ)

    โครงเรื่อง: ในด้านนี้ก็ไม่ซ้ำใครนักนะคะ แต่ว่าดูยังไม่ค่อยมีอะไรดึงดูดเท่าที่ควรนัก แต่โดยส่วน ตัวก็พอใช้ได้ค่ะ เพราะว่ายังดีที่อ่านแล้วเป๊ะเลยว่าแฟนตาซี ไม่หลุดแนวหลุดตัวละครหรือหลุดไปนอกเรื่อง ตัวละคร: ก็ดีค่ะ ถือว่าวางตัวละครกับบทโอเค แต่น่าจะปรับด้านความเหมาะสมและเป็นเอกลักษณ์ของตัวละคร ตัวเอกนี่ควรจะมีอะไรเด่นๆดึงดูดมากกว่านี้ค่ะ แต่ส่วน ... อ่านเพิ่มเติม

    โครงเรื่อง: ในด้านนี้ก็ไม่ซ้ำใครนักนะคะ แต่ว่าดูยังไม่ค่อยมีอะไรดึงดูดเท่าที่ควรนัก แต่โดยส่วน ตัวก็พอใช้ได้ค่ะ เพราะว่ายังดีที่อ่านแล้วเป๊ะเลยว่าแฟนตาซี ไม่หลุดแนวหลุดตัวละครหรือหลุดไปนอกเรื่อง ตัวละคร: ก็ดีค่ะ ถือว่าวางตัวละครกับบทโอเค แต่น่าจะปรับด้านความเหมาะสมและเป็นเอกลักษณ์ของตัวละคร ตัวเอกนี่ควรจะมีอะไรเด่นๆดึงดูดมากกว่านี้ค่ะ แต่ส่วนนี้ไม่ว่า กัน เพราะมันเป็นสิทธิ์ของไรเตอร์เอง ถ้าไรเตอร์ชอบแบบนี้ก็ไม่ต้องไปปรับค่ะ การบรรยาย: ดีมากค่ะ บรรยายค่อนข้างรื่น แต่ตอนแรกๆโปรยคำนำไปน่าอ่านเท่าไหร่นะคะ มันไม่ ใช่ว่าไม่ดีหรือผิดตรงไหน แต่พออ่านแล้วยังไม่รู้สึก'อื้ม น่าสน'เท่าไหร่น่ะค่ะ ทั้งๆที่ โครงเรื่องค่อนข้างน่าสนใจ ส่วนนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งเลยนะคะ เพราะมัน เป็นสิ่งแรกที่จะดึงดูดผู้อ่านได้ ภาษา:คำผิดมีน้อยนะคะ ดีค่ะ หากสงสัยเรื่องอะไรแจ้งค่ะ ยอมรับว่าอ่านข้ามตอนไปบ้าง เพราะช่วงนี้เยลรี่ไม่ว่างเลยค่ะ เรียนหนัก กลัวต้องรอนานค่ะ ถ้าอยากให้วิจารณ์แบบเต็มๆ ต้องรอนะคะ ก็เลย มาลงให้ก่อน หากพอใจคำวิจารณ์เท่านี้ก็ให้ไปกรอกแบบฟอร์มรับ แต่ถ้าไม่ปลื้มอยากได้แบบเต็มๆก็ไปบอกที่บทความนะคะ จะถือว่าวิจารณ์เสร็จนะคะ แต่ถ้าหากไม่ติดเรื่องเวลา ก็คงต้องมาแจ้งที่บทความนะคะ หากอยากได้เต็มๆจริงๆ   อ่านน้อยลง

    เยลรี่ซ่า | 4 มิ.ย. 53

    • 13

    • 1

    ดูทั้งหมด

    ความคิดเห็น