ประวัติความเป็นมาของแอลกอฮอล์ - ประวัติความเป็นมาของแอลกอฮอล์ นิยาย ประวัติความเป็นมาของแอลกอฮอล์ : Dek-D.com - Writer

    ประวัติความเป็นมาของแอลกอฮอล์

    โดย Xjang

    นักมานุษยวิทยายังไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เรารู้แน่ชัดว่ามนุษย์เริ่มรู้จักดื่มแอลกอฮอล็ตั้งแต่เมื่อใด แต่นักวิทยาศาสตร์นั้นได้รู้ว่าธรรมชาติรู้จักสร้างเครื่องดื่มประเภทนี้มานานนับล้านปีแล้ว เพราะเวลาเชื้อมัก (yeast)

    ผู้เข้าชมรวม

    536

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    536

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 ก.พ. 50 / 01:51 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ประวัติความเป็นมาของแอลกอฮอล์

      นักมานุษยวิทยายังไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เรารู้แน่ชัดว่ามนุษย์เริ่มรู้จักดื่มแอลกอฮอล็ตั้งแต่เมื่อใด แต่นักวิทยาศาสตร์นั้นได้รู้ว่าธรรมชาติรู้จักสร้างเครื่องดื่มประเภทนี้มานานนับล้านปีแล้ว เพราะเวลาเชื้อมัก (yeast) ที่อาศัยอยู่ในผลไม้เริ่มย่อยอาหารมันจะเปลี่ยนน้ำตาลที่มีในผลไม้ให้เป็นอาหารของมัน แล้วปลดปล่อยของเสีย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์และ ethyl alcohol หรือ ethanol ออกมาเมื่อ ethanol มีความเข้มข้นมากขึ้นๆ ถึง 16% ยีสต์ก็จะตาย ethanol ที่มีก็จะทำให้ของเหลวเป็นแอลกอฮอล์
      มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

      อาจรู้จักดื่มแอลกอฮอล์โดยบังเอิญได้ดื่มน้ำผึ้งที่ถูกปล่อยทิ้งในอากาศนานๆ และพบวิธีทำแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีหมักผลไม้เป็นเวลานาน ๆ ก็สามารถมีแอลกอฮอล์ไว้ดื่มกินได้ทันที และเมื่อได้ประจักษ์ว่าแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่กระตุ้นเร้าจิตใจได้ดี เทคโนโลยีการทำแอลกอฮอล์จึงได้ถูกถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมา
      ในวารสาร Scientific American ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.2543

      B.L. Vallee แห่ง Harvard Medical School ได้รายงานประวัติความเป็นมาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มนุษย์เริ่มรู้จักในฐานะเครื่องดื่มที่สามารถรักษาสุขภาพ แต่ในเวลาต่อมาก็ได้ตระหนักว่า มันสามารถทำให้ผู้ดื่มเสียบุคลิก และฐานะทางสังคมรวมทั้งอาจสูญเสียชีวิตด้วย

      Vallee ได้กล่าวว่าในอดีตเมื่อหลายพันปีก่อนนี้ แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มากจนอาจเปรียบวารีแห่งชีวิตก็ยังได้
      ในความเข้าใจของคนทั่วไป

      เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้แก่ เบียร์และเหล้าองุ่น ซึ่งการที่มนุษย์จะเริ่มรู้จักทำเบียร์ได้นั้น มนุษย์ต้องรู้จักปลูกข้าวก่อน เพราะปัจจัยในการทำเบียร์คือข้าว และประวัติศาสตร์ก็ได้ จารึกว่าบนสองฟากฝั่งของแม่น้ำ Nile ในอียิปต์และ Tygist กับ Euphrates ในอิรักมีการทำนาข้าวสาลีและข้าวบาเลย์มากมาย

      ซึ่งนักประวัติศาสตร์ก็ได้พบหลักฐาน

      ที่แสดงว่าชาวอียิปต์และชาวบาบิลอนได้รู้จักดื่มเบียร์ที่ทำจากข้าวสาลีและข้าวบาเลย์ เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ส่วนเหล้าองุ่นนั้นก็เป็นแอลกอฮอล์อีกประเภทหนึ่งที่เกิดจากการที่มนุษย์รู้จักทำเกษตรกรรม และนักประวัติศาสตร์ก็ได้พบว่า ชาว Armenia เป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลูกองุ่น เมื่อประมาณ 8,000 ปีก่อนนี้เช่นกัน
      เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกษตรกรรม

      ได้ทำให้มนุษย์ในสมัยโบราณมีอาหารเกินความต้องการ มนุษย์จึงต้องขวนขวายหาวิธีเก็บรักษาเมล็ดข้าวและพืชผักที่เหลือจากการบริโภค และเมื่อปริมาณอาหารมีมากขึ้น ผู้คนก็ได้อพยพมาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มมากขึ้น ปัญหาสังคมก็เริ่มเกิดเพราะระบบสาธารณสุขในสังคม เมื่อ 2,000 ปีก่อนนี้ด้อยคุณภาพเช่น ไม่มีน้ำบริสุทธิ์ที่จะบริโภคและเมื่อผู้คนในหมู่บ้านทิ้งขว้างขยะหรือของเสียอย่างไม่เลือกที่ น้ำในหมู่บ้านจึงมีสารปนเปื้อนเจืออยู่
      การบริโภคน้ำที่ไม่สะอาดทำให้อหิวาต์ระบาด

      ซึ่งมีผลทำให้ผู้คนล้มตายมากมาย เราทุกวันนี้ คงไม่รู้ว่าในอดีตที่นมนานมากนั้น การไม่มีน้ำบริสุทธิ์จะดื่มกิน ทำให้การเดินทางรอนแรมไกลๆ เป็นไปไม่ได้ และนี่ก็คือเหตุผลที่ทำให้ Columbus ประสบความสำเร็จ ในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพราะเขาได้บรรทุกเหล้าองุ่นปริมาณมากมายไปเป็นเสบียงในการเดินทาง
      ดังนั้น เมื่อไม่มีน้ำสะอาดจะดื่มกิน

      ผู้คนจึงต้องหันไปดื่ม ethyl แอลกอฮอล์แทน เพราะการมีคุณสมบัติกรดเล็กน้อยของแอลกอฮอล์ได้ฆ่าเชื้อโรคในมันจนหมดสิ้น การดื่มแอลกอฮอล์จึงปลอดภัยและเมื่อผู้ดื่มได้พบว่า แอลกอฮอล์ทำให้ผู้ดื่มกระชุ่มกระชวย แอลกอฮอล์จึงเปรียบเสมือนวารีทิพย์สำหรับคนทุกคนในสมัยโบราณ และเป็นที่นิยมกันทั่วไป ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้เห็นหลักฐานความนิยมนี้จากแผ่นดินเหนียวที่ถูกแกะสลักเป็นตัวอักษร แสดงสูตรการทำเบียร์ของชาว Babylon
      ส่วนชาวตะวันออก ไม่มีวัฒนธรรมการดื่มเช่นนี้

      ตลอดระยะเวลา 2,000 ปีที่ผ่านมา คนตะวันออกรู้จักดื่มแต่ชา ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เจือปน การไม่รู้จักดื่มมาแต่ในอดีต ทำให้ร่างกายคนตะวันออกราว 50 % ขาดเอ็นไซม์ที่จะใช้ในการย่อยแอลกอฮอล์ ดังนั้น คนเหล่านี้เวลาดื่มแอลกอฮอล์เข้าร่างกาย เขาจะไม่รู้สึกรื่นรมย์แต่อย่างใด
      เพราะเหตุว่า

      เครื่องดื่มที่ชาวตะวันตกนิยมดื่มมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์น้อย และมีกรด acetic มาก อีกทั้งกลิ่นของเครื่องดื่มก็ชวนอาเจียน ดังนั้น นักดื่มยุคโบราณจึงได้พยายามพัฒนาเครื่องดื่มเหล่านี้ในด้านรสและใช้ดื่มเฉพาะในยามกระหายมากกว่าที่จะดื่มให้เมา และเมื่อได้พบว่าทุกครั้งที่ดื่มแอลกอฮอล์ เขาก็ไม่ตาย (ซึ่งถ้าดื่มน้ำแล้วจะตาย) และในแอลกอฮอล์มีวิตามินและเกลือแร่ด้วย แอลกอฮอล์จึงสามารถใช้แทนอาหารได้บ้างในเวลาเกิดทุพภิกขภัยในท้องที่ที่ตนอาศัยอยู่
      นอกจากเหตุผลเหล่านี้แล้ว

      คนโบราณยังดื่มแอลกอฮอล์เอทำให้จิตใจกระชุ่มกระชวย ทำให้อาการเหนื่อยล้าลดลง หรือเวลาไม่มียารักษาโรค เขาก็จะดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งชาว Sumerian ผู้เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 4,100 ปีก่อนนี้ในแถบเอเซียกลางก็ได้เคยบันทึกว่ามีการใช้แอลกอฮอล์เป็นยารักษาโรคทั่วไป

      และแม้กระทั่งบิดาของวิทยาการแพทย์ชื่อ Hippocrates

      ก็ได้เคยใช้เหล้าองุ่นเป็นยารักษาโรคเรื้อรังต่างๆ และโรงเรียนแพทย์ที่นคร Alexandria ก็มีการใช้แอลกอฮอล์เป็นยาเช่นกัน และแม้แต่ในคัมภีร์ไบเบิลก็ได้กล่าวบรรยายอภินิหารของพระเยซูว่า ได้ทรงแปลงน้ำธรรมดาเป็นเหล้าองุ่นให้ประชาชนดื่มกิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเหล้าองุ่นดีกว่าน้ำ (ที่ไม่สะอาดในยุคนั้น)
      ถึงแม้ความเชื่อในสรรพคุณของเหล้าองุ่น

      ว่ามีคุณค่าทางยาสามารถทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด ทำให้จิตใจสงบดับความกระวนกระวายใจ ทำให้ผิวของผู้ดื่มดี รักษาโรคศีรษะล้าน ฆ่าไรและเหาทำให้คนมีความจำดีจะมีมากสักเพียงใดก็ตาม แต่ก็มีคนหลายคนในยุคนั้นที่ตระหนักถึงในการดื่มมาก ถ้าคนดื่มเป็นโรคพิษแอลกอฮอล์เรื้อรัง แต่เมื่อไม่มีเครื่องดื่มอื่นใดที่ปลอดภัยจะดื่ม ผู้คนในยุคกลางจึงยังคงนิยมดื่มเบียร์และเหล้าองุ่นต่อไป ไม่ว่าศาสนาและการเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายสักปานใดก็ตาม ทัศนคติของคนยุโรปต่อเบียร์และเหล้าองุ่นก็ไม่เปลี่ยนแปลง
      แต่แล้วความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

      ก็ได้ทำให้สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับแอลกอฮอล์เปลี่ยนแปลง เพราะได้มีการพบวิธีทำให้แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มมีความเข้มข้นสูงขึ้น เพราะตลอดเวลา 9,000 ปี หลังจากที่มนุษย์รู้จักทำเบียร์แลเหล้าองุ่นแล้ว มนุษย์ก็ได้พบว่าเครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้ต่างก็มีปริมาณแอลกอฮอล์ในตัวน้อย คือไม่เกิน 16% เพราะเมื่อ yeast ตาย แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มก็หยุดเพิ่ม

      ดังนั้น เมื่อชาวอาหรับรู้จักประดิษฐ์วิธีกลั่นในราวปี พ.ศ.1240

      เทคโนโลยีนี้สามารถทำให้เครื่องดื่มมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูงกว่า 16% ได้ ประเพณีและวัฒนธรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของพลโลกก็เริ่มเปลี่ยน เทคนิคนี้อาศัยหลักความจริงที่ว่า แอลกอฮอล์ตามปกติมีจุดเดือดที่อุณหภูมิ 78 องศาเซลเซียส ในขณะที่น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส

      ดังนั้น การต้มน้ำผสมกับแอลกอฮอล์จะทำให้ไอน้ำมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูงและการกลั่นไอน้ำเป็นหยดน้ำในเวลาต่อมา จะทำให้เราได้ของเหลวที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูงยิ่งกว่าเมื่อตอนเริ่มต้นของเหลวผสม
      เทคโนโลยีการทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ความเข้มข้นสูงนี้ได้แพร่สู่อิตาลี

      ในราวปี พ.ศ.1600 และโลกก็ได้เริ่มมีปัญหาการมีคนติดแอลกอฮอล์ตั้งแต่นั้นมา ในหนังสือชื่อ Liber de arte distillandi ที่ Hieronymus Brunschwig แต่ง ได้อธิบายเทคนิคการกลั่นแอลกอฮอล์อย่างละเอียด ทำให้หนังสือเล่มนี้ขายดิบขายดี เพราะผู้คนได้พากันใช้เทคนิคนี้ Brunschwig เสนอแนะในการต้มกลั่นแอลกอฮอล์สำหรับบริโภคเอง

      เมื่อยุโรปถูกกาฬโรคคุกคามในราวพุทธศตวรรษที่ 19

      ทำให้ผู้คนล้มตายถึง 60% ถึงแม้ว่าแอลกอฮอล์จะช่วยรักษาใครไม่ได้ แต่มันก็ได้ทำให้คนป่วยรู้สึกมีพละกำลัง ซึ่งเมื่อแพทย์ในสมัยนั้นได้เห็นผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง และมีอารมณ์แจ่มใสขึ้นแพทย์ก็รู้สึกศรัทธาในแอลกอฮอล์

      ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ สสวท.
      เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×