คำไวพจน์ - คำไวพจน์ นิยาย คำไวพจน์ : Dek-D.com - Writer

    คำไวพจน์

    รวบรวมคำไวพจน์

    ผู้เข้าชมรวม

    18,874

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    294

    ผู้เข้าชมรวม


    18.87K

    ความคิดเห็น


    364

    คนติดตาม


    249
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ก.ย. 52 / 00:13 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ตอนนี้จะเริ่มมีการปรับปรุงบทความคำไวพจน์แล้ว หากว่าผู้อ่านท่านใดต้องการคำไวพจน์ใดๆเพิ่ม กรุณาโพสต์ไว้ด้วยนะคะ ^^
      ขอบคุณมากค่ะ
      คำไวพจน์
               คำไวพจน์ (การหลากคำ)  เป็นชื่อเรียกคำในภาษาไทยอีกพวกหนึ่ง มีความหมายต่างกันเป็น ๒ นัย
      -        นัยหนึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ให้คำอธิบายว่า "คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า" (พจนานุกรม ๒๕๔๒ หน้า ๑๐๙๑)
      -         และในที่เดียวกันนี้ได้ให้ความหมายที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กล่าวไว้ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ด้วยว่า หมายถึง "คำที่ออกเสียงเหมืมอนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส กับ ไส โจทก์ กับ โจทย์ พาน กับ พาล ปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง"
               ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน
      ตัวอย่างคำไวพจน์
      . พระอาทิตย์

      -          ทินกร, ทิวากร , ภาสกร , ภากร , รวี , ระพี , ไถง (คำเขมร) , ตะวัน , อาภากร , อังศุมาลี , สุริยะ, สุริยา , สุริยัน , สุริยน , สุริยง , ภาณุ ภาณุมาศ , อุษณกร , ทยุมณี , อหัสกร , พรมัน , ประภากร , รังสิมันต์ , รังสิมา , รำไพ ,
                         ๒. พระจันทร์
      -          แข (คำเขมร) , รัชนีกร , บุหลัน ( คำชวา) , นิศากร , เดือน , ศศิ , ศศิธร , โสม , กัษษากร , นิศาบดี , ศิวเศขร , อินทุ ,วิธู , มาส , รชนี
                         ๓. ท้องฟ้า
      -          อัมพร , คัคนานต์ , นภาลัย , โพยม , นภางค์ , ทิฆัมพร , เวหา , หาว , เวหาส
                         ๔. แผ่นดิน
      -          ธรณี , ปฐพี , ธาตรี , ธรา , หล้า , เมทินี , ภูมิ , ภพ , พสุธา , ธาษตรี , โลกธาตุ , ภูวดล, พิภพ , พสุธาดล , ปัถพี ,ปฐวี , ปฐพี , ธราดล , ภูตลา , พสุนทรา , มหิ , พสุมดี , ธรณิน
                         ๕. ภูเขา
      -          คีรี , สิงขร , บรรพต , ไศล , ศิขริน , สิงขร , พนม , ภู , ภูผา
                          ๖. ป่า
      -          ไพร , พง , ดง , อรัญ , พนา ,ชัฏ , เถื่อน , พนัส , ไพรวัน, พงพี, พงไพร, ไพรสัณฑ์, พนาดร , พนาลี , พนาวัน,
      อรัญญิก
       ๗. พระพุทธเจ้า
      -          พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระสัพพัญญู , พระโลกนาถ , พระสุคต ,พระผู้มีพระภาคเจ้า , พระสมณโคดม , พระศากยมุนี พระธรรมราช , พระชินสีห์ , พระทศญาณ , มารชิต , โลกชิต , พระทศพลญาณ , พระตถาคต , พระชินวร , ชินศรี
       ๘. ทองคำ
      -          สุวรรณ , สุพรรณ , เหม , กนก , มาศ , อุไร , จารุ , ตปนียะ , กาญจน์
         ๙. เงิน
      -          รัชตะ , รัชฎา , ปรัก , หิรัญ , รชต
         ๑๐. น้ำ
      -          อาโป , อุทก,วารี,ชล, คงคา , นที, สินธุ์ ,สาคร ,สมุทร , ชลาลัย , อุทก , ชโลทร , มหรรณพ,ชลธาร , ชลาศัย ,ชลธี,ธาร,ธาราสลิล, อรรณพ ,สินธุ , สาคเรศ ,อุทกธารา , อุทก ,อัมพุ ,วารี ,กระสินธิ์
         ๑๑. ไฟ
      -          อัคคี , เตโช ,เพลิง ,อัคนี ,บาพก , กูณฑ์ , ปราพก
                 ๑๒. ลม
      -          วาโย , มาลุต,ปรัวน,พระพาย
                ๑๓. เมือง
      -          บุรี , ธานี, นคร, ปุระ, กรุง , ธานินทร์, นครินทร์ , นคเรศ, บุรินทร์,พารา , กรุง , นครา 
          ๑๔. ผู้หญิง
      -          นงเยาว์ , โฉมตรู , พธู , นงราม , สมร , กัลยา , สตรี ,อิตถี ,นารี, กามินี, พธู ,อรไท , แก้วตา, ดวงสมร, นงคราญ ,นงพะงา ,บังอร, สายสมร, อนงค์, อิสตรี , กัญญา ,กันยา , กัลยาณี ,ดรุณี ,นงเยาว์ , นงลักษณ์ , มารศรี ,วนิดา, ยุพเยาว์, ยุพเรศ, ยุพดี , ยุพา , ยุพิน , ยุวดี, เยาวเรศ , เยาวลักษณ์ ,สุดา ,พนิดา ,นงราม , นุช , แน่งน้อย , นาเรศ , นาฏ , ยุวดี
         
         ๑๕. พระเจ้าแผ่นดิน
      -          ประมุข, กษัตริย์, กษัตรา, กษัตรีย์ , กษัตราธิราช,พระมหากษัตริย์, กษัตริยราช,กษิตร, กษิตลบดี,ขัตติยะ,ขัตติยา, พระราชาธิราช, ราชา, ภูมิบดี, มหิบดี, มหิบาล, มหิบาล, มหิป, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร, นเรนทรสูร, นเรนทร์, นโรดม, มหิศร, มหิศวร ,มเหศ, มเหศวร, นริศร, มหาบพิตร(เฉพาะพระที่ใช้) , บรมพิตร, ภูวนาถ, ภูวไนย, ภูวเนตร, ภูธร, ภูธเรศวร, ภูเบศ, ภูบาล, ภูบดี, ภูเบนทร์, ภูเบศวร, นริศวร, นราธิป, นฤเทพ, นฤบดี, นรราช, นฤเบศ, นรังสรรค์, นรินทร์, ภูธเรศ, จักรี, จักริน, บพิตร, ภูมินทร์, ภูมิธร, ภูมินาถ , บดินทร์
                  
                  ๑๖. ดอกไม้
      -          บุปผา ,บุษบา ,โกสุม , มาลี , ผกา , สุคันธชาติ , มาลี , มาลา , ผกา , บุปผชาติ , สุมาลี , มาลย์
          
          ๑๗. พระอิศวร
      -          ตรีโลกนาถ , ศิวะ, ศุลี, มหาเทพ , ปศุบดี , มเหศวร,จันทรเศขร ,ภูเตศวร , ศังกร , อโฆระ, สยมภู
       
                  ๑๘. พระพรหม
      -          จัตุพักตร์, นิรทรุหิณ , พระทรงหงส์, วิธาดา , ธาดา, กมลาสน์, สรษดา, ปรชาบดี,  วิธิ, เวธาส,  อทิกวี,  สนัต,  ชาตริ ,วิชาตริ,  ปิตามหะ,  ทรุหิณ-สราษฎริ ,โลเกศ
      ๑๙. พระสุรัสวดี
      -          วัค ,วัคเทวี, วาคิสวารี, ภารตี ,วาณี, สาวิตรี,สรัสวดี , สรัสวติ , สรสวติ
       
                         ๒๐. พระวิษณุ
              -    กฤษณะ , ไวกูณฐ์ , ไกษพ , มาธพ ,สวภู , ศางดี ,ไตรวิกรม ,จักรปาณี , พระกฤษณ์ , พระนารายณ์ ,        ปัญจายุทธ, ชลศายิน
       
                          ๒๑. พระอินทร์
      -          โกสีย์ , โกษี , อินทรา , มรุตวาน , เทพาธิบดี , อมรินทร์ , วชิราวุธ , อมเรศวร ,วัชรินทร์ ,สหัสโยนี ,วชิรปาณี ,สหัสนัยน์ , เพชรปราณี , สักกะ , โกสินทร์ ,มัฆวาน, สุชัมบดี
       
       ๒๒. พระอุมาเทวี
      -          กาตยายนี , เคารี , ไหมวดี , ภวาณี , รุทธานี , จัณฑี ,นางกาลี , นางปาราวตี ,พระนางเหมวดี พระนางสยามา , พระจัณฑิกา พระไภรพี ,พระชคินมาตา , ปารพตี
       
       
         ๒๓. พญาครุฑ
      -          กาศยป , ไวนเตยะ , สุวรรณกาย , นาคานตกะ , ปันนคนาสน์ , เวนไตย , ขเดศวร , สุบรรณ , วิษณุรถ ,นาคานดก , ขนบคาศน์

                         ๒๔. เทวดา
      -          อมร , เทพ , สุร , เทพยดา ,นิรชร , เทพ , เทวินทร์, อมร, สุรารักษ์ ,แมน, เทวเ, เทวัญ ,เทวา , ไตรทศ , ปรวาณ
                            
          ๒๕. นางฟ้า
      -          อัจฉรา , อัปสร , รัมภา , เทพธิดา , เทวี
                        
                          ๒๖. นก
      -          สกุณา , ปักษา , สุโนก , วิหค , ทิชากร , ศกุนต์ , ทวิช, บุหรง, สกุณ , สกุณี, ทวิชาชาติ , ปักษิน
          
                         ๒๗. ช้าง
      -          หัสดี , กุญชร , คช , กรี ,คชินทร์ ,คชาธาร , หัตถี ,คเชนทร์ ,หัสดินทร์ ,กรินทร์ ,ไอยรา ,สาร ,วารณ ,คชา ,พลาย
       
         ๒๘. ม้า
      -          พาชี , สินธพ, อาชาไนย, ไหย ,อัศว ,แสะ , ดุรงค์, มโนมัย , อาชา , อัศวะ , มะเมีย , อัสสะ , อัสดร
       
      ๒๙. ปลา
      -          มัจฉา , มัสยา , มัจฉาชาติ , มิต , ชลจร , วารีชาติ , อัมพุชา , มีน , มีนา ,  ปุถุโลม
       
      ๓๐. เสือ
      -      พยัคฆา , ศารทูล , พาฬ , พยัคฆ์ ,ขาล
       
                ๓๑.  วัว
      -          พฤษภ , อสุภ , ฉลู
       
                ๓๒. ควาย
      -          มหิงสา, มหิงส์ , กาสร , กระบือ , ทุย , ปละ, โทน, ธนู ,  เขาเกก
       
       ๓๓. ลิง
      -          กบิล, กปิ  ,กระบี่  ,กัง  ,พานร ,พานรินทร์ ,วานร, วานรินทร์, สวา , แสม , เสน ,วอก
                      ๓๔. เต่า
      -          กระ , กัศยป , กุระมะ, จริว, จะละเม็ด , จิตรจุล
       
      ๓๕. นกยูง
      -          กระโงก , มยุรา , มยุระ , มยุเรศ ,มยุรี , มยูร , โมรี , โมเรศ
       
      ๓๖. จระเข้
      -          กุมภา , กุมภิล , กุมภีล์ , ตะโขง ,ไอ้เคี้ยง , ตะเข้ ,  แร้
       
       ๓๗. ราชสีห์
      -          ไกรสีห์ , ไกรสร , นฤเคนทร์ , สีหราช, เกสรี

      ๓๘. ศัตรู
      -          ปรปักษ์ , เวรี, ไพรี, ปัจจามิตร , ริปู , อริ, ดัสกร
       
      ๓๙. แม่
      -          มารดา , มาตา , มาตุ , มารดร ,ชนนี , ชเนตตี , นนทลี
       
      ๔๐. พ่อ
      -          บิดา , ชนก, ปิตุรงค์ , บิดร, ปิตุ

      ๔๑. สวรรค์
      -     ไตรทิพย์ , สรวง , ไตรทศาลัย , สุราลัย ,สุริยโลก , ศิวโลก , สุขาวดี , สุคติ , เทวโลก 
       
      ๔๒. ดอกบัว
      -          กช , อุบล , บงกช , นิลุบล , นิโลตบล ,นลิน , ปทุม , สัตตบรรณ , ปัทมา , บุษกร , สัตตบงกช ,จงกลนี , บุณฑริก , ปทุมา , สาโรช  , รวินท์
       
      ๔๓. นักปราชญ์
      -          ธีร์, ธีระ, ปราชญ์ , เธียร, บัณฑิต , เมธ , เมธี , เมธา, ปรียา , เชาวลิต , พิชญ์ 

      ๔๔. ยักษ์
      -          ยักษา , อสูร , อสุรา , กุมภัณฑ์ , รามสูร, ราพณาสูร , รากษส , ยักษิณี , ยักษี , ราพณ์
       
      ๔๕. คำพูด
      -          วาจา , วจี, วัจนะ, พจนา , พากย์ , ถ้อย , วัจนา
       
      ๔๖. ลูกชาย
      -          บุตร , ปรัตยา , ตนุช , โอรส , เอารส , ดนัย

      ๔๗. ลูกสาว
      -          บุตรี , ธิตา , สุดา  , ทุหิตา  , ดนยา
       
      ๔๘. ตาย
      -          ปรลัย , มรณะ , วายชนม์ ,วายชีพ , ดับจิต , อาสัญ , บรรลัย , มรณา , ตักษัย
       
      ๔๙. ใจ
      -          กมล , มโน , มน , ดวงใจ , ดวงหทัย , ดวงแด , ฤทัย , ฤดี , หฤทัย
               ๕๐.สุนัข
      -          ศวา , ศวาน , สุวาน , โสณ , หมา
       ๕๑. แมว
      -          มัชชาร (-ชาระ) , วิฬาร , วิฬาร์
              ๕๒. หมาจิ้งจอก
      -       ศฤคาล , สฤคาล , สิงคาล
       
       
       
       


       

       






      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×