ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เตรียมตัวก่อนเอนทรานซ์อย่างคนไม่เครียดแต่พร้อมสู้

    ลำดับตอนที่ #17 : ค่ายแพทย์ ธรรมศาสตร์+สรุปการรับตรงจุฬา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 545
      0
      10 ก.ค. 48

    ช่วงนี้ขยันๆกันหน่อยนะคะ ข่าวการสอบออกมาเยอะแยะแล้ว ใกล้ถึงเวลาเต็มที เอาใจช่วยนะคะ



    ค่ายของ แพทย์ ธรรมศาสตร์นะคะ

    ขอเชิญชวนน้อง ม.ปลาย ร่วมกิจกรรม \"ค่ายฝันเป็นหมอ ขอได้ไหม\" ครั้งที่ 4   จัดโดยพี่ๆ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

        เปิดรับสมัคร 15 สิงหาคม - 9 กันยายน 2548  

         ดาวน์โหลดใบสมัครที่  http://board.thaidoweb.com/meddreamtu   หรือ  http://med.tu.ac.th    





    ส่วนข่าวการรับตรงของจุฬานะคะ ช่วงนี้ข่าวมันยุ่งๆอ่าค่ะ เอาเปนว่าข่าวใหม่ตอนนี้คือการรับตรงยกเลิกแล้วนะคะ ถ้ามีการเปิดใหม่อีกรอบพี่จะมาแจ้งทันทีค่ะ



    สกอ.เคลียร์มหา\"ลัยคัดน.ศ.ปี\"49

    ใช้แอดมิสชั่นส์\"กลาง-รับตรง\" จุฬาฯเอาด้วย-กันน.ร.สับสน

    เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นายภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) เปิดเผยว่า จากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ขอให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีระบบรับตรง โควต้า และโครงการพิเศษต่างๆ รับร่วมกับระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา(Central University Admissions System) หรือระบบแอดมิสชั่นส์ ในปีการศึกษา 2549 นั้น สรุปว่าการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2549 จะแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ ได้แก่ 1.ระบบแอดมิสชั่นส์ตามโครงการของมหาวิทยาลัยหรือเรียกสั้นๆ ว่าแอดมิสชั่นส์รับตรง ได้แก่ การรับตรง โควต้า และโครงการพิเศษ และ 2.ระบบแอดมิสชั่นส์กลางที่ใช้แทนระบบเอ็นทรานซ์ โดยทั้งแอดมิสชั่นส์รับตรงและแอดมิสชั่นส์กลาง จะสมัครผ่านระบบอินเตอร์เน็ต e-education พร้อมกัน โดยผ่าน สกอ.ทั้ง 2 ระบบ ฉะนั้น ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคต่างๆ มีสิทธิสมัครได้ทั้ง 2 ระบบ เช่น มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคอีสานก็สามารถสมัครแอดมิสชั่นส์รับตรงของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ได้ ควบคู่กับการสมัครเลือกคณะและสถาบันผ่านระบบแอดมิสชั่นส์กลาง

    นายภาวิชกล่าวต่อว่า สำหรับการคัดเลือกในระบบแอดมิสชั่นส์รับตรง ทางมหาวิทยาลัยต่างๆ จะนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(Ordinary National Educational Test : O-NET) และผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง(Advanced National Educational Test : A-NET) ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) มาใช้ในการคัดเลือก แต่จะกำหนดค่าน้ำหนักเอง รวมทั้งอาจกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งผลทดสอบ O-NET และ A-NET ของนักเรียนจะแจ้งมหาวิทยาลัยได้ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2549 หรืออย่างช้าต้นเดือนเมษายน รวมทั้งคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมชั้น ม.ปลาย หรือ GPAX และคะแนนเฉลี่ยรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ GPA ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ส่งให้ โดย สกอ.จะประกาศรับสมัครแอดมิสชั่นส์รับตรง และแอดมิสชั่นส์กลางผ่านอินเตอร์เน็ตในช่วงต้นเดือนเมษายน 2549 จากนั้นจะประกาศผลแอดมิสชั่นส์รับตรงก่อนประมาณกลางเดือนเมษายน โดยจะเว้นระยะประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ผู้ที่สมัครแอดมิสชั่นส์รับตรงไปรายงานตัวที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยถ้าไปรายงานก็จะตัดสิทธิในระบบแอดมิสชั่นส์กลาง แต่ถ้าไม่ไปรายงานตัวก็ถือว่าสละสิทธิ และมีสิทธิในระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ซึ่งประมาณปลายเดือนเมษายนจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในระบบแอดมิสชั่นส์กลาง

    ด้านนายวีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ประชุมคณบดีของจุฬาฯในวันเดียวกันนี้ มีมติให้การรับตรง โควต้า และโครงการพิเศษของจุฬาฯ รับผ่านระบบแอดมิสชั่นส์รับตรง ตามที่ สกอ.ขอความร่วมมือ เพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความวุ่นวาย





    ยังไงอ่านต่อไปก่อนนะคะ สู้ๆขยันๆค่า



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×