ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #12 : เศรษฐกิจ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.56K
      3
      13 ม.ค. 50

    เศรษฐกิจ

    เกษตรกรรม ทวีปยุโรปมีการใช้ที่ดินทำการเกษตรกรรมอย่างหนาแน่น ยกเว้นบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นในภาคเหนือ และบริเวณเทือกเขาสูง แทบไม่มีพื้นที่ใดที่ปล่อยว่างไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้ผลผลิตทางการเกษตรกรรมอยู่ในเกณฑ์สูงมากด้วย สาเหตุที่ทวีปยุโรปมีความก้าวหน้าทางเกษตรกรรมมาก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

    ความเหมาะสมด้านภูมิอากาศ
    พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปมีอากาศอบอุ่น ฤดูเพาะปลูกยาวนาน มีฝนตกเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ โดยไม่ค่อยมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือมีฝนตกชุกเกินไปจนเกิดน้ำท่วมไร่นาเสียหาย

    ความเจริญด้านวิชาการและเทคโนโลยีการเกษตร
    เกษตรกรรู้จักปรับปรุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยและการไถที่ถูกต้อง มีการคัดเลือกพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ของทวีปยุโรปมีชื่อเสียงไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องจักรทุ่นแรงช่วยในการเกษตร ทำให้ประหยัดแรงงานและได้ผลผลิตสูง

    ความเหมาะสมด้านการตลาด
    เนื่องจากทวีปยุโรปมีประชากรหนาแน่น และประชากรในเมืองมีอัตราสูง ทำให้ความต้องการผลิตผลเกษตรกรรมมีมาก เกษตรกรจึงสามารถหาตลาดจำหน่ายผลิตผลได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีมาตรการต่างๆ ในด้านการตลาดที่ทำให้เกษตรกรขายผลิตผลของตนได้ราคาดี

    เขตเกษตรกรรมของทวีปยุโรป
    เนื่องจากทวีปยุโรปมีความแตกต่างในด้านภูมิอากาศ และภูมิประเทศของท้องถิ่นอาจแบ่งเขตเกษตรกรรมของทวีปยุโรป ออกได้เป็น 5 เขตใหญ่ๆ ดังนี้

    เขตเกษตรกรรมแบบผสม
    เป็นเขตที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าวสาลี บ้าวบาเลย์ ข้าวไรย์ มันฝรั่ง หัวผักกาดหวาน หญ้า ส่วนสัตว์เลี้ยง ได้แก่ โคเนื้อ โคนม แกะ อาจจะเน้นความสำคัญของพืชหรือสัตว์อย่างหนึ่งอย่างใดมากเป็นพิเศษตามความต้องการของตลาดก็ได้ เขตเกษตรกรรมแบบนี้มีแพร่หลายมากที่สุดในทวีป โดยเฉพาะในภาคตะวันตก และภาคกลางของทวีปในเขตประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน

    เขตเกษตรกรรมแบบเมดิเตอร์เรเนียน
    เป็นเขตที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชผลที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีฝนตกค่อนข้างน้อย และมีแสงแดดมาก พืชสำคัญ ได้แก่ ส้ม มะนาว องุ่น มะกอก มีอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปภาคใต้ ได้แก่ อิตาลี กรีซ

    เขตปลูกข้าวสาลี
    เป็นเขตที่มีการปลูกข้าวสาลีในไร่ขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับเขตปลูกข้าวสาลีในทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่ ในบริเวณภาคกลาง เช่น ฮังการี โรมาเนีย อูเครนและภาคใต้ของรัสเซีย

    เขตทำไร่ปศุสัตว์
    เป็นเขตที่มีการเลี้ยงสัตว์ในไร่นาขนาดใหญ่ ซึ่งมีภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้งไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืช ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลแคสเปียนในภาคใต้สุดของอูเครนและรัสเซีย

    เขตเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
    เป็นเขตที่มีการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนย้ายที่ไปตามฤดูกาล เนื่องจากพื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือของทวีป ซึ่งมีภูมิอากาศแบบทุนดรา สัตว์เลี้ยงสำคัญ คือ กวางเรนเดียร์ ซึ่งพบได้ในประเทศฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์

    การทำป่าไม้
    เนื่องจากทวีปยุโรปมีประชากรหนาแน่น และมีการใช้ที่ดินทางเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง ฉะนั้นเนื้อที่ป่าไม้จึงมีไม่มากนัก บริเวณที่เป็นแหล่งป่าไม้ขนาดใหญ่ ได้แก่ ในเขตภูมิอากาศแบบไทกา ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แะภาคเหนือของรัสเซีย นอกจากนี้ก็มีแหล่งป่าไม้ขนาดย่อยๆ กระจัดกระจายอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ของทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณที่เป็นภูเขา ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเกษตร

    ถึงแม้จะมีเนื้อที่ป่าไม้ไม่มาก แต่ทวีปยุโรปก็มีความสำคัญในด้านผลผลิตของป่าไม้มากพอสมควร โดยมีผลผลิตร้อยละ 30 ของผลผลิตทั่วโลก สาเหตุที่ทวีปยุโรปมีการผลิตไม้ได้มาก เนื่องจากป่าไม้ในยุโรปส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ปลูกขึ้น มีการคัดเลือกพันธ์ และการดูแลจัดการที่ดี ทำให้ได้ผลผลิตสูง มีมาตรการควบคุมดูแล และอนุรักษ์ป่าไม้ให้อยู่ในสภาพที่ดี การตัดชักลากไม้ทำได้สะดวก เพราะส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง เกษตรกรนิยมกันพื้นที่ถือครองไว้ส่วนหนึ่งให้เป็นป่าไม้ เพื่อตัดไม้มาใช้สอยในครอบครัวของตน หรือเพื่อจำหน่าย ป่าไม้ขนาดย่อมๆ จึงมีแทรกอยู่ในเขตเกษตรกรรมโดยทั่วไป

    การประมง
    ยุโรปมีชายฝั่งทะเลยาวและเว้าแหว่งมาก เหมาะแก่การพักอาศัยของสัตว์น้ำ ทั้งยังมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลเลียบชายฝั่งประเทศฝรั่งเศสขึ้นไปถึงชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ในหน้าหนาวน้ำจึงไม่เป็นน้ำแข็ง ทำให้น่านน้ำของยุโรปมีปลาอุดมสมบูรณ์ตลอดปี แหล่งประมงทีสำคัญของยุโรป ได้แก่ บริเวณน่านน้ำทะเลเหนือ ทะเลนอร์วีเจียน และเกาะไอซ์แลนด์ ประเทศที่มีความสำคัญด้านการประมงของยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์

    การทำเหมืองแร่
    แร่เศรษฐกิจที่สำคัญมากของทวีปยุโรป คือ แร่ถ่านหิน และแร่เหล็ก ซึ่งมีปริมาณการผลิตเป็นจำนวนมากในประเทศต่างๆ แหล่งถ่านหินที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณภาคเหนือของฝรั่งเศส ภาคกลางของเบลเยี่ยม ลุ่มแม่น้ำรูห์ในเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์ และรัสเซีย ส่วนแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญ ได้แก่ ภาคเหนือและภาคกลางของสวีเดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส และภาคใต้ของรัสเซีย

    นอกจากถ่านหินและแร่เหล็กแล้ว ยังมีแร่อื่นๆ ที่มีความสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติซึ่งมีแหล่งผลิตในทะเลเหนือ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี โรมาเนีย และรัสเซีย แร่บอกไซด์ ในยูโกสลาเวีย และกรีซ แร่โพแทชและแร่ฟอตเฟต ในเยอรมนีและโปแลนด์

    อุตสาหกรรม
    ทวีปยุโรปมีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมมาก โดยแทบทุกประเทศ ยกเว้นประเทศเล็กๆ จะมีราไยด้จากอุตสาหกรรมมากกว่าจากอาชีพอื่นๆ ประเทศที่ขึ้นชื่อมากทางด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม สวีเดน ล้วนมีรายได้จากอุตสาหกรรมมากกว่า 1/3 ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ

    แหล่งอุตสาหกรรม แต่เดิมรวมตัวกันหนาแน่นในบริเวณที่มีแร่ถ่านหินและแร่เหล็ก แต่ในปัจจุบันกระจายตัวกว้างขวางขึ้น เช่น ในบริเวณที่มีการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้ในราคาถูก และบริเวณเมืองใหญ่ๆ ที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก อุตสาหกรรมที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ การถลุงเหล็ก และผลิตเหล็กกล้า การผลิตยานพาหนะ และอุปกรณ์การขนส่ง เช่น รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน และเรือเดินสมุทร การผลิตเคมีภัณฑ์ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการค้า และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจขึ้น 3 กลุ่มได้แก่

    กลุ่มประชาคมยุโรป หรือ (European Communities)EC เป็นการรวมกลุ่มที่มีจำนวนประเทศสมาชิกมากที่สุดถึง 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และสหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศนี้มีข้อตกลงร่วมกันในอันที่จะยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ ในด้านการค้าระหว่างกัน เช่น ยกเลิกภาษีศุลกากร สำหรับสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศสมาชิก รวมทั้งการเปิดเสรีให้มีการเดินทางของผู้คน และการเคลื่อนย้ายเงินทุนผ่านเขตแดนซึ่งกันและกันโดยไม่มีข้อจำกัด กลุ่มประเทศนี้นับว่ามีอิทธิพลมากในด้านเศรษฐกิจโลก และเป็นการรวมตัวกันของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในทวีปยุโรป

    กลุ่มสมาคมการค้าเสรีของยุโรป (European Free Trade Association, EFTA)
    เป็นการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกรวม 7 ประเทศ คือ ออสเตรีย ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และฟินแลนด์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากร และข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ในปัจจุบันกลุ่มประเทศนี้ได้ทำสัญญาตกลงให้มีการค้าเสรีกับกลุ่มประชาคมยุโรปด้วยแล้ว

    กลุ่มความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจร่วมกัน (Council for Mutual Economic Assistance, COMECON) เป็นการรวมกลุ่มเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันออก ที่มีการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ รวม 8 ประเทศ คือ สหภาพโซเวียต โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย (สหพันธ์สาธารณรัฐเช็คและสโลวัก) ฮังการี โรมาเนีย แอลบาเนีย บัลกาเรีย และยูโกสลาเวีย อย่างไรก็ตามจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นประเทศแกนนำสำคัญ กลุ่มโคเมคอนก็ต้องยุติบทบาทลงด้วยเช่นกัน

    เกษตรกรรม ทวีปยุโรปมีการใช้ที่ดินทำการเกษตรกรรมอย่างหนาแน่น ยกเว้นบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นในภาคเหนือ และบริเวณเทือกเขาสูง แทบไม่มีพื้นที่ใดที่ปล่อยว่างไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้ผลผลิตทางการเกษตรกรรมอยู่ในเกณฑ์สูงมากด้วย สาเหตุที่ทวีปยุโรปมีความก้าวหน้าทางเกษตรกรรมมาก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

    ความเหมาะสมด้านภูมิอากาศ
    พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปมีอากาศอบอุ่น ฤดูเพาะปลูกยาวนาน มีฝนตกเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ โดยไม่ค่อยมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือมีฝนตกชุกเกินไปจนเกิดน้ำท่วมไร่นาเสียหาย

    ความเจริญด้านวิชาการและเทคโนโลยีการเกษตร
    เกษตรกรรู้จักปรับปรุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยและการไถที่ถูกต้อง มีการคัดเลือกพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ของทวีปยุโรปมีชื่อเสียงไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องจักรทุ่นแรงช่วยในการเกษตร ทำให้ประหยัดแรงงานและได้ผลผลิตสูง

    ความเหมาะสมด้านการตลาด
    เนื่องจากทวีปยุโรปมีประชากรหนาแน่น และประชากรในเมืองมีอัตราสูง ทำให้ความต้องการผลิตผลเกษตรกรรมมีมาก เกษตรกรจึงสามารถหาตลาดจำหน่ายผลิตผลได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีมาตรการต่างๆ ในด้านการตลาดที่ทำให้เกษตรกรขายผลิตผลของตนได้ราคาดี

    เขตเกษตรกรรมของทวีปยุโรป
    เนื่องจากทวีปยุโรปมีความแตกต่างในด้านภูมิอากาศ และภูมิประเทศของท้องถิ่นอาจแบ่งเขตเกษตรกรรมของทวีปยุโรป ออกได้เป็น 5 เขตใหญ่ๆ ดังนี้

    เขตเกษตรกรรมแบบผสม
    เป็นเขตที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าวสาลี บ้าวบาเลย์ ข้าวไรย์ มันฝรั่ง หัวผักกาดหวาน หญ้า ส่วนสัตว์เลี้ยง ได้แก่ โคเนื้อ โคนม แกะ อาจจะเน้นความสำคัญของพืชหรือสัตว์อย่างหนึ่งอย่างใดมากเป็นพิเศษตามความต้องการของตลาดก็ได้ เขตเกษตรกรรมแบบนี้มีแพร่หลายมากที่สุดในทวีป โดยเฉพาะในภาคตะวันตก และภาคกลางของทวีปในเขตประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน

    เขตเกษตรกรรมแบบเมดิเตอร์เรเนียน
    เป็นเขตที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชผลที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีฝนตกค่อนข้างน้อย และมีแสงแดดมาก พืชสำคัญ ได้แก่ ส้ม มะนาว องุ่น มะกอก มีอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปภาคใต้ ได้แก่ อิตาลี กรีซ

    เขตปลูกข้าวสาลี
    เป็นเขตที่มีการปลูกข้าวสาลีในไร่ขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับเขตปลูกข้าวสาลีในทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่ ในบริเวณภาคกลาง เช่น ฮังการี โรมาเนีย อูเครนและภาคใต้ของรัสเซีย

    เขตทำไร่ปศุสัตว์
    เป็นเขตที่มีการเลี้ยงสัตว์ในไร่นาขนาดใหญ่ ซึ่งมีภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้งไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืช ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลแคสเปียนในภาคใต้สุดของอูเครนและรัสเซีย

    เขตเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
    เป็นเขตที่มีการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนย้ายที่ไปตามฤดูกาล เนื่องจากพื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือของทวีป ซึ่งมีภูมิอากาศแบบทุนดรา สัตว์เลี้ยงสำคัญ คือ กวางเรนเดียร์ ซึ่งพบได้ในประเทศฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์

    การทำป่าไม้
    เนื่องจากทวีปยุโรปมีประชากรหนาแน่น และมีการใช้ที่ดินทางเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง ฉะนั้นเนื้อที่ป่าไม้จึงมีไม่มากนัก บริเวณที่เป็นแหล่งป่าไม้ขนาดใหญ่ ได้แก่ ในเขตภูมิอากาศแบบไทกา ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แะภาคเหนือของรัสเซีย นอกจากนี้ก็มีแหล่งป่าไม้ขนาดย่อยๆ กระจัดกระจายอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ของทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณที่เป็นภูเขา ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเกษตร

    ถึงแม้จะมีเนื้อที่ป่าไม้ไม่มาก แต่ทวีปยุโรปก็มีความสำคัญในด้านผลผลิตของป่าไม้มากพอสมควร โดยมีผลผลิตร้อยละ 30 ของผลผลิตทั่วโลก สาเหตุที่ทวีปยุโรปมีการผลิตไม้ได้มาก เนื่องจากป่าไม้ในยุโรปส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ปลูกขึ้น มีการคัดเลือกพันธ์ และการดูแลจัดการที่ดี ทำให้ได้ผลผลิตสูง มีมาตรการควบคุมดูแล และอนุรักษ์ป่าไม้ให้อยู่ในสภาพที่ดี การตัดชักลากไม้ทำได้สะดวก เพราะส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง เกษตรกรนิยมกันพื้นที่ถือครองไว้ส่วนหนึ่งให้เป็นป่าไม้ เพื่อตัดไม้มาใช้สอยในครอบครัวของตน หรือเพื่อจำหน่าย ป่าไม้ขนาดย่อมๆ จึงมีแทรกอยู่ในเขตเกษตรกรรมโดยทั่วไป

    การประมง
    ยุโรปมีชายฝั่งทะเลยาวและเว้าแหว่งมาก เหมาะแก่การพักอาศัยของสัตว์น้ำ ทั้งยังมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลเลียบชายฝั่งประเทศฝรั่งเศสขึ้นไปถึงชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ในหน้าหนาวน้ำจึงไม่เป็นน้ำแข็ง ทำให้น่านน้ำของยุโรปมีปลาอุดมสมบูรณ์ตลอดปี แหล่งประมงทีสำคัญของยุโรป ได้แก่ บริเวณน่านน้ำทะเลเหนือ ทะเลนอร์วีเจียน และเกาะไอซ์แลนด์ ประเทศที่มีความสำคัญด้านการประมงของยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์

    การทำเหมืองแร่
    แร่เศรษฐกิจที่สำคัญมากของทวีปยุโรป คือ แร่ถ่านหิน และแร่เหล็ก ซึ่งมีปริมาณการผลิตเป็นจำนวนมากในประเทศต่างๆ แหล่งถ่านหินที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณภาคเหนือของฝรั่งเศส ภาคกลางของเบลเยี่ยม ลุ่มแม่น้ำรูห์ในเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์ และรัสเซีย ส่วนแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญ ได้แก่ ภาคเหนือและภาคกลางของสวีเดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส และภาคใต้ของรัสเซีย

    นอกจากถ่านหินและแร่เหล็กแล้ว ยังมีแร่อื่นๆ ที่มีความสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติซึ่งมีแหล่งผลิตในทะเลเหนือ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี โรมาเนีย และรัสเซีย แร่บอกไซด์ ในยูโกสลาเวีย และกรีซ แร่โพแทชและแร่ฟอตเฟต ในเยอรมนีและโปแลนด์

    อุตสาหกรรม
    ทวีปยุโรปมีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมมาก โดยแทบทุกประเทศ ยกเว้นประเทศเล็กๆ จะมีราไยด้จากอุตสาหกรรมมากกว่าจากอาชีพอื่นๆ ประเทศที่ขึ้นชื่อมากทางด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม สวีเดน ล้วนมีรายได้จากอุตสาหกรรมมากกว่า 1/3 ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ

    แหล่งอุตสาหกรรม แต่เดิมรวมตัวกันหนาแน่นในบริเวณที่มีแร่ถ่านหินและแร่เหล็ก แต่ในปัจจุบันกระจายตัวกว้างขวางขึ้น เช่น ในบริเวณที่มีการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้ในราคาถูก และบริเวณเมืองใหญ่ๆ ที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก อุตสาหกรรมที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ การถลุงเหล็ก และผลิตเหล็กกล้า การผลิตยานพาหนะ และอุปกรณ์การขนส่ง เช่น รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน และเรือเดินสมุทร การผลิตเคมีภัณฑ์ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการค้า และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจขึ้น 3 กลุ่มได้แก่

    กลุ่มประชาคมยุโรป หรือ (European Communities)EC เป็นการรวมกลุ่มที่มีจำนวนประเทศสมาชิกมากที่สุดถึง 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และสหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศนี้มีข้อตกลงร่วมกันในอันที่จะยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ ในด้านการค้าระหว่างกัน เช่น ยกเลิกภาษีศุลกากร สำหรับสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศสมาชิก รวมทั้งการเปิดเสรีให้มีการเดินทางของผู้คน และการเคลื่อนย้ายเงินทุนผ่านเขตแดนซึ่งกันและกันโดยไม่มีข้อจำกัด กลุ่มประเทศนี้นับว่ามีอิทธิพลมากในด้านเศรษฐกิจโลก และเป็นการรวมตัวกันของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในทวีปยุโรป

    กลุ่มสมาคมการค้าเสรีของยุโรป (European Free Trade Association, EFTA)
    เป็นการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกรวม 7 ประเทศ คือ ออสเตรีย ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และฟินแลนด์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากร และข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ในปัจจุบันกลุ่มประเทศนี้ได้ทำสัญญาตกลงให้มีการค้าเสรีกับกลุ่มประชาคมยุโรปด้วยแล้ว

    กลุ่มความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจร่วมกัน (Council for Mutual Economic Assistance, COMECON) เป็นการรวมกลุ่มเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันออก ที่มีการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ รวม 8 ประเทศ คือ สหภาพโซเวียต โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย (สหพันธ์สาธารณรัฐเช็คและสโลวัก) ฮังการี โรมาเนีย แอลบาเนีย บัลกาเรีย และยูโกสลาเวีย อย่างไรก็ตามจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นประเทศแกนนำสำคัญ กลุ่มโคเมคอนก็ต้องยุติบทบาทลงด้วยเช่นกัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×