ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : กำเนิดการกินเจ
กำเนิดการกินเจ
คำว่า ‘เจ’ ในภาษาจีน มีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่า
‘อุโบสถ’ ส่วนกินเจหมายถึงการรับประทานอาหารก่อนเที่ยง ถ้ารับประทาน
อาหารหลังเที่ยงจะเรียกว่ากินเจไม่ได้ เนื่องจากการถืออุโบสถของจีนจะไม่รับประทานอาหารเนื้อสัตว์ จึงเพี้ยนไปว่าการกินเจเป็นการไม่กินเนื้อสัตว์ ทั้งที่การไม่กินเนื้อสัตว์เรียกว่า กินสู่
มีตำนานเล่าว่า ในสมัยพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ยิ่นฮ่วงสี อันแปลว่า
ผู้เป็นเจ้าใหญ่แห่งมนุษย์ ซึ่งชาวจีนนับถือมากและถือว่าเป็นผู้วิเศษ มีอยู่ด้วยกัน 9 พระองค์พี่น้อง ได้สวรรคตแล้วจุติเป็นดาวจระเข้เรียงกัน 9 ดวง จึงเรียกกันว่า เก๊าฮวง ฮุดโจ้ว ซึ่งจะเป็นผู้ที่ถือบัญชีมนุษย์ สามารถต่อชีวิตแก้ผู้สิ้นอายุขัยให้ยืนยาวต่อไปได้ ชาวจีนจึงถือว่า 1-9ค่ำ เดือน9 เป็นวันที่
เก๊าฮวง ฮุดโจ้ว จะลงมาตรวจสอบจดบันทึก และบันดาลให้เป้นไปตามกรรมดีกรรมชั่วของแต่ละคน
ดังนั้นในช่วงระยะนี้ คนจีนจึงพากันยกเว้นอาหารสดคาวชั่วคราว เพื่อแสดงว่าตนได้ประกอบกรรมดีให้พระเจ้าเห็น
ในช่วงทำพิธีนี้กินเจนี้ มักจะเห็นธงที่ปักตามร้านอาหารเจเป็นสีเหลือง ด้วยถือว่าเป็นสีของพระเจ้าแผ่นดิน
ความคิดเห็น