ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #64 : "กระถางอัจฉริยะ"จับ"ไอน้ำ"จากอากาศ ปลูก"ต้นไม้"ในเขตแห้งแล้ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 387
      0
      7 ธ.ค. 53

    "กระถางอัจฉริยะ"จับ"ไอน้ำ"จากอากาศ ปลูก"ต้นไม้"ในเขตแห้งแล้ง

     
    เว็บไซต์ข่าววิทยาการ พ็อพ พิวลาร์ไซเอินซ์ ประกาศผลงานสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ปี 2553 ว่า ผู้ชนะปีนี้ได้แก่นวัตกรรม "โกรเอซิส วอเตอร์บ็อกซ์" หรือกระ ถางพิเศษสำหรับปลูกต้นไม้ท่าม กลางทะเลทรายแห้งแล้ง พัฒนาโดยปีเตอร์ ฮอฟฟ์ พ่อค้าดอกไม้ชาวเนเธอร์แลนด์

    ปีเตอร์ทุ่มเทเวลาอยู่กับสวนดอกลิลลี่และในเย็นวันหนึ่งสังเกตเห็นว่าน้ำค้างเกาะอยู่บนดอกลิลลี่ในตอนกลางคืน เป็นหลักการง่ายๆ ที่พืชระบายความร้อนให้กับอากาศในตอนกลางคืน ผิวหน้าที่เย็นของใบไม้เมื่อเจอกับอากาศที่อุ่นและชื้นทำให้มีหยดน้ำมาเกาะ ในปี 2003 ปีเตอร์จึงขายกิจการและเริ่มต้นพัฒนาระบบปลูกพืชที่จับหยดน้ำในอากาศแบบเดียวกับที่พืชทำได้

    ตัวกระถางอาจจะทำจากพลาสติกหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ออกแบบมาให้เย็นลงได้อย่างรวดเร็ว ด้านบนสุดที่กระทบอากาศจะเย็นที่สุดทำให้ไอน้ำจากอากาศกลั่นตัวมาเกาะเป็นหยดน้ำและไหลลงมายังถังเก็บเล็กๆ ด้านล่าง

    ในปี 2006 เขาทดลองนำกระถางวอเตอร์บ็อกซ์พร้อมพืช 25 ใบไปยังทะเลทรายซาฮาร่าในโมร็อกโกและเทียบกับพืชที่รดน้ำด้วยวิธีปกติ หนึ่งปีต่อมาพบว่าต้นไม้ในกระถางของเขา 88% ออกใบสีเขียว ส่วนต้นไม้ที่รดด้วยวิธีทั่วไป 90% เหี่ยวเฉาตาย ปีนี้เขานำพืชในกระถางวอเตอร์บ็อกซ์อีก 20,000 ใบไปทดลองปลูกในสถานที่กันดารอย่างในปากีสถานและเอกวาดอร์

    ทุกวันนี้ประชากร 1 ใน 3 ของโลกอยู่ในพื้นที่ขาดแคลน น้ำ และคาดว่าประชากรที่แร้นแค้นเหล่านี้จะขยายเพิ่มเป็น 2 ใน 3 ของโลกในปี 2025 สภาพการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นไปอีกเมื่อบางแห่งมีการตัดไม้ทำลายป่าและทำไร่เลื่อนลอยที่ทำให้ดินทรุดโทรมและไม่สามารถเพาะปลูกได้อีก และกระถางต้น ไม้ไฮเทคของปีเตอร์อาจเป็นหนึ่งทางเลือกที่จะเข้ามาตอบโจทย์ ดังกล่าวสำหรับการเพาะปลูกในโลกอนาคตที่พื้นดินแห้งแล้ง

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×