ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #146 : ฮาร์วาร์ดผุดเนื้อเยื่อไซบอร์ก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 268
      0
      5 ก.ย. 55



              นักวิศวกรรมชีวเวช มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐพัฒนาเนื้อเยื่อไซบอร์กชิ้นแรกของโลกที่เป็นลูกครึ่งระหว่างเซลล์ที่มีชีวิตและอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีทั้งเนื้อเยื่อประสาท เซลล์หัวใจ กล้ามเนื้อและหลอดเลือดที่ถักทอเข้าด้วยกันด้วยเทคโนโลยีนาโนและทรานซิสเตอร์

    เนื้อเยื่อลูกครึ่ง ดังกล่าวทำงานได้เหมือนเซลล์สิ่งมีชีวิตปกติ แต่ในส่วนของอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่เหมือนเครือข่ายเซ็นเซอร์ช่วยให้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารได้โดยตรงกับเซลล์ เช่น เมื่อเป็นเนื้อเยื่อหัวใจ นักวิจัยสามารถใช้เครือข่ายนาโนที่ฝังอยู่ภายใน วัดอัตราการเต้นของหัวใจของเซลล์

    สำหรับขั้นตอนการสร้างเนื้อเยื่อจักรกล เริ่มจากการนำเซลล์มาเพาะให้เจริญเติบโตรอบๆ ตะแกรงที่เป็นโครงสร้าง ตะแกรงดังกล่าวปกติจะทำจากคอลลาเจนที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นสายยาว ทำหน้าที่ยึดโยงเนื้อเยื่อ มีอยู่ในสัตว์เกือบทุกชนิด

    วิศวกรของฮาร์วาร์ดนำคอลลาเจนทั่วไป จากนั้นใส่เส้นใยนาโนและทรานซิส เตอร์ลงไป ซึ่งเนื้อเยื่อดังกล่าวสามารถเจริญขึ้นมาเป็นได้ทั้งเนื้อเยื่อประสาท กล้ามเนื้อ เซลล์หัวใจและหลอดเลือด แต่มีเครือข่ายเซ็นเซอร์อยู่ภายใน ซึ่ง ชาร์ลส์ ไลเบอร์ ผู้นำการวิจัยกล่าวว่า ขั้นต่อไปคือการค้นหาวิธีสื่อสารกับแต่ละเซลล์

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์







    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×