ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #140 : นักวิทย์มะกันคิดค้นแคปซูลใยไหม กัน'ความร้อน-แสง-ยืดอายุยา'

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 270
      0
      20 ก.ค. 55



    ไหมนอกจากทอผ้าสวยและมีราคาดีแล้ว ในอนาคตจะเข้าสู่วงการแพทย์ในรูปแบบของวัสดุห่อหุ้มตัวยา หรือวัคซีนด้วย หลังจากมีการค้นพบว่าเมื่อนำมาทำให้อยู่ในลักษณะแผ่นฟิล์มบางๆ สามารถยืดอายุยาปฏิชีวนะหรือวัคซีนที่ห่อหุ้มอยู่ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งตัวยาสำคัญไปยังประเทศโลกที่ 3


    ปกติแล้ววัคซีนและยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่จำเป็นต้องแช่แข็งเพื่อรักษาคุณภาพเอาไว้ระหว่างการขนส่ง ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวไปเพิ่มต้นทุนให้กับราคายาบางตัวสูงถึงร้อยละ 80 อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าแม้จะแช่แข็งแล้วแต่มียามากกว่าครึ่งที่เสียหายไปในขั้นตอนดังกล่าว


    ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟต์ รัฐแมสซาชูเซ็ตส์ นำโดย ดร.เดวิด แค็ปแลน ประสบความสำเร็จในการสร้างฟิล์มใยไหมซึ่งเป็นโพลีเมอร์ชีวภาพชนิดโปรตีนที่ทำจากเส้นไหม เมื่อนำมาใช้ในรูปของเหลวมันจะสามารถห่อหุ้มโมเลกุลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่อยู่ในยาปฏิชีวนะและวัคซีนได้


    ทีมดังกล่าวพบว่าองค์ประกอบทางเคมี โครงสร้างและกระ บวนการของการผสมโพลีเมอร์ชีวภาพชนิดโปรตีนของเส้นไหมเข้ากับตัวยาสามารถสร้างเกราะคุ้มกันนาโนที่สมบูรณ์แบบขึ้นมาได้ เพราะไม่เพียงกันความร้อน แต่ยังกันแสงได้ด้วย นักวิจัยทดลองแล้วพบว่ารักษาวัคซีนโรคหัด หัดเยอรมันและคางทูม เตตระไซคลินและเพนิซิลลินไว้ที่อุณหภูมิ 113 องศาฟาเรนไฮต์ (45 องศาเซลเซียส) นาน 6 เดือนในสภาพแวดล้อมของห้องทดลองได้สำเร็จและเชื่อว่าจะสามารถรักษาตัวยาและวัคซีนบางตัวที่อุณหภูมิสูงถึง 130 องศาฟาเรนไฮต์ (54 องศาเซลเซียส) ได้ด้วย และน่าจะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 6 เดือน ในสภาพคงเดิมทุกประการ ซึ่งจากนี้นักวิจัยจะทดลองในสภาพแวดล้อมจริง


    หากว่าผลการทดลองได้ผลอีก ในอนาคตก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตู้แช่แข็ง ซึ่งจะทำให้ราคายาลดลง และเข้าถึงประชาชนยากจนในประเทศด้อยพัฒนา หรือในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ได้ด้วย

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×