ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #135 : พัฒนาหุ่นยนต์แมงกะพรุน ใช้พลังงานน้ำสำรวจทะเล

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 233
      0
      22 มี.ค. 55

    พัฒนาหุ่นยนต์แมงกะพรุน ใช้พลังงานน้ำสำรวจทะเล
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
      
    "โรโบเจลลี" หุ่นยนต์แมงกะพรุน ที่เตรียมไว้สำหรับสำรวจใต้ทะเลลึก ลำตัวเป็นแผ่นโลหะ 8 แผ่น ล้อมเป็นวงกลม ฉาบด้วยผงไททาเนียมสีดำ
           นักวิทยาศาสตร์พัฒนาหุ่นยนต์แมงกะพรุน ให้ใช้พลังงานแบบไร้ขีดจำกัด ผันน้ำทะเลมาขับเคลื่อน เป็นอุปกรณ์สำรวจโลกบาดาลชนิดใหม่
           
           กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนงานวิจัย "โรโบเจลลี" (Robojelly) หรือหุ่นยนต์แมงกะพรุน ให้
    เวอร์จิเนียเทค (Virginia Tech) ได้พัฒนาหุ่นยนต์สำรวจใต้ทะเล ที่สามารถสร้างแหล่งพลังงานแบบไร้ขีดจำกัด
           
           ทั้งนี้ หุ่นยนต์แมงกะพรุนที่พัฒนาขึ้น มีรูปร่างทรงกลม ตัวหุ่นยนต์ทำจากเมทัลอัลลอยประกอบเข้ากัน 8 แผ่น ทำหน้าที่กระพือขึ้นลงเพื่อดันน้ำเข้าออก กลายเป็นแรงขับดันในการเคลื่อนไหวไปในท้องทะเล
           
           โยนาส ทาเดซเซ (Yonas Tadesse) วิศวกรเครื่องกล แห่งเวอร์จิเนียเทค ผู้พัฒนาอธิบายผ่านสำนักข่าวเอเอฟีว่า ที่เลือกใช้วัสดุเมทัลอัลลอย เพราะช่วยในการจดจำรูป และที่ลำตัวฉาบด้วยผงพลาตินัม ซึ่งจะช่วยให้เกิดความร้อนเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนและไฮโดรเจนในน้ำ
           
           ความร้อนที่เกิดขึ้นจะกระจายไปที่กล้ามเนื้อสังเคราะห์ของหุ่นยนต์ และจะทำให้แผ่นที่คลุมตัวทั้ง 8 แผ่นกระพือขึ้นเพื่อดันน้ำออกมา หลังจากนั้นก็จะกลับเข้าสู่รูปทรงปกติ เป็นการเคลื่อนไหวคล้ายๆ แมงกะพรุนจริง
           
           "ด้วยความรู้ของเรา นับเป็นความสำเร็จแรก ในการสร้างให้พลังงานให้หุ่นยนต์เพื่อทำงานใต้น้ำ โดยอาศัยไฮโดรเจนเป็นแหล่งเชื้อเพลิงภายนอก" ทาเดซเซกล่าว
           
           อย่างไรก็ดี หุ่นยนต์แมงกะพรุนยังไม่ได้แหวกว่ายในท้องทะเลจริง เพราะตอนนี้ยังว่ายเดินหน้าได้แค่ทิศทางเดียว เกิดจากแผ่นอัลลอยทั้ง 8 ยังคงกระพือไปในทิศทางเดียวกัน ทีมพัฒนาจึงยังคงต้องทดสอบเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ
           
           ก้าวต่อไปคือการให้แต่ละส่วนได้สร้างพลังงานขึ้นมาเอง เพื่อให้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ให้ขยับไปในทิศทางต่างๆ ได้
           
           ผลการพัฒนาครั้งนี้ทางทีมได้เขียนเป็นรายงานเผยแพร่ในวารสารสมาร์ท แมทีเรียลส์ แอนด์ สตรัคเจอร์ (Smart Materials and Structures) ตีพิมพ์โดยสถาบันฟิสิกส์อังกฤษ (Britain's Institute of Physics)
           
           

           ชมคลิปวิดิโอ โรโบเจลลี แต่ฉบับในห้องทดลองนี้ใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน ยังไม่ได้ผันน้ำมะเลมาเป็นพลังงาน
           
           
           


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×