นายปรีดี พนมยงค์ - นายปรีดี พนมยงค์ นิยาย นายปรีดี พนมยงค์ : Dek-D.com - Writer

นายปรีดี พนมยงค์

ผู้เข้าชมรวม

1,639

ผู้เข้าชมเดือนนี้

10

ผู้เข้าชมรวม


1.63K

ความคิดเห็น


0

คนติดตาม


0
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  23 พ.ย. 49 / 17:42 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ

    ปี

      ปรีดี  พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11  พฤษภาคม  พ.ศ.2443  ถือกำเนิดในเรือนแพหน้าวัดพนมยงค์  อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   บิดาชื่อนายเสียง เป็นคนเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว  ซึ่งมีบรรพบุรุษข้างปู่สัมพันธ์กับพระเจ้าตากสิน  มารดาชื่อนางจันทน์ สืบเชื้อสายมาจากพระนมแห่งกษัตริย์พระองค์หนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ "ประยงค์"  ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดห่างจากกำแพงพระราชวังด้านตะวันตกชื่อ วัดนมยงค์ หรือ "พนมยงค์"   เมื่อครั้งมีการประกาศพระราช บัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ.2456 ครอบครัวนี้จึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์"

           สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า ได้เข้าศึกษาต่อชั้น มัธยมเตรียมที่โรงเรียนสวนกุหลาบ   แล้วก็ออกมา ช่วยบิดาทำนาอีกหนึ่งปี  จากนั้นจึง เข้าศึกษาที่โรงเรียน กฏหมาย กระทรวงยุติธรรม   ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2460 จึง สอบไล่วิชากฏหมาย ชั้นเนติบัณฑิตได้ เมื่ออายุเพียง 19 ปี ต่อมาเมื่ออายุ 20 ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นสมาชิกเนติ บัณฑิตยสภา  เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมพอใจในผล สอบจึงให้ทุนนายปรีดีไปเรียนต่อกฎหมาย ที่ประเทศ ฝรั่งเศส  เข้าเรียนชั้นปริญญาตรีทางกฏหมาย ที่ มหาวิทยาลัยก็อง (Univesite de Caen )

           ในเดือนสิงหาคม   ปี พ.ศ.2463 ปรีดีได้ร่วมกับ นักเรียนไทยในยุโรป   (ยกเว้นอังกฤษ) ก่อตั้งสมาคม "สามัคคยานุเคราะห์สมาคม" โดยปรีดีได้รับเลือกเป็น เลขาธิการสมาคม  ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสภานายก สมาคมในปี พ.ศ.2468 -2469

          ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ปรีดี  พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6   คน คือ ร.ท.ประยูร  ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก  ขีตตะสังคะ(หลวงพิบูลสงคราม) นักศึกษา วิชาทหารปืนใหญ่, ร.ต. ทัศนัย  มิตรภักดี นักศึกษาวิชา

     
    คณะราษฎรเมื่อก่อตั้งที่ประเทศฝรั่งเศส

    การทหารม้า, นายตั้ว  ลพนุกรม นักศึกษาวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาเอกในสวิตเซอร์แลนด์, หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ  สิงหเสนี) ผู้ช่วยเลขานุการทูตประจำกรุงปารีส และนายแนบ  พหลโยธิน   เนติบัณฑิตอังกฤษ ประชุม ครั้งแรกในการก่อตั้งคณะราษฎร    ที่หอพัก Rue du summerard ในกรุงปารีส เพื่อตกลงที่จะทำการเปลี่ยน แปลงการปกครองจากกษัตริย์เหนือกฏหมาย  มาเป็น การปกครองที่มีกษัตริย์ใต้กฏหมาย โดยใช้วิธีการยึด อำนาจโดยฉับพลันและจับกุมบุคคลสำคัญไว้เป็นตัว ประกัน ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ใช้สำเร็จมาแล้วในการปฏิวัติ ฝรั่งเศสและรัสเซีย อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้ประเทศ มหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศสถือโอกาสยกกำลังทหาร เข้ามายึดสยามขณะที่เกิดความไม่สงบภายในประเทศ
          ที่ประชุมตกลงกันว่า เมื่อกลับประเทศแล้วหากการ ก่อการครั้งนี้ล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ ให้นายแนบ พหลโยธิน ซึ่งมีฐานะดีกว่าเพื่อนเป็นผู้ดูแลครอบครัวของเพื่อนที่ ติดคุกหรือตาย

     

     

         ในช่วงที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ประเทศเพื่อนต่างๆหลายประเทศได้ตกเป็นอาณา นิคมของ ประเทศมหาอำนาจ  สยามประเทศสูญเสีย เอกราชทางการ ค้าจากการถูกบังคับให้เซ็นสัญญาบาวริง ในปี พ.ศ.2398 และเสียดินแดนบางส่วนด้วย  ปรีดีพบว่า ชาวนาต้องขัดสนยากจนด้วยทุนและหนี้สิน  ราคาข้าวตกต่ำเป็นอย่างมาก  

          ในประเทศจีนมีการเปลี่ยน แปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เป็นการปกครองแบบ สาธารณรัฐในปี พ.ศ.2454  โดยมี ดร.ซุนยัดเซ็น เป็น หัวหน้า  ส่วนในประเทศไทยได้เกิดกบฏ ร.ศ.130 แต่คณะ ผู้ก่อการถูกจับกุ่มได้   ในประเทศรัสเซีย ปี พ.ศ. 2491 กลุ่มบอลเชวิกได้ก่อการล้มล้างพระเจ้าซาร์

          ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 กรุงปารีสเป็นที่รวมของ แนวคิดทฤษฎีทางการเมืองของค่ายต่างๆ  ทั้งมาร์กซ์ เองเกลส์ และเลนินก็เคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่   นักศึกษาต่าง ชาติที่ต่อมาเป็นนักปฏิวัติคนสำคัญ ต่างก็มาอยู่ที่ฝรั่งเศส เช่น โจวเอินไหล  เติ้งเสี่ยวผิง  โฮจิมมินห์  เป็นต้น  ปรีดี พนมยงค์ก็สำเร็จการศึกษาจากที่นี่

           และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นยุคแห่ง ขบวนการปฎิวัติ และขบวนการชาตินิยม ซึ่งเติมโตขึ้น ในแทบทุกที่ที่มีการคุกคามของมหาอำนาจ ในภาคพื้น เอเชียตะวันออกเฉลียงใต้ ผู้นำขบวนการชาตินิยม คนสำคัญหลายคนถือกำเนิดขึ้น นำการเคลื่อนไหวเพื่อ ปลดปล่อยประเทศของตนให้เป็นอิสระจากเจ้าอาณา นิคมตะวันตก เช่น ซูการ์โน(2444-2523) แห่ง อินโดนีเชีย , อองซาน (2458-2490) , แห่งพม่า และโฮจิมมินห์ (2433-2510) แห่งเวียดนาม

          สำหรับในด้านยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ทั้งด้านศิลปะและวิทยาการ และใน ทางการเมือง รัสเซีย เกิดการปฏิวัติโค่นล้มระบบซาร์ (2460) , เยอรมนี กลายเป็นประเทศสาธารณรัฐ (2461), พร้อมๆกับการเติบโตขึ้นของอุดมการณ์ชาตินิยม, สังคมนิยม, เสรีนิยม และคอมมิวนิสต์

          ปรีดี  พนมยงค์ขณะใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาที่ต่าง ประเทศได้เข้าไปอยู่ท่ามกลางการปะทะสังสรรค์ทาง ความคิดใหม่ๆ  บรรยากาศในยุโรปที่ไม่เคยเกิดขึ้นใน สยามมีผลอย่างมากต่อความคิดเปลี่ยนแปลงการ ปกครองของปรีดีในวัยหนุ่ม    ที่นั่นปรีดีและสหายได้ ก่อตั้งสมาคม สามัคยานุเคราะห์สมาคม ขึ้นในปี 2467 ต่อมาร่วมกับมิตรสหายได้เริ่มก่อตั้ง คณะราษฎร ขึ้นใน ปี 2469  ซึ่งในอีกเจ็ดปีต่อมา คณะราษฎรก็สามารถนำ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามเป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ.2475  

               ต่อมาได้มีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อการเพิ่มขึ้น คือ ร.อ.สินธุ์   กมลนาวิน ร.น.(หลวงสินธุ-สงครามชัย)  นายควง  อภัยวงศ์ นายทวี  บุณยเกตุ  ดร.ประจวบ  บุนนาค  ม.ล.อุดม  สนิทวงศ์ นายบรรจง  ศรีจรูญ และได้ชักชวน พ.อ.พระยา ทรงสุรเดช อดีตนักเรียน เยอรมันซึ่งอยู่ในระหว่างการไปดูงานที่ฝรั่งเศสให้เข้า ร่วมด้วย    ปี พ.ศ.2469 นายปรีดีได้รับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ทางกฎหมาย(Docteur en Droit) และสอบไล่ได้ประกาศ นียบัตรทางการศึกษา ชั้นสูงใน ทางเศรษฐกิจ (DiplÔme d'  Economie  Politique )  จากมหาวิทยาลัยปารีส เมื่ออายุได้ 26 ปี

                ในปี พ.ศ.2470 นายปรีดีได้เดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นคนไทยคนแรกที่จบดุษฎีบัณฑิตจากมหา วิทยาลัยปารีส   นายปรีดีได้เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม  และยังได้เป็นผู้สอนในโรงเรียนกฎหมาย  กระทรวงยุติธรรม ในเวลาว่างก็ได้เปิดการอบรม ทบทวนวิชากฎหมายให้แก่นักเรียนกฎหมายที่บ้านถนนสีลมโดยไม่คิดค่าสอน  ทำให้ได้เผยแพร่อุดมการณ์และได้ ลูกศิษย์เช่น นายซิม  วีระไวทยะ  นายสงวน  ตุลารักษ์  นายดิเรก   ชัยนามมาเข้าร่วมเป็นกำลังในคณะราษฎรด้วย ในส่วนของคณะราษฎรแต่ละสายก็ได้แยกย้ายกันหาสมาชิกที่จะเข้าร่วมก่อการปฏิวัติ  ซึ่งภายหลังการปฏิวัติแล้ว ปรากฏว่ามีสมาชิกทั้งสิ้น  115 คน มากกว่าครึ่งมีอายุน้อยกว่า 30 ปี

             วันที่ 24 มิถุนายน  พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินอย่างรวดเร็ว  โดยลวงทหารจากกรมกองต่างๆให้มา ชุมนุมพร้อมหน้ากันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าและถือโอกาสประกาศ เปลี่ยนแปลง การปกครองทันที  กำลังอีกส่วนหนึ่งไปเชิญพระบรม วงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์มาเป็นตัวประกัน  นายปรีดี เป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน
              หลังจากยึดอำนาจในกรุงเทพฯได้แล้ว  คณะผู้ก่อการได้ส่งนาย ทหารเรือเป็นตัวแทนไปกราบบังคมทูลพระบาท สมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จแปรพระราชฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล  จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์  ให้ทรงทราบ และพระองค์ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ.2475  ที่ร่างโดยนายปรีดี  พนมยงค์  และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก และมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ของประเทศ

              วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เริ่มมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของสยาม โดยมีนายปรีดี  พนมยงค์ เป็นอนุกรรมการร่าง  และต่อมาได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งฉบับแรกออกมาด้วย  ริเริ่มให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งและ สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฏรได้เท่าเทียมผู้ชาย (นับว่าก้าวหน้ากว่าประเทศฝรั่งเศสซึ่งเพิ่งเปิดโอกาสให้สตรีมี สิทธิ์เช่นนี้ได้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)  นายปรีดีได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี

              ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2476 นายปรีด  พนมยงค์ได้เสนอ "เค้าโครงเศรษฐกิจ" เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลัก สำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีลักษณะเป็นสหกรณ์เต็มรูปแบบ แต่ไม่ทำลาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของ เอกชน โดยให้รัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพัทธบัตร  มีดอกเบี้ยประจำปี   ให้การประกันแก่ราษฎรตั้งแต่เกิดจนตาย ว่าเมื่อราษฎรผู้ใดไม่สามารถ ทำงานได้หรือทำงานไม่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือชราหรืออ่อนอายุก็จะได้รับความอุปการะ เลี้ยงดูจากรัฐบาล 

              แต่แนวความคิดดังกล่าว ฝ่ายพระยามโนปกกรณ์ นายกรัฐมนตรีและขุนนางต่างๆ ไม่เห็นด้วยเนื่องจาก ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งเจ้าและขุนนาง ยังกุมอำนาจอยู่  เมื่อนำเข้าสู่สภาแล้วเสียงส่วนใหญ่ไม่ เห็นด้วย  นายปรีดีจึงได้ลาออก จากตำแหน่ง   รัฐบาลร่วมกับทหารบางกลุ่มทำการยึดอำนาจปิดสภาและออก พ.ร.บ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2476  ออกแถลงการณ์ประณามนายปรีดีว่าเป็นคอมมิวนิสต์  นายปรีดีจึงถูกเนรเทศออกนอก ประเทศไปพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส  เมื่อวันที่ 12  เมษายน  พ.ศ.2476

              ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน  พ.ศ.2476 พ.อ.พระยาพหลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจ และได้รับแต่ตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี แทนรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา  สภาผู้แทนได้ตั้งกรรมาธิการสอบสวนกรณี นายปรีดีถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์  ผลการสอบสวนได้ข้อสรุปว่า นายปรีดีเป็นผู้บริสุทธิ์ ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2477 และต่อมาได้นายปรีดีได้ กลับมาเมืองไทยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 21  มีนาคม  พ.ศ.2477
              นายปรีดีได้ทำการร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476 มีเนื้อหาสำคัญคือ การกระจายอำนาจการปกครองเป็น  ส่วนกลาง   ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น    ดำเนินการสถาปนาคณะกรรมการ กฤษฎีกา เพื่อทำหน้าที่ร่างกฎหมาย เป็นที่ปรึกษากฎหมายแผ่นดิน ผลักดันให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่ ศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และทำให้ราษฎรสามารถตรวจสอบ ฝ่ายปกครองได้แต่ทำไม่สำเร็จ  ประเทศไทยมามีศาลปกครองก็ต่อเมื่อเวลาผ่านไป 67 ปี

             วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2477 นายปรีดีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และได้มีพิธีสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองที่ อาคารโรงเรียนกฎหมาย  กระทรวงยุติธรรม ในปีแรกที่มี การเปิดสอนมีผู้สมัครเข้าเรียนถึง 7,094 คน และในปีแรกนี้ผลิตบัณฑิตที่โอนมาจากโรงเรียนกฎหมายเดิม 19 คน

             วันที่ 12  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2478 นายปรีดีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในรัฐบาลพระยาพหล พยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี   ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนายปรีดีและคณะได้ออกเดินทางด้วยเรือไปประเทศ อิตาลี พบกับมุโสลินี ผู้นำฟาสซิสม์ของอิตาลี เข้าพบนายปิแอร์  ลาวาล นายกรัฐมนตรี ฝรั่งเศส เพื่อเจรจายกเลิกสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม  ต่อจากนั้นเดินทางไปประเทศเยอรมนี พบตัวแทนของอดอล์ฟ  ฮิตเลอร์ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจ  เดินทางไปอังกฤษ เพื่อเจรจากู้เงินกับเซอร์  แซมมวล  ฮอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผลการเจรจา เจ้าหนี้ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาเมื่อ พ.ศ.2467  จำนวน  2,340,300 ปอนด์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีเหลือเพียง ร้อยละ 4 ต่อปี  จากนั้นได้เดินทางไป ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าพบนายคอร์เดล  ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา เรื่องการแก้ไขสนธิสัญญา  แล้วเดินทางต่อมาที่ประเทศญี่ปุ่น เข้าพบ จักรพรรดิฮิโรฮิโต และเขาพบนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเพื่อขอให้ยกเลิกสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม    เมื่อเดินทางกลับ มาเมืองไทยนายปรีดีได้ย้ายที่ทำงานมาที่ กระทรวงการต่างประเทศ  และดำเนินการทางการทูตเจรจาขอยกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม กับสิบสองประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์  เบลเยี่ยม สวีเดน  เดนมาร์ก  สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์  อังกฤษ สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่นและเยอรมนี จนสามารถยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคที่รัฐบาลสยาม สมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์ทำไว้กับประเทศต่างๆในนามสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือได้สำเร็จ  จนได้รับเอกราชทาง ศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา  พร้อมกันนั้นได้ลงนามสนธิสัญญาใหม่ที่ใช้หลัก "ดุลยภาพแห่งอำนาจ" เพื่อให้สยามได้เอกราชอธิปไตยสมบูรณ์และมีสิทธิเสมอภาคกับต่างชาติ

              เดือนธันวาคม  พ.ศ.2481 นายปรีดี  พนมยงค์ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  ในคณะ รัฐมนตรี พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม  นายปรีดีคาดว่าอาจจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในไม่ช้า เงินปอนด์ที่สยามประเทศ ใช้เป็นทุนสำรองเงิรตราอาจจะลดค่าลงได้ จึงตัดสินใจเปลี่ยนการเก็บรักษาเงินทุนสำรองเป็นทองคำแท่งแทนเงินปอนด์ โดยนำเงินปอนด์ที่เป็นทุนสำรองจำนวนหนึ่งไปซื้อทองคำแท่งหนัก 273,815 ออนซ์ (ราคาออนซ์ละ 35 เหรียญสหรัฐ อเมริกา)  และนำมาเก็บไว้ที่ห้องนิรภัยกระทรวงการคลัง ทำให้ค่าเงินบาทมีความเสถียรภาพมาก และได้วางรากฐาน จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น ( มีพิธีเปิดธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2485 ซึ่งมีพลตรีเภา เพียรเลิศ  บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง )

              วันที่ 24 มิถุนายน  พ.ศ.2482 รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม ประกาศยกเลิกนามประเทศว่า สยาม (Siam) ให้เปลี่ยนเป็นประเทศไทย (Thailand) และประกาศเลิกใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ให้เปลี่ยนมาใช้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีแทน ( ดังนั้นนับตั้งแต่วนที่ 1 มกราคม พ.ศ.2483ในปฏิทินเก่า จึงให้ถือว่าเป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484)

              วันที่ 8 ธันวาคม  พ.ศ.2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา  ญี่ปุ่นยกทัพขึ้นบกเข้ามาในประเทศไทยทางอ่าวไทย พร้อมกันหกแห่ง   รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามได้ตกลงยอมแพ้และได้เซ็นสัญญาเป็นพัทธมิตร กับญี่ปุ่น ที่หน้าวัด พระแก้วมรกต เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม  พ.ศ.2484  ต่อมานายปรีดีถูกทหารญี่ปุ่นกดดันให้จอมพลป.  พิบูลสงครามปลด นายปรีดีให้พ้นจากตำแหน่งในคณะรัฐบาล  ในเวลาต่อมานายปรีดีได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

              วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485  รัฐบาลจอมพลป.  พิบูลสงครามได้ประกาศสงคราม กับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ฝ่ายอังกฤษประกาศสงครามตอบแต่สหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกาศ สงครามด้วย  โดยถือว่าไทยถูกญี่ปุ่นรุกราน  แต่นายปรีดี ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่ได้ลงนามในประกาศสงครามดังกล่าว   และได้ดำเนินการจัดตั้งขบวนการ เสรีไทยในทางลับ  มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าขบวนการ ภายใต้รหัสลับ "รูธ" ประสานงานลับกับฝ่ายสัมพันธมิตร  ดำเนินการ ต่อต้านญี่ปุ่นและ เจรจาให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าใจว่าการประกาศสงครามของจอมพลป. ไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย ต่อมาในวันที่ สิงหาคม  พ.ศ.2487 สภาผู้แทนราษฏรมีมติให้นายปรีดี ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ แต่ผู้เดียว

              วันที่ 15  สิงหาคม  พ.ศ.2488 หลังจากเครื่องบินสหรัฐอเมริกาไปทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและ นางาซากิ ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข    ต่อมาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2488 นายปรีดีในฐานะ ผู้สำเร็จราชการ ก็ประกาศสันติภาพ มีสาระสำคัญว่า การประกาศสงครามของจอมพลป. พิบูลสงครามต่อสหรัฐอเมริกา และอังกฤษเป็นโมฆะ  มีผลทำให้ประเทศไทยไม่ต้องถูกปลดอาวุธกลายเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม  สัมพันธมิตรรับรอง เอกราชอธิปไตยของไทย  รับรองคุณูปการของเสรีไทยและรับรองฐานะผู้นำขบวนการเสรีไทย

             วันที่ 5 ธันวาคม  พ.ศ.2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนคร  ในครั้งนี้ได้ทรงบรรลุ นิติภาวะแล้ว   นายปรีดี  พนมยงค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2488 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯยกย่องให้นายปรีดีในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการ

             วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2489 นายปรีดี พนมยงค์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี(ครั้งที่1) และได้มีการประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่  ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญนั้น

             วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2489 นายปรีดี  พนมยงค์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่2)   แต่ต่อมาในวันที่ 9 มิถุนายน  พ.ศ.2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต   ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เสนอของความเห็น ชอบจากรัฐสภา ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์    ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2489 นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ครั้งที่3)  และได้ถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสวรรณคตรัชการที่ 9

            วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 คณะรัฐประหารนำโดยพลโทผิน  ชุณหะวัณ ยึดอำนาจการปกครองประเทศ  นายปรีดี  พนมยงค์ต้องลี้ภัยการเมืองไปประเทศสิงคโปร์

            วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 ดำเนินการ "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" หรือ "กบฏ วังหลวง" เพื่อยึดอำนาจแต่ ไม่ประสบความสำเร็จ นาย ปรีดี  พนมยงค์ได้ลี้ภัย การเมืองที่ประเทศสาธารณ ประชาชนจีน ในระหว่าง ปี พ.ศ.2592 - 2513  และได้ ลี้ภัยการเมืองต่อที่ประเทศ ฝรั่งเศส ระหว่างปี    พ.ศ.2513 - 2526

            วันที่ 2 พฤษภาคม  พ.ศ.2526  นายปรีดี   พนมยงค์อสัญกรรมที่บ้านพักชานกรุงปารีส   ต่อมาในปี พ.ศ.2543 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)  ได้ประกาศบรรจุชื่อ นายปรีดี  พนมยงค์ไว้ใน ประวัติบุคคลสำคัญของโลก ปี ค.ศ.2000-2001

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ยกกำลังเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศและ
    เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้ประกาศแถลงการณ์ ในตอนเช้าวันที่ 24 มิถุนายนว่า

    "....
    เราจึงต้องทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ **พระมหากษัตริย์**ทรงสถิตอยู่ใต้กฏหมาย...."
    คณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองในกรุงเทพฯได้เด็ดขาดในเวลาเที่ยงวันของวันที่ 24 มิถุนายน และได้ส่งหนังสือไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ซึ่งทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนหนึ่งของหนังสือมีข้อความว่า

    ".....
    คณะราษฎรไม่ประสงค์ที่จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็เพื่อจะมีพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใตฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จกลับคืนสู่พระนครและทรงเป็น **กษัตริย์** ต่อไปโดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน...."
    รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยคือฉบับที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 มีข้อความระบุว่า "**กษัตริย์**เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ"
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญโดยทรงกำกับไว้ตอนท้ายว่า "ชั่วคราว" หลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 9 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวของประเทศไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงร่วมร่างกับคณะกรรมการอย่างใกล้ชิด
    นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คนหนึ่งเขียนไว้ว่า

    "...
    ต่ามาระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธ.ค. 2475 นั้น วันหนึ่งมีรับสั่งให้ข้าพเจ้ากับพระยาพหลฯไปเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา มีพระราชกระแสว่าที่เขียนว่า "**กษัตริย์**" นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะคำนั้นหมายถึงนักรบเท่านั้น ที่ถูกจะต้องเขียนว่า "**พระมหากษัตริย์**" คือเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ ผู้ถืออาวุธปกป้องบ้านเมือง อันเป็นราชประเพณีแต่โบราณกาล พระยาพหลฯ กับข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยกับพระราชกระแส แล้วกราบบังคมทูลว่า มิเพียงแต่จะเขียนไว้ว่าประมุขเป็น **พระมหากษัตริย์ ** เท่านั้น หากจะถวายให้เป็น **จอมทัพ** ทรงมีพระราชอำนาจเหนือบรรดาทหารด้วย จึงรีบสั่งว่าถูกต้องแล้ว เพราะพระราชาของประเทศต่างๆ ก็ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือทหารทั้งปวง ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอำนาจในการป้องกันประเทศ และในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพราะพระองค์มีพระราชอำนาจบังคับบัญชากำลังทหารให้ปฏิบัติการได้ด้วย และสั่งให้ทหารประพฤติในสิ่งที่ควรประพฤติ ละเว้นในสิ่งที่ควรละเว้น...."
    (
    จากหนังสือ "ปรีดี พนมยงค์ กับสังคมไทย" จัดพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2526)

    ผลจากการที่พระยาพหลฯ กับนายปรีดี เข้าเฝ้าในหลวงในวันนั้น รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาตรา 2 จึงมีข้อความว่า
    "
    อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม **พระมหากษัตริย์** ผู้เป็นพระประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"
    และมาตรา 5 มีข้อความว่า "**พระมหากษัตริย์**ทรงดำรงตำแหน่ง **จอมทัพ**สยาม"
    รัฐธรรมนูญฉบับต่อมาคือฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 มาตรา 5 มีข้อความว่า "**พระมหากษัตริย์** ทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพไทย" เพราะรัฐบาลชุดพันเอกหลวงพิบูลสงคราม


    เปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยในปี พ.ศ.2482 และรัฐธรรมนูญทุกฉบับต่อมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก็บรรจุข้อความว่า "**พระมหากษัตริย์** ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย"
    นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้กราบทูลเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติและพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ในการบังคับบัญชาทหาร แต่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเหตุบังเอิญที่นายปรีดีได้อาศัยอำนาจ **จอมทัพ** ของพระมหากษัตริย์ ระงับการเข่นฆ่ากันในระหว่างชาวไทยด้วยกัน และรักษาเอกราชของประเทศไว้ได้

    สงครามโลกครั้งที่ 2 ขยายตัวเข้ามาในประเทศไทย โดยญี่ปุ่นยกกำลังทหารเข้าประเทศไทยตอนเช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เพื่อจะเดินทัพต่อไปพม่าและอินเดีย กองทัพไทยทำการรบต่อต้านอย่างเหนียวแน่น แต่ตอนเช้าหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี สั่งทหารหยุดยิง ยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทยตามมติของครม. ในตอนเย็นวันเดียวกัน นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตั้งหน่วยต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น ต่อมาหน่วยต่อต้านญี่ปุ่นนี้ใช้ชื่อว่า "เสรีไทย"
    ในระยะแรกของสงคราม ฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายเปิดสงครามและเป็นฝ่ายรุกไล่ เยอรมันเป็นฝ่ายรุกและชนะทุกสมรภูมิรบ ในยุโรป ญี่ปุ่นก็ถล่มเพิร์ลฮาเบอร์ โดยไม่ได้ประกาศสงคราม และมีชัยชนะ ทุกสนามรบ ในด้านเอเซีย ทำให้หลวงพิบูลฯ ทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น และต่อมาก็ประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษ
    หลังจากที่ญี่ปุ่นยกกำลังเข้าประเทศไทย ได้ 6 เดือน สถานะสงครามเปลี่ยนไป ประเทศสัมพันธมิตรตั้งหลักได้กลับเป็นฝ่ายรุก กองทัพสัมพันธมิตรยึดประเทศต่างๆในยุโรปคืนจากเยอรมัน ทางด้านเอเชีย อเมริกาเคลื่อนทัพจากฮาวายมาถึงเกาะมิดเวย์ซึ่งเป็นเกาะอยู่กึ่งกลางระหว่าง ฮาวายและญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเตรียมเรือรบ 160 ลำ และเครื่องบินรบ 400 ลำไว้เตรียมบดขยี้กองทัพอเมริกา การรบที่มิดเวย์เป็นยุทธนาวี และยุทธเวหาที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก การรบสมัยนั้นทั้งเรือรบและเครื่องบินรบยิงกันในระยะเห็นตัว ญี่ปุ่นเสียเครื่องบินรบไป 330 ลำ อเมริกาเสียเครื่องบินรบไป 137 ลำ ผลของการรบคืออเมริกาเป็นฝ่ายชนะอย่างเด็ดขาดเป็นเจ้าทะเล และเจ้าอากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิค
    การแพ้การรบที่มิดเวย์ของญี่ปุ่นคือการแพ้สงครามกองทัพอเมริกายึดเกาะต่างๆ ในแปซิฟิครวมทั้งฟิลิปปินส์คืนได้จากญี่ปุ่น ทางภาคพื้นดินกองทัพอังกฤษในอินเดียเป็นฝ่ายรุกไล่กองทัพญี่ปุ่นในพม่า
    เมื่อพายุสงครามหมุนกลับหลวงพิบูลฯ ก็กลับลำตอนต้นสงครามญี่ปุ่นเป็นต่อในการรบ หลวงพิบูลฯ ทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นเป็นฝ่ายถอย หลวงพิบูลก็เตรียมทำสงครามกับญี่ปุ่น หลวงพิบูลฯวางแผนสละกรุงเทพฯ ไปตั้งเมืองใหม่ที่เพชรบูรณ์ ไว้ตั้งรับญี่ปุ่น หลวงพิบูลเสนอ พ.ร.บ. ตั้งเมืองเพชรบูรณ์และ พ.ร.บ. ตั้งพุทธมณฑล ในสภาผู้แทนราษฏร แต่ถูกสภาฯ คว่ำมติทั้ง 2 ข้อเสนอ
    หลวงพิบูลฯแพ้มติในสภาฯ 2 ครั้งภายใน 10 วัน หลวงพิบูลฯจึงต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียวได้แต่งตั้งนายควง อภัยวงศ์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีข้อตกลงกันว่า นายควงจะไม่ยุ่งเกี่ยวและไม่ขัดขวาง การปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทย
    หลวงพิบูลฯ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว แต่ยังมีอำนาจทางทหารอยู่มากเพราะยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลวงพิบูลเตรียมยกกำลังทหารจากลพบุรี เข้ากรุงเทพฯ เพื่อจัดการกับส.ส.ที่คว่ำมติสภาฯ ซึ่งทำให้หลวงพิบูลต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะนั้นประเทศอยู่ในภาวะสงคราม ศัตรูของประเทศคือศัตรูที่อยู่ภายนอกประเทศ ถ้าคนไทยต้องมาฆ่ากันเอง ประเทศชาติก็ย่อยยับ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแต่ผู้เดียวซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนพระมหากษัตริย์ ได้ใช้อำนาจจอมทัพ ของพระมหากษัตริย์ ปลดชนวนการนองเลือดตามข้อเขียนของนายปรีดี อีกตอนหนึ่งดังต่อไปนี้
    "....สมัยที่ข้าพเจ้าเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์...ข้าพเจ้าปฏิบัติการแทนองค์พระมหากษัตริย์ ในฐานะจอมทัพ สั่งหลายเรื่อง ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสมัยนั้น ปฏิบัติการและเว้นการกระทำส่ิงที่ควรละเว้น เช่นการที่ผู้นั้นจะยกกองทหารมาปราบปรามผู้รักชาติที่ทำให้จอมพล ป. ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ข้าพเจ้าได้ขอร้องโดยตนเองและขอให้นายควง นายกรัฐมนตรี ไปเจรจากับจอมพล ป. ที่ลพบุรี แต่จอมพล ป. ก็ไม่เชื่อโดยเตรียมที่จะยกพลมาจากลพบุรี ข้าพเจ้าเห็นว่าถ้าไม่มีประกาศพระบรมราชโองการให้ประจักษ์แล้ว จอมพล ป.ก็จะถืออำนาจประหัตประหารราษฏรได้ ดังนั้นเพื่อเป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าจึงได้ลงนามแทนพระมหากษัตริย์ ในประกาศพระบรมราชโองการปลดตำแหน่งจอมพล ป. จากผู้บัญชาการทหารสูงสุด และยุบตำแหน่งนั้นโดยตั้งตำแหน่ง "แม่ทัพใหญ่" ตามพ.ร.บ.กฏอัยการศึก และตั้งนายพลเอกพระยาพหลฯ ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ จอมพล ป. ที่มีกำลังทหารใต้บังคับบัญชามาก เมื่อเห็นว่ามีประกาศพระบรมราชโองการก็ไม่กล้าฝ่าฝืน"
    ในขณะที่หลวงพิบูลฯ เป็นนายกฯ การรวบรวมสมาชิกหน่วยใต้ดินเสรีไทยเป็นไปอย่างลำบากและเชื่องช้า เพราะรัฐบาลเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น การต่อต้านญี่ปุ่นคือการต่อต้านรัฐบาลมีความผิดฐานกบฏ ทหารและตำรวจส่วนใหญ่จึงไม่กล้าเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทย เมื่อหลวงพิบูลฯ พ้นตำแหน่งนายกฯ และนายควง อภัยวงศ์ นายกฯคนใหม่รู้เห็นเป็นใจกับขบวนการเสรีไทย นายปรีดี พนมยงค์หัวหน้าใหญ่เสรีไทย จึงชักชวนกองทหารทั้ง 3 เหล่า และกรมตำรวจให้เข้าร่วมปฏิบัติการต่อต้านญี่ปุ่นตามนโยบายของขบวนการเสรีไทยเป็นผลสำเร็จ

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×