ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #161 : ๛อันตราย๛คำว่า เวท กับ เวทย์ ตกลงว่ามันต่างกันที่?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 549
      1
      13 มี.ค. 52

    สำหรับนักเขียนทั้งหลายโดยเฉพาะ ที่ไม่รู้ว่าคำว่า เวท กับ เวทย์ ตกลงว่ามันต่างกันตรงไหน (ส่วนพวกที่รู้แล้วแต่...อยากใช้ก็ตามสบาย) หรือลังเลระหว่างคำว่า มนต์ หรือ มนตร์ วันนี้เราจะสาธยายกันเป็นนักวิชากวนกันเลยทีเดียว

    อย่างที่เรารู้ว่า คำว่า Magic เป็นภาษาไทยว่า เวทมนตร์ อย่างที่คุ้นหูคุ้นตากันมา ก็นี่แหละครับ เขียนถูกแล้ว จะใช้คำอื่นไปทำไมกัน... แต่ถ้าไม่พอใจคำตอบ เดี๋ยวเราจะอธิบายโดยละเอียดให้

    [แก้ไข] คำว่า เวท

    เวท (Vedas ,वेद) (อ่านว่า เว-ทะ) เป็นคำสันสกฤต แปลว่า "ความรู้ ,ปัญญา" มาจากรากศัพท์ วิทฺ แปลว่า "ทำให้รู้ , พึงรู้" ถูกสร้างขึ้นจากรากศัพท์ของกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียนยุคแรก ซึ่งหมายถึง "เห็น ,รู้" (บาลีกับสันสกฤต และลาติน ต่างก็เป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน)

    ในฐานะคำนาม คำๆนี้ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ฤคเวท และถูกแปลว่า "เรื่องราว/ความรู้ทางพิธีกรรม"

    ถ้าเป็นคำนามที่ใช้กันทั่วไป ความหมายของเวทก็คือ "ความรู้" แต่ยังสามารถใช้อ้างอิงถึงการศึกษาที่อยู่นอกเหนือจากการสวดมนต์ หรือการประกอบพิธีกรรมได้ด้วย เช่น อคทเวท (ความรู้ทางการแพทย์) สสฺยเวท (ความรู้ทางเกษตรกรรม) หรือ สรฺปเวท (ความรู้เรื่องงู) ถ้าเป็น ทุรเวท จะหมายถึง "ความรู้อันชั่วร้าย , อวิชชา"

    ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของเวทไว้ว่า

    น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก
        ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม
        ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย
        ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ
        มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น
        พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก

    ความแตกต่างจากคำว่า เวทย์ คือ เวท เป็นคำนาม ส่วนเวทย์เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า "พึงรู้, ควรรู้." ดังนั้น เราจะไม่ใช้ประโยคว่า "ข้าจะใช้เวทย์" เพราะมันจะเพี้ยนเหมือนคำว่า "ข้าจะใช้ควรรู้" ซึ่งผิดหลักภาษา

    [แก้ไข] มนตร์

    มนตร์ (Mantra , मन्त्रः, หรือ मन्त्रं) แปลได้ว่า มนฺตฺร (อ่านว่า มันตระ) เป็นคำสันสกฤต ประกอบด้วยรากศัพท์ มนฺ- แปลว่า "คิด" (แผลงเป็น มนสฺส "จิตใจ" และแผลงเป็น มโน- อีกที เช่น มโนภาพ มโนกรรม) และวิภัตติ (พยางค์ท้าย) -ตฺร มีความหมายว่า "เครื่องมือ" ดังนั้น มนตร์ จึงอาจแปลได้ว่า "เครื่องมือทางความคิด" นั่นเอง

    อาจแผลงเป็นความหมายอื่น ถ้าตีความ -ตฺร ว่าแปลว่า "การป้องกัน"

    แต่ ความหมายในไทยนั้น ย่อมแตกต่างกันออกไป มนตร์ในไทยนั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า น. คําศักดิ์สิทธิ์, คําสําหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์, คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์. (ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).

    ส่วนความแตกต่างของ มนต์ กับ มนตร์ คือ มนต์เป็นคำบาลี ส่วนมนตร์เป็นสันสกฤต และเป็นที่ยอมรับร่วมกันว่า คำบาลีจะไม่ใช้ในไสยศาสตร์และเดรัจฉานวิชชา (อย่างเช่นเวทมนตร์) โดยเด็ดขาด และจะใช้ในทางสิริมงคลเท่านั้น เช่น การเจริญพระพุทธมนต์ ส่วนคำสันสกฤต ใช้ได้สบาย

    หมายเหตุ : สำหรับในแดนอินตะระเดียนะ ไทยเราไม่จำเป็นต้องยึดกฎข้่อนี้ แต่ มนตร์ ดูเป็นที่นิยมกว่า)

    [แก้ไข] ความหมาย

    หากลองจับคู่ความหมายดู จะได้ความหมายที่เป็นไปได้ทั้งหมดของเวทมนตร์ดังนี้

    • เครื่องมือทางความคิดอันเป็นความรู้
    • เครื่องมือทางความคิดอันเป็นปัญญา
    • เครื่องมือทางความคิดอันทำให้มองเห็น
    • เครื่องมือทางความคิดอันเป็นความรู้ทางพิธีกรรม
    • เครื่องมือทางความคิดอันเป็นถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์
    • เครื่องมือทางความคิดอันเป็นถ้อยคำที่สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้


    • การป้องกันทางความคิดอันเป็นความรู้
    • การป้องกันทางความคิดอันเป็นปัญญา
    • การป้องกันทางความคิดอันทำให้มองเห็น
    • การป้องกันทางความคิดอันเป็นความรู้ทางพิธีกรรม
    • การป้องกันทางความคิดอันเป็นถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์
    • การป้องกันทางความคิดอันเป็นถ้อยคำที่สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้


    • ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์อันเป็นความรู้
    • ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์อันเป็นปัญญา
    • ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์อันทำให้มองเห็น
    • ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์อันเป็นความรู้ทางพิธีกรรม
    • ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้

    ตกลงเวทมนตร์แปลว่าอะไรเอ่ย?

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×